ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 41 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

718980
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
259
2498
6614
700671
10961
35794
718980

Your IP: 18.223.158.29
2025-01-09 10:12

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

วัตถุประสงค์ของการควบคุมพฤติกรรมสัตว์นั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ สะดวกต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งวิธีการในการบังคับมีหลายวิธี เช่น การใช้แรงบังคับ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการที่ง่ายและใช้กันมาก ซึ่งอาจต้องใช้อุปกรณ์เพื่อปฏิบัติงานได้สะดวก ปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติเอง
             การควบคุมพฤติกรรมสัตว์นั้นมีความสำคัญมากควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับพฤติกรรมสัตว์ เพราะในสภาวะที่สัตว์ตื่นตระหนกเราไม่สามารถคาดเดาอาการที่สัตว์จะแสดงออกมาได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงควรมีความชำนาญในการเข้าปฏิบัติงาน ต้องรู้ถึงจุดอ่อนของร่างกายสัตว์เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการควบคุม เช่น การดึงหัวให้หงายขึ้นจะสามารถหยุดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ เมื่อสามารถควบคุมพฤติกรรมได้สะดวกก็จะสามารถทำการฝึกหัดให้สัตว์เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 
             ในการจัดการเลี้ยงสัตว์นั้นมีความจำเป็นต้องควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน หรือเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติงานและตัวสัตว์ การบังคับหรือควบคุมพฤติกรรมของสัตว์สามารถทำได้หลายวิธี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวิธีการที่สำคัญ 5 วิธี คือ
       
               การควบคุมสัตว์โดยการใช้แรงงานบังคับ

การควบคุมสัตว์โดยการใช้แรงงานบังคับ 
           การควบคุมสัตว์แบบที่ง่ายและใช้กันมากที่สุด คือ การใช้แรงบังคับ เช่น การผูกล่าม ลาก หรือจูง เป็นต้น ในบางครั้งการปฏิบัติงานกับสัตว์จำนวนมากๆ อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยทั้งตัวสัตว์และผู้ปฏิบัติงานเอง เช่น การใช้ซองหนีบ (crush) กับฝูงโค กระบือ เพื่อจัดการต่างๆ เช่น ฉีดวัคซีน กรอกยา ตีตรา เจาะเลือด ตรวจโรค ตรวจตั้งท้อง พ่นยาฆ่าเห็บ หรือตัดเขา เป็นต้น ซองหนีบที่ใช้กับโค กระบือมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบที่ง่ายสร้างด้วยไม้เป็นคอกแคบๆ ขนาดพอดีกับตัวสัตว์ ไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อน มีคันหนีบคอสัตว์ หรือเป็นแบบที่สามารถหมุนพลิกได้เพื่อให้สัตว์อยู่ในท่าที่ต้องการ การจัดระบบของซองหนีบที่ดี คือ มีช่องทางให้สามารถต้อนสัตว์เข้าซองหนีบได้ทีละตัว และมีคอกพักสำหรับสัตว์ที่ผ่านซองหนีบไปแล้ว ทั้งนี้ต้องให้สัตว์ที่กำลังจะเข้าซองหนีบและสัตว์ที่อยู่ในซองหนีบสามารถมองเห็นพรรคพวกที่ผ่านไปแล้วได้ การจัดรูปแบบของซองหนีบในระบบนี้ทำให้สามารถคัดแยกสัตว์ออกเป็นรายตัวเพื่อปฏิบัติงานต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว และลดอันตรายที่เกิดจากสัตว์และผู้ปฏิบัติงานได้อย่างมาก ในขณะที่สัตว์อยู่ในซองหนีบมักจะพยายามหลบหนีโดยการดันกระแทกไปทางด้านหน้า และบ่อยครั้งจะดันขาหลังกับผนังซองหนีบ ดังนั้นผนังซองหนีบควรเป็นแบบทึบเพื่อป้องกันไม่ให้ขาของสัตว์เข้าไปขัดกับซี่ผนังซองหนีบจนเกิดบาดเจ็บรุนแรงได้ ในขณะปฏิบัติงานหลังจากที่สัตว์ผ่านซองหนีบไปหลายตัวแล้วพื้นซองหนีบจะลื่นมากเนื่องจากมีมูลตกเรี่ยราดอยู่ จึงควรใช้ขี้เถ้าหรือทรายโรยเป็นครั้งคราวเพื่อให้สัตว์ยืนได้มั่นคงขึ้น ซองหนีบที่มีแอกหนีบคอต้องสามารถปลดแอกนี้ได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่สัตว์เกิดล้มลงในขณะอยู่ในซองหนีบ ไม่เช่นนั้นแล้วสัตว์จะดิ้นมากเนื่องจากตกใจจนเกิดการบาดเจ็บหรืออาจจะคอหักตายได้

 

การปฏิบัติให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของสัตว์

           การปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของสัตว์ เป็นวิธีการที่ดีมากในการควบคุมพฤติกรรมของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการบังคับสัตว์ที่ไม่มีเครื่องพันธนาการสัตว์เหล่านี้สามารถจะควบคุมได้ง่ายขึ้นหากถูกต้อนให้อยู่รวมกันในที่อันจำกัด วิธีการนี้สามารถใช้อย่างได้ผลดีกับสุกร แพะ แกะ โค และกระบือ 
           ในฝูงโคเนื้อ ลูกโคมักจะไม่คุ้นกับการจับต้องของคน และค่อนข้างจะตื่นมาก ในลูกโคที่โตแล้วจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันเมื่อมีคนเข้าหา ในตอนแรกลูกโคจะแสดงอาการตื่นตัวโดยการพุ่งจุดสนใจไปยังคนที่เดินเข้ามา โคทุกตัวในฝูงจะให้ความสนใจกับสิ่งเร้านี้โดยทั่วกัน และจะมีการส่งสัญญาณเตือนภัยถึงกันและกัน การต้อนฝูงสัตว์อย่างใกล้ชิดจะทำให้สัตว์เข้ารวมกลุ่มกันหนาแน่นขึ้น เคลื่อนไหวเร็วขึ้น สัตว์ทุกตัวจะยกหัวขึ้นสูงและอาจจะมีการส่งเสียงร้องด้วย สัตว์ที่อยู่ในสภาพเช่นนี้จะมีการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินอย่างเต็มที่ และจะต่อต้านการถูกจับกุมมากขึ้น หากสัตว์ถูกกระตุ้นมากกว่านี้จะเปลี่ยนจากสภาวะตื่นตัวเป็นสภาวะตื่นตระหนก ในสภาพที่ตื่นตระหนกนี้พฤติกรรมของสัตว์จะคาดเดาได้ยากขึ้น และสัตว์จะพยายามวิ่งหนี การเปลี่ยนสภาวะนี้บางครั้งเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่บางครั้งเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ซึ่งมักจะพบบ่อยในฝูงลูกโคที่ไม่คุ้นคน
           ในการควบคุมพฤติกรรมของลูกโคในสภาวะข้างต้น ผู้เลี้ยงต้องเข้าหาอย่างช้าๆ ไม่แสดง อาการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะทำให้สัตว์ตื่นตกใจ การเคลื่อนเข้าหาแบบนี้ลูกโคอาจจะพยายามเลี่ยงหนีโดยเดินไปทางด้านหน้าหรือถอยหลังก็ได้ ผู้เลี้ยงต้องเปลี่ยนทิศทางการเข้าหาไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อกันทางหนีของลูกโค การทำดังนี้จะทำให้ลูกโคเดินหลบเข้าไปยังมุมคอก ผู้เลี้ยงที่มีความชำนาญจะอาศัยช่วงที่ลูกโคเริ่มหันตัวเดินหลบเข้ามุมนี้เข้าจับลูกโคทันที การจับลูกโคต้องจับบริเวณขากรรไกรล่างให้แน่นแล้วถึงบิดขึ้นไปทางด้านข้าง การจับแกะซึ่งมีขนาดเล็กกว่าโคก็สามารถทำได้โดยวิธีการเดียวกันนี้ การจับขากรรไกรบิดเป็นวิธีการจับสัตว์ที่ได้ผลดีกว่าการจับจมูก เพราะลูกโคจะเจ็บมากและหายใจไม่สะดวก ทำให้ลูกโคตื่นตระหนกมากขึ้น
           การควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของสัตว์เป็นรายตัวหรือทั้งกลุ่ม สามารถทำได้สะดวกขึ้นหากคนต้อนถือไม้ยาวในมือยื่นไปขวางกั้นทางหลบหนีของสัตว์ สัตว์จะคิดว่าสิ่งที่ยื่นออกไปจากมือเป็นส่วนหนึ่งของตัวคนต้อนด้วย จึงพยายามหลบเลี่ยง วิธีนี้ใช้ได้ดีมากกับฝูงสัตว์ที่อยู่ในคอกกว้างๆ แต่ใช้กับสุกรไม่ค่อยได้ผล การต้อนสุกรควรใช้วัสดุที่มีลักษณะทึบ เช่น แผงไม้อัดกั้นทางหนีไว้แล้วต้อนไปในทิศทางที่ต้องการ ปกติเมื่อสุกรเลือกทางหนีแลัวจะเปลี่ยนทิศทางได้ยากมาก การใช้แผงไม้อัดขวางทางหนีไว้จะทำให้สุกรหยุดได้

 

การใช้จุดอ่อนทางร่างกายของสัตว์ให้เป็นประโยชน์
           การทราบถึงกลไกการเคลื่อนไหวของสัตว์แต่ละชนิด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการควบคุมพฤติกรรมของสัตว์ มีหลายวิธีที่สามารถจะควบคุมสัตว์อย่างได้ผล โดยอาศัยจุดอ่อนทางร่างกายของสัตว์ให้เป็นประโยชน์ เช่น การดึงหัวให้หงายขึ้นจะสามารถหยุดการเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้าได้ แต่วิธีนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผลกับม้า การบังคับที่ริมฝีปากบนมักจะได้ผลดีเสมอในการควบคุมสัตว์ เช่น การใช้เชือกรัดขันชะเนาะที่ริมฝีปากบนของม้าจะทำให้ม้าส่วนใหญ่อยู่นิ่งได้ แต่ม้าบางตัวอาจจะต่อต้านการปฏิบัตินี้ การใช้บ่วงรัดฝีปากบนของสุกรนับว่าเป็นวิธีการควบคุมสุกรที่ดีที่สุด แต่การปฏิบัติดังนี้จะทำให้สุกรส่งเสียงร้องดังติดต่อกันเกือบตลอดเวลา
           การควบคุมการเตะของสัตว์นับว่ามีความจำเป็นมาก เพราะการเตะอาจจะทำอันตรายต่อสัตว์ตัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงหรือผู้ปฏิบัติงานได้ การควบคุมการเตะของสัตว์สามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การผูกข้อขา การใช้บ่วงรัดท้อง หรือการยกดันโคนหางขึ้น ในการจัดการกับสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น แพะ แกะ ลูกม้าหรือลูกโค สามารถจับยกให้พ้นพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ขัดขืนการปฏิบัติงานได้ 
           การจับสัตว์โดยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของสัตว์อย่างชั่วคราว ควรกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้สัตว์ได้รับความกระทบกระเทือนมากหรือได้รับความเจ็บปวด ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติให้มากที่สุดด้วย

 

การฝึกหัด
           พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงสามารถถูกควบคุมโดยสะดวก หากสัตว์ได้รับการฝึกหัดมาก่อน สัตว์สามารถเรียนรู้และจดจำการปฏิบัติงานต่างๆ ในฟาร์มอย่างรวดเร็ว เช่น เวลาการให้อาหาร เป็นต้น การใช้วิธีการฝึกหัดแบบ Conditioning ทำให้สัตว์จดจำเสียงบางอย่างได้ เช่น เสียงของคนเลี้ยง เสียงนกหวีด เสียงหวูด หรือเสียงรถเข็นอาหาร เป็นต้น การนำสัตว์ที่ได้รับการฝึกหัดแล้วไปรวมกับสัตว์ที่ยังไม่ได้รับการฝึกหัดจะทำให้สัตว์ที่ไม่ได้รับการฝึกหัดเกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น

 

 

การใช้ยา
           ในบางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้ยาบางชนิดเพื่อควบคุมพฤติกรรมของสัตว์ เช่น การใช้ยาประเภทกล่อมประสาทเพื่อให้สัตว์สงบ หรือการใช้ยาสลบเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของสัตว์ เป็นต้น การใช้ยากล่อมประสาท (Tranquilizer) มีประโยชน์มากในการลดการต่อสู้ของสัตว์เมื่อถูกนำมารวมกันใหม่ๆ หรือลดความเครียดอันเนื่องมาจากการถูกกักขังในที่ไม่คุ้นเคย หรือในระหว่างการขนส่งเป็นระยะทางไกลๆ การทำให้สัตว์สลบควรกระทำเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และควรกระทำด้วยความรอบคอบอย่างที่สุด