ในปี พ.ศ.2538 ได้มีการนำกวางพันธุ์รูซ่า (Cervus timorensis) จากประเทศนิวคาลิโดเนีย ซึ่งเป็นกวางที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าที่หายาก The Convention on International Trade in Endangered Species (CITES) หรือในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย จำนวนกว่า 1,500 ตัว ให้กับเกษตรกรสมาชิก 240 ราย ปัจจุบันคาดว่า (2538-2544) มีกวางรูซ่าเลี้ยงขยายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศประมาณ 5,000 ตัว ขณะที่สถิติจำนวนกวางในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ระหว่างปี 2541-2542 มีกวางจำนวน 2,000 ตัว
ตารางที่ 1 สถิติจำนวนกวางในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ระหว่างปี 2541-2542
ปี พ.ศ.
|
ภาคกลาง
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
|
ภาคเหนือ
|
ภาคใต้
|
รวมทั้งประเทศ
|
2541
|
2,082
|
65
|
6
|
20
|
2,173
|
2542
|
1,766
|
179
|
6
|
53
|
2,004
|
ที่มา : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์
ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายอนุญาตให้เลี้ยงกวางไทยเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้ว เนื่องจากกวางไทยมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตเขา เนื้อ และหนังมากกว่ากวางรูซ่า จึงนับว่าเป็นข่าวดีของวงการเลี้ยงกวาง
อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกวางต้องใช้ต้นทุนสูง ค่ารั้ว โรงเรือน อาหาร และค่าพันธุ์กวางรูซ่า ตัวละ 15,000 -25,000 บาท ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาด และสภาพตัวสัตว์ สำหรับในการทำฟาร์มกวางมีการประมาณค่าใช้จ่ายลงทุน จะเป็นค่าที่ดิน 55% ค่าพันธุ์กวาง 23% ค่ารั้ว 11% อุปกรณ์ 4% และค่าอาหารแปลงหญ้า 7% ผลการเลี้ยงจะคืนทุนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 5-6 ดังนั้น จึงต้องมีเงินลงทุนระยะยาว แต่อาจสามารถลดต้นทุนลงได้โดยใช้กวางที่เกิดในประเทศเป็นแม่พันธุ์ ใช้วัสดุพื้นบ้านในการกั้นคอก และจัดหาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเลี้ยงกวาง
โดยทั่วไปเกษตรกรจะจำหน่ายลูกวางรูซ่าเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อตัวละ 15,000-25,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความสมบูรณ์พันธุ์ การจำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ราคาส่ง กก.ละ 8,000-10,000 บาท
ราคาการจำหน่ายเขาให้กับผู้บริโภคแบ่งตามสรรพคุณเป็น 3 ส่วน
- ส่วนปลายยอดของเขาอ่อนมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะมากกว่าส่วนอื่น
- ส่วนกลางใช้รักษาโรคไข้ข้อ
- ส่วนโคนเขาใช้รักษาในผู้ชราที่ขาดแร่ธาตุแคลเซี่ยม
ผลผลิตน้ำหนักของเขากวางและคุณภาพแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และอายุกวาง คุณภาพของเขากวางสามารถแบ่งได้เป็นเกรด โดยเขากวางคุณภาพดีจะมีความยาวของลำเขา (beam) ไม่น้อยกว่า 40 ซ.ม. ขนาดเส้นรอบวงของลำเขาไม่น้อยกว่า 18 ซ.ม. หรือสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์เขากวางอ่อนในรูปแคปซูลจำหน่าย เม็ดละ 12-25 บาท (ขณะที่ต่างประเทศขายในราคา 50 บาท) สำหรับราคาจำหน่ายเนื้อกวางชำแหละ กก.ละ 300-600 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพและชิ้นเนื้อส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถจำหน่ายหนังกวางส่งโรงฟอกเพื่อทำเครื่องหนังเป็นสินค้าส่งออกราคาแพง
ในปี 2541-2542 มีการนำเข้าเนื้อกวางปีละจำนวนกว่า 2,000 กก. เป็นเงินประมาณ 500,000 บาท รวมทั้งในปี 2542 มีการนำเข้าเขากวางอ่อน 1 ตัน เป็นเงินกว่า 440,000 บาท เนื่องจากธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกวางในประเทศยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายพันธุ์กวางระหว่างเกษตรกรด้วยกันเพื่อนำไปใช้ขยายพันธุ์ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด ผู้บริโภคมากขึ้น อาจทำให้ต้องหาตลาดต่างประเทศรองรับ
การเลี้ยงกวางรูซ่าในประเทศออสเตรเลียมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเนื้อเขากวางอ่อนเป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ได้จากการจำหน่ายเนื้อกวางสูงถึง 90% เขากวาง 6% และกวางมีชีวิต 4% ตลาดการส่งออกของเนื้อกวางส่วนใหญ่อยู่ในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาซึ่งนิยมบริโภคเนื้อกวางเพื่อสขภาพกันมาก เนื่องจากเนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างค่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว (คลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดน้อยมาก ขณะเดียวกันกรดไขมันในเนื้อกวางเป็น essential fatty acid ที่จำเป็นต่อร่างกายมีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง)
ตารางที่ 2 สถิติการนำเข้า-ส่งออกกวาง ระหว่างปี 2541-2542
รายการ
|
หน่วย
|
นำเข้า
|
ส่งออก
|
||
2541
|
2542
|
2541
|
2542
|
||
1. กวางมีชีวิต |
ตัว
บาท |
-
- |
2
50,042 |
-
- |
-
- |
2. ผลิตภัณฑ์ - เนื้อกวาง - เขากวาง |
กก. บาท กก. บาท |
2,409 466,360 2 40,000 |
1,925 497,484 985 440,587 |
- - - - |
- - - - |
ที่มา : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์
กวางเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กีบคู่ เคี้ยวเอื้อง จัดอยู่ใน
ลำดับ Order : Artioduatgla | ||||
วงศ์ Family : Cervidae | ||||
วงศ์ย่อย sub-family : 4 วงศ์ย่อย | ||||
สกุล Genus : 16 สกุล | ||||
ชนิด Species : 37 ชนิด |
กวางสามารถอาศัยอยู่ในทุกสภาพภูมิอากาศ มีการกรจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกา เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา สำหรับกวางในสกุล Cervus ที่พบในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ สมัน (Schomburk's deer, Cervus schomburhki ) ละองละมั่ง (Brow-antlered deer,Cervus eldi ) เนื้อทรายและกวางป่า กวางป่าเป็นชนิดย่อย (sub-species) Cervus uniculor equinus (สวัสดิ์,2527)
ฟัน
|
โตเต็มที่มีฟันแท้ 32-34 ซี่ - ฟันบนประกอบด้วย ฟันเขี้ยว 0-2 ซี่ ฟันเคี้ยว 6 ซี่ ฟันบด 6 ซี่ - ฟันล่างประกอบด้วย ฟันตัด 6 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ ฟันเคี้ยว 6 ซี่ ฟันบด 6 ซี่ |
ต่อมน้ำตา
(facial gland) |
อยู่ใต้หัวตาทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเป็นร่อง ทำหน้าที่คัดหลั่งสิ่งขับที่มีกลิ่นฉุน ไหลตามร่องน้ำตา เพื่อปล่อยกลิ่น โดยกวางจะเอาหน้าถูกตามต้นไม้เป็นการแสดงอาณาเขต |
เขา (antler)
|
กวางมีเขาเฉพาะตัวผู้ ยกเว้นกวางเรนเดียร์ ตัวเมียจะมีเขาด้วย และกวางมัสค์ จะไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย |
กระเพาะอาหาร
|
มี 4 กระเพาะ กวางไม่มีถุงน้ำดี ยกเว้นกวางมัสค์ที่มีถุงน้ำดี |
เต้านม
|
มี 4 เต้า |
การทำฟาร์มกวางในประเทศไทย มีข้อจำกัดในการห้ามเลี้ยงกวางป่า เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อป้องกันควบคุมการลักลอบจับสัตว์ป่าเพื่อการซื้อขาย พันธุ์กวางที่เลี้ยงทั่วไป ได้แก่
กวางป่า หรือกวางม้า
|
มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม |
เนื้อทราย
|
มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง |
กลางดาว
|
เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ |
กวางรูซ่า
|
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง |
กวางซีก้า
|
มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน |
กวางฟอลโล
|
มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว |
กวางแดง
|
มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่ |
ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
พันธุ์กวาง
|
ชื่อสามัญ
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
ประเภทสัตว์
|
กวางป่า, กวางม้า
|
Sambar deer
|
Cervus uniculor
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
เนื้อทราย
|
Hog deer
|
Cervus porcinus
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางดาว
|
Chital deer
|
Axis axis
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางรูซ่า
|
Rusa deer
|
Cervus timorensis
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางซีก้า
|
Sika deer
|
Cervus nippon
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางแดง
|
Red deer
|
Cervus elaphus
|
บัญชีไซเตรส
|
กวางฟอลโล
|
Fallow deer
|
Dama dama
|
บัญชีไซเตรส
|
ที่มา : Grzimek (1984)
นอกจากนี้ยังมีกวางมัสค์ (Musk deer, Moschus moschiferus) ที่ประเทศจีนสกัดสารที่มีกลิ่นฉุนจากต่อมบริเวณช่องท้องของกวางตัวผู้ ใช้ทำการผลิตหัวน้ำหอม และกวางในเขตหนาวอื่นๆ เช่น กวางวาปิติ (Wapiti or Elk deer, Cervus canadensis) กวางเรนเดียร์ (Reindeer, Rangifer tarandas) เป็นต้น |
ตารางที่ 4 ข้อมูลจำเพาะของกวางพันธุ์ต่างๆ
พันธุ์กวาง
|
น้ำหนัก (กก.)
|
ส่วนสูง (ซ.ม.)
|
ความยาว (ซ.ม.)
|
ระยะอุ้มท้อง (วัน)
|
กวางป่า (อินเดีย)
|
150-315
|
120-150
|
170-270
|
240
|
เนื้อทราย
|
70-110
|
60-75
|
105-115
|
220-235
|
กวางดาว
|
75-100
|
75-97
|
110-140
|
210-225
|
กวางรูซ่า
|
102
|
110
|
-
|
252
|
กวางซีก้า
|
45-80
|
63-109
|
110-170
|
222-240
|
กวางแดง
|
75-340
|
75-150
|
165-265
|
225-262
|
กวางฟอลโล
|
35-200
|
80-105
|
130-235
|
232-237
|
ที่มา : Grzimek (1984)
กวางป่า หรือ กวางม้า "กวางไทย"
|
ลักษณะทั่วไป - ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ภูฎาน ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางส่วนของจีน - มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ - สีขาวแกมน้ำตาลเข้ม หางค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ หางยาวประมาณ 26-30 ซ.ม. ขนหางด้านล่างมีสีขาว เพศเมียมีสีอ่อนกว่า - บริเวณหัวตาแต่ละข้างจะมีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ เรียกว่า ต่อมใต้กระบอกตา ใช้ในการผลิตสารที่มีกลิ่นฉุนสำหรับสื่อสารและบอกอาณาเขต จะขยายใหญ่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ - เพศผู้อาจมีน้ำหนักถึง 320 กก. แต่ทั่วไปน้ำหนักเฉลี่ย 250 กก. วัดความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 180-200 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงไหล่ 140-160 ซ.ม. - เพศเมียอาจมีน้ำหนักถึง 250 กก. เฉลี่ย 155 กก. สูง 120 ซ.ม. |
อุปนิสัย |
เนื้อทราย หรือ ตามะแน
|
ลักษณะทั่วไป - มีขนาดเล็ก ขนสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลแกมแดง บางตัวอาจจะมีจุดสีขาวบริเวณลำตัว - มีถิ่นกำเนิดในที่ราบลุ่มของประเทศอินเดีย ปากีสถาน พม่า เนปาล อัสสัม กัมพูชา เวียดนาม และไทย ปัจจุบันประเทศไทยพบยากมากในป่าธรรมชาติ แต่มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ดีในการเลี้ยงขังตามสวนสัตว์ และฟาร์มเอกชนหลายแห่ง - ค่อนข้างเจ้าเนื้อ อ้วนเตี้ยคล้ายหมู (Hog) - เพศผู้เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่หัวไหล่ 70 ซ.ม. หนัก 45-50 กก. เพศเมีย มีขนาดเล็กกว่า สูง 61 ซ.ม. และหนัก 30 กก. - เขา มีเฉพาะตัวผู้ เขาเทียนจะเริ่มงอกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน และผลัดเปลี่ยนเขาทุกปี เขาของเนื้อทรายจะมีข้างละ 3 กิ่ง คล้ายกับเขาของกวางป่า |
อุปนิสัย |
กวางรูซ่า
|
ลักษณะทั่วไป |
กวางที่จับแยกจากแม่มาเลี้ยงตั้งแต่เล็กอายุไม่เกิน 2 เดือน ค่อนข้างเชื่องและคุ้นเคยกับคนเลี้ยงทั้งเพศผู้และเพศเมีย สามารถปล่อยออกมาเดินเล่นกับคนได้ เมื่อถึงระยะที่เขาแข็งกวางเพศผู้ที่คุ้นเคยกับคนจะดุมาก จะแสดงอาการเดินเข้าหาแบบช้าๆ ขนที่คอจะตั้งชัน ร่องที่ใต้ตาจะเปิดออก ทำริมฝีปากม้วน ฉี่เป็นวงใส่ตัวเอง กระทืบเท้าและทุ่มตัวเข้าใส่ พร้อมที่จะขวิดเมื่อคนเข้าใกล้ |
กวางฟอลโล
|
ลักษณะทั่วไป - ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน - โตเต็มที่สูงประมาณ 75-105 ซ.ม. น้ำหนัก 50-80 กก. - หน้าสั้น ลำตัวสีน้ำตาลจาง-น้ำตาลสนิม มีจุดขาว บางตัวมีสีขาวตลอดลำตัว ฤดูร้อนลำตัวเป็นสีน้ำตาลมีจุดขาวเห็นเด่นชัด หน้าหนาวลำตัวสีน้ำตาลสนิม-น้ำตาลเทา มีจุดน้อยสีขาวจางๆ อุปนิสัย - ชอบอยู่รวมเป็นฝูง - ค่อนข้างขี้ขลาด ตื่นเต้นได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่น ถ้าเกิดเสียงดังจะวิ่งหนี หรือกระโดด (คล้ายกระต่าย) ไปก่อน แล้วค่อยๆ เดินกลับมาดูอีกครั้ง แต่ถ้าถึงเวลาให้อาหารก็จะเข้าใกล้คน ย้ายฝูงได้ง่าย |
กวางเพศผู้ |
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางฟอลโล |
กวางแดง
|
ลักษณะทั่วไป |
เพศผู้ ในช่วงที่มีเขาแข็งจะต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงเพศเมีย ตัวใดชนะก็จะคุมฝูงและไล่ขวิดตัวผู้อื่นๆ ไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่มีตัวเมียอยู่ โดยจะวิ่งวนไปรอบฝูงตัวเมีย เพศเมีย ในช่วงแรกที่นำเข้ามาใหม่ๆ กวางจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ไม่ดีนัก ทำให้ลูกกวางที่เกิดมาอ่อนแอตายเป็นจำนวนมาก แม่กวางจะหวงลูกและซ่อนลูกไว้ใต้พุ่มไม้ ถ้ามีคนไปรบกวนหรือจับตัวลูกกวาง แม่จะไม่ยอมรับลูกเลย บางครั้งจะให้หัวตบ กัด เตะ และกันไม่ให้เข้าฝูง ลูกกวาง ช่วงระยะหย่านมจะต้องมีการศึกษาระยะที่เหมาะสมในการหย่านม เนื่องจากลูกกวางเมื่อหย่านมใหม่ๆ จะร้องเรียกแม่อยู่ตลอดเวลาและเดินวนรอบแปลงหญ้าตลอดคืน ทำให้ลูกกวางเหนื่อยตายได้ |
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงกวางแดง เนื่องจากเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว และตัวใหญ่จึงค่อนข้างหอบง่ายกว่ากวางพันธุ์อื่นๆ เมื่อมีการไล่ต้อนเพื่อย้ายแปลง ถ้าไม่สามารถย้ายได้ในการไล่ครั้งแรก หรือครั้งที่สอง จะต้องปล่อยให้กวางหยุดพักแล้วจึงไล่ใหม่ ทำให้เสียเวลาในการไล่ต้อน |
กวางซีก้า (กวางญี่ปุ่น)
|
ลักษณะทั่วไป - มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม - มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ 70-110 กก. เพศเมีย 50-60 กก. - ประเทศจีน เลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน เขากวาง มีข้างละ 4 กิ่ง น้ำหนักเขาอ่อน 0.5-1 กก. ต่อคู่ ในร้ายขายยาจีน (เยาวราช) จำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ส่วนใหญ่เป็นเขากวางซีก้า อุปนิสัย มีความสามารถในการกินอาหารได้หลายชนิด ทั้งหญ้าและใบไม้ เมื่อโตเต็มที่จะกินหญ้าสดประมาณ 10-15 กก./วัน สามารถรวมฝูงได้ดี (กวางซีก้าที่มีขายในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เวียดนาม ซึ่งถูกจับมาเลี้ยงแบบขังนานกว่า 100 ปีแล้ว จึงเป็นกวางที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเลี้ยงแบบขังคอกได้ดี 4-8 ตารางเมตร/ตัว) |
กวางลูกผสมแซมบ้า-รูซ่า (Sambar-Rusa Crossbred)
|
ลักษณะทั่วไป |
พฤติกรรมของกวาง
กวางจัดเป็นสัตว์ประเภท intermediate selector สามารถกินหญ้าและใบไม้ต่างๆ รวมทั้งยังสามารถแทะเปลือกต้นไม้เป็นอาหารได้ ปริมาณการกินได้ของกวางรูซ่าขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ ขนาดและเพศ (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 ปริมาณการกินได้ของกวางรูซ่า (กก.วัตถุแห้ง/ตัว/วัน)
ปริมาณการกินอาหาร
|
เพศผู้
|
เพศเมีย
|
ลูกกวาง (6 เดือน) กวางรุ่น (8 เดือน- 1 ปี) กวางใหญ่ (มากกว่า 1 ปี) |
1.0
1.5 1.7 |
0.8
1.0 1.0-1.4 |
ที่มา : Woodford and Dunning (1990)
กวางเป็นสัตว์ที่อาศัยในปาธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ทั้งป่าต่ำและป่าสูง ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางวันและช่วงเช้า และเมื่ออากาศร้อนจะขึ้นหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า
อาหารที่ใช้เลี้ยงกวาง
อาหารหยาบ กวางเป็นสัตว์ที่กินพืชอาหารสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เช่น หญ้า ถั่ว พืชอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น หญ้าหมัก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ต้นไมยราบ กระถิน ต้นไม้ใบต่างๆ แต่จะไม่ชอบกินพืชที่มีกลิ่นหรือยาง เช่น ต้นดอกรัก สะเดา กะเพรา เป็นต้น ควรมีพืชอาหารสัตว์สำรองไว้ให้เพียงพอ ถ้ากวางได้รับอาหารหยาบที่มีคุณภาพเพียงพอแล้วจะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารข้น |
อาหารข้น ในช่วงฤดูแล้งที่ขาดแคลนหญ้าสด ช่วงกวางตั้งท้อง ช่วงให้นมลูก และกวางที่ป่วยอ่อนแอ ควรเสริมอาหารข้น โดยจะใช้อาหารโคนมโปรตีน 16-18% ให้กินวันละ 1% น้ำหนักตัว |
จากการสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของกวาง ในระยะแรกที่นำมาเลี้ยงกวางจะออกแทะเล็มพืชหญ้าและกินอาหารข้นในตอนเย็นและกลางคืน ช่วงกลางวันจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มซ่อนตัวใต้ร่มเงาไม้ เนื่องจากกวางยังมีสัญชาติญาณของสัตว์ป่าระวังภัยอยู่ กวางกินหญ้าได้ทุกชนิด แต่ควรระวังหญ้าซิกแนล หากให้กินอย่างเดียวทุกวันอาจะได้รับเชื้อรา หรือสารพิษ Saponin กวางจะเลือกกินส่วนของใบหญ้า ไม่ชอบกินส่วนก้าน และจะเลือกกินใบไม้หรือวัชพืชบางชนิด คือ
- ใบไม้ที่กวางกินได้ เช่น ใบมะขามเทศ ใบกก ใบกล้วย ใบพุทรา ใบมะกอกป่า ใบกระถิน ใบขนุน ใบปีบ ใบตะคล้า ใบไมยรา และใบพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ
- ใบไม้ที่กวางไม่กิน เช่น ใบสาบเสือ ใบหนาด ใบคันทา ใบดอกรัก ใบตีนกา ใบยอดอ้อย และใบต้นสบู่
การให้อาหารกวาง
1. การเลี้ยงแบบขังกรง ตัดพืชอาหารสัตว์มาให้กิน | ||
- ต้องมีพืชอาหารให้กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา | ||
- ควรมีแหล่งพืชอาหารอย่างน้อย 2-3 แหล่ง | ||
- รางอาหารควรยาวพอให้กวางได้กินทุกตัว ไม่เบียดกัน | ||
- ควรตัดพืชอาหารให้กินหลายๆ ชนิด และตัดหญ้าสดให้กินทุกวัน |
2. เลี้ยงแบบปล่อยแปลงหญ้า | ||
- ควรมีแปลงหญ้าหมุนเวียนอย่างเพียงพอ (ไม่ควรน้อยกว่า 3 แปลง) | ||
- ควรปลูกหญ้าไว้อย่างน้อย 2 ชนิด (ชนิดละแปลง) |
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กวางตัวผุ้จะมีเขาที่แข็งเต็มที่ คอใหญ่ ไหล่หนาสีขนเข้มขึ้น และลูกอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ทำให้มีน้ำเชื้ออสุจิมากจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ พฤติกรรมของกวางจะทำเสียงขู่ เขาขวิดต้นไม้ ชนรั้ว ต่อสู้คน ต่อมใต้ตาเปิด ตาขวาง ชอบเล่นน้ำ และชอบฉี่รดรอบตัวเองให้มีกลิ่นติดตัวเพื่อเรียกความสนใจจากตัวเมีย และจะทำริมฝีปากม้วนคล้ายแพะ กวางบางพันธุ์จะเปลี่ยนสีขนในฤดูกาลผสมพันธุ์ เช่น กวางซีก้า จะเปลี่ยนสีขนเป็นสีน้ำตาลหมดทั้งตัว กวางรูซ่ามักจะตามไล่ตัวเมียที่เป็นสัด แต่ถ้าเป็นกวางป่าตัวเมียจะเข้ามาหาตัวผู้ อัตราส่วนการคุมผูงผสมพันธุ์ ตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1:20-30 อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าตัวผู้ อายุ 2 ปี น้ำหนัก 70 กก. ตัวเมีย อายุ 18 เดือน น้ำหนัก 45 กก. จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำลงด้วย นอกจากนี้อาหารที่มีคุณภาพดีมีผลต่ออัตราการตั้งท้องสูงถึง 95% ถ้ากวางได้รับอาหารคุณภาพต่ำโอกาสการตั้งท้องเพียง 55% อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางฟอลโล 16 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัว 30 กก. |
สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงกวาง |
- พื้นที่ในการเลี้ยงกวางควรเป็นที่ดอน หรือหากเป็นพื้นราบไม่ควรมีน้ำขังแฉะจนเป็นโคลนตม |
- ลักษณะแปลงที่ปล่อยเลี้ยงกวางควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีแปลงไม่น้อยกว่า 3 แปลง เพื่อแยกเลี้ยงกวางระยะอุ้มท้องกับแม่เลี้ยงลูก กวางหย่านม และกวางที่โตเต็มที่ |
- ควรมีทางวิ่ง (race way) ระหว่างทุกแปลงสำหรับใช้ต้อนกวาง |
- ควรมีต้นไม้ใหญ่ในแปลง หรือที่ให้ร่มเงาและไว้หลบซ่อนระวังภัย เนื่องจากกวางเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย เมื่อตกใจจะกระโจนไปตามแนวรั้ว ชนบาดเจ็บ |
- ควรเลี้ยงกวางให้ห่างจากฟาร์มแกะและสุกรอย่างน้อย 1 กิโลเมตร เนื่องจากอาจจะติดเชื้อโรค Malignant catarrh จากแกะ และอาจะติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยจากสุกรได้ |
- ถ้าเป็นไปได้ควรนำตัวอย่างดินส่งตรวจเชื้อมงคล่อพิษ และเชื้อแอนแทรกซ์ |
- การล้อมรั้วกวาง ขอบล่างให้ติดพื้นดิน และใช้เส้นรั้วลวดหนามขึงติดกับพื้นดินป้องกันสุนัขเข้ามาทำร้าย กวางรูซ่าควรมีรั้วรอบนอกสูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร และใช้รั้วที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันกวางได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งชนกระแทก |
- หากเลี้ยงกวางจำนวนมากควรมีคอกคัดกวาง (deer yard) และมีซองบังคับตัวกวาง (deer crush) เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น คัดกวางสำหรับแบ่งฝูง ชั่งน้ำหนัก ตัดเขา หรือทำวัคซีน |
- แม่กวางก่อนและหลังคลอด ควรแยกเลี้ยงในแปลงที่มีร่มเงาหรือมีไม้สูงเพื่อใช้เป็นที่หลบคลอดลูก |
ทางวิ่ง (race way) ใช้สำหรับต้อนกวาง |
รั้วกวาง แบบ tight lock |
ซองบังคับตัวกวาง deer curck สำหรับตัดเขา/ฉีดยา |
ความหนาแน่นในการเลี้ยงกวาง
แบบขังกรง กวางอุ้มท้องใกล้คลอดและเลี้ยงลูกใช้พื้นที่ 100 ตรม. ขนาดอื่นใช้พื้นที่ 50 ตรม.
แบบปล่อยแปลง (stocking rate) ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแปลงหญ้า ถ้าคุณภาพดีสามารถเลี้ยงกวางรูซ่า 2-3 ตัว/ไร่ กวางฟอลโล 2-4 ตัว/ไร่ กวางแดง 1 ตัว/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ใช้แปลงหญ้าเลี้ยงโค 1 ตัว เท่ากับเลี้ยงกวางฟอลโลได้ 8 ตัว หรือกวางแดง 3 ตัว หรือคิดตามปริมาณความต้องการอาหาร (วัตถุแห้ง)
ตัวอย่าง ถ้าหากเลี้ยงแม่กวาง 5 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว จะต้องใช้หญ้าสดกี่กิโลกรัม?
แม่กวาง 5 ตัว กินอาหารตัวละ 1.0 กก. รวมกิน |
5 กก./วัน | |
พ่อกวาง 1 ตัว กินอาหารตัวละ 1.7 กก. รวมกิน | 1.7 กก./วัน |
|
รวมกินอาหาร (วัตถุแห้ง) | ||
(หญ้าสด มีวัตถุแห้งประมาณ 25%) | ||
จะต้องตัดหญ้าสดให้กินวันละ (6.7x100)/25= | 26.8 กก./วัน |
สมรรถภาพการเจริญเติบโตของกวางรูซ่า
หากมีการจัดการให้อาหารคุณภาพแตกต่างกัน จะทำให้กวางมีน้ำหนักตัว 70 กก. ที่อายุต่างกันได้ กล่าวคือ ถ้าให้หญ้าคุณภาพดีผสมพืชตระกูลถั่วหรือเสริมอาหารข้น จะทำให้กวางมีน้ำหนักตัว 70 กก. เมื่ออายุ 1 ปี แต่ถ้าให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียวอาจจะใช้เวลานานอายุถึง 2 ปี
Chardonnet (1993) รายงานสมรรถภาพการเจริญเติบโตของกวางรูซ่า มีน้ำหนักแรกเกิด เฉลี่ย 4 กก. (เพศผู้ 4.5 กก. เพศเมีย 3.5 กก.) น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน เฉลี่ย 30 กก. อัตราการเจริญเติบโตก่อนหย่านมเฉลี่ย 200 กรัม/วัน น้ำหนักเมื่ออายุ 15 เดือน (เพศผู้ 55 กก. เพศเมีย 45 กก.) เฉลี่ย 50 กก. อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านม (4-15 เดือน) เฉลี่ย 60 กรัม/วัน
กวางรูซ่า มีอัตราการเลี้ยงรอดและมีการเจริญเติบโตดี และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะที่กวางฟอลโล มีอัตราการตายแรกเกิดสูง ทั้งนี้เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ไม่สามารถปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมการเลี้ยงขังในแปลงที่จำกัดและเปิดโล่ง ทำให้สัตว์เกิดความเครียด ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกรอดต่ำมาก
จากการศึกษาซากกวางรูซ่าที่ศูนย์วิจัยฯ หนองกวาง พบว่า น้ำหนักก่อนฆ่าเฉลี่ย 56 กก. มีเปอร์เซ็นต์ซาก 62.1% เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง กระดูก และไขมัน เท่ากับ 78.4, 20.3 และ 1.3% ตามลำดับ
ประเทศนิวซีแลนด์จะนำกวางส่งโรงฆ่า เมื่อกวางมีอายุ 15-18 เดือน เพราะถ้าเลี้ยงต่อไปกวางจะสะสมไขมัน ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง ทำให้เปลืองค่าอาหาร และคุณภาพของเนื้อกวางจะเริ่มเหนียวถ้ามีอายุ 3 ปีขึ้นไป กวางฟอลโลจะส่งโรงฆ่าเมื่ออายุ 12-15 เดือน น้ำหนักตัว 45-50 กก. และจะได้น้ำหนักซาก 25.30 กก. (Yerex และ Spiers, 1990) กวางจะมีเปอร์เซ็นต์ซาก 55-60% (ตารางที่ 6) และซากกวางหลังชำแหละ ได้เนื้อแดง 70-75% (ตารางที่ 7) ขณะที่สัตว์อื่นๆ มีเนื้อแดงเพียง 45-60% ทั้งนี้ เนื่องจากกวางมีสัญชาติญาณในการระวังภัยสูงมักหนีตลอดเวลา จึงทำให้มีมัดกล้ามเนื้อที่ขาหลังมากเป็นพิเศษไขมันต่ำ และเนื้อแดงมีสีคล้ำมาก เนื่องจากมีปริมาณธาตุเหล็กที่สูงกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ (Drew และ Hogg, 1990)
ตารางที่ 6 น้ำหนักซากและเปอร์เซ็นต์ซากของกวางเมื่ออายุต่างๆ
พันธุ์กวาง
|
อายุ 1 ปี
|
อายุ 2 ปี
|
โตเต็มวัย
|
|
รูซ่า
|
น้ำหนักซาก (กก.) เปอร์เซ็นต์ซาก (%) |
50.0
61.7 |
-
- |
-
- |
ฟอลโล
|
น้ำหนักซาก (กก.) เปอร์เซ็นต์ซาก (%) |
24.5
55.0 |
30.6
55.0 |
-
- |
กวางแดง
|
น้ำหนักซาก (กก.) เปอร์เซ็นต์ซาก (%) |
54.9
57.9 |
76.0
56.4 |
112.0
57.1 |
ที่มา : Drew และ Hogg (1990)
เนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างต่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว (ที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดสูง) อยู่น้อยมาก ขณะเดียวกันกรดไขมันในเนื้อกวางเป็น essential fatty acid มีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ได้เอง |
ตารางที่ 7 ส่วนประกอบของซากกวาง
พันธุ์กวาง
|
อาย
ุ (ปี) |
น้ำหนัก
(กก.) |
เนื้อแดง
(%) |
ไขมัน
(%) |
กระดูก
(%) |
เนื้อแดง
ไขมัน |
เนื้อแดง
กระดูก |
ฟอลโล
|
2
|
40
|
73.9
|
9.1
|
13.6
|
8.1
|
5.4
|
กวางแดง
|
2
|
60
|
72.7
|
7.0
|
20.3
|
10.4
|
3.6
|
ที่มา : Gregson และ Purchas (1985)
ตารางที่ 8 คุณค่าทางโภชนะของเนื้อกวางเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ
เนื้อสัตว์
|
โปรตีน
(g/100g) |
พลังงาน
cal/100g |
แคลเซี่ยม
mg/100g |
ฟอสฟอรัส
mg/100g |
ไทอามีน
mg/100 g |
ไรโบเฟลวิน
mg/100g |
ไนอาซีน
mg/100g |
เนื้อโค |
18.5
|
263
|
11
|
171
|
0.08
|
0.16
|
4.4
|
เนื้อแกะ |
16.5
|
263
|
10
|
147
|
0.15
|
0.20
|
4.8
|
เนื้อสกุร |
15.7
|
308
|
9
|
175
|
0.76
|
0.18
|
4.1
|
เนื้อกวาง |
21.6
|
126
|
10
|
249
|
0.23
|
0.48
|
6.3
|
ที่มา : Drew และ Hogg (1990)
ลักษณะของเขากวาง
กวางตัวผู้จะเริ่มสร้างเขาเมื่ออายุประมาณ 1 ปี จากปุ่มส่วนหน้าของกะโหลกศรีษะ เป็นอวัยวะที่เจริญมาจากส่วนของเนื้อเยื่อชั้นนอก (epidermis) โดยงอกติดกะโหลกด้านหน้า (frontal bone) แต่ไม่ได้เป็นส่วนของกะโหลกศรีษะ เขามีลักษณะตัน ไม่กลวงเหมือนเขาโค แพะ แกะ ในช่วงที่เขาอ่อน (valvet) จะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงและอุดรมด้วยเนื้อเยื่อ vascular ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และแร่ธาตุแคลเซี่ยม โดยเฉพาะส่วนปลายเขามีแร่ธาตุซีลิเนี่ยมอยู่จำนวนมาก ตัวลำเขาของกวางป่ายาว 70-80 ซ.ม.
เขากวางแต่ละข้างจะมี 3 กิ่ง กิ่งแรกเรียก กิ่งรับหมา (brow tine) จะชี้ไปด้านหน้า ตัวลำเขาจริงจะชี้ไปด้านหลัง รอยต่อระหว่างกิ่งรับหมาและลำเขาจริงจะมีลักษณะคล้ายรูปตัวยู ก้ำกึ่งรูปตัววี ปลายของลำเขาจริงจะแตกแขนงออกเป็น 2 กิ่ง โดยที่กิ่งด้านหน้าจะยาวกว่ากิ่งด้านหลัง ลักษณะภายนอกของเขาอ่อนมีหนังหุ้มขนสั้นละเอียดคล้ายกำมะหยี่
|
เขากวางอ่อนเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน จะแปรสภาพเป็นเขาแข็ง (antler) มีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาว เขากวางจะแก่เต็มที่และแข็งแรงในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) และเขาจะหลุดในเดือนกันยายน ซึ่งกวางจะสามารถผลัดเขาได้และสร้าขึ้นมาใหม่ทุกปี กวางจึงจัดอยู่ในตระกูล Cervidae ในขณะที่เขาของแพะแกะ (horn) ไม่สามารถผลัดเขาและสร้างขึ้นมาใหม่ได้เหมือนเขากวาง
กวางป่าจะมีการผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ภายหลังจากเขาหลุด 7 วัน กวางจะสร้างเนื้อขึ้นมาหุ้มบริเวณที่เขาหลุด จากนั้นอีกประมาณ 21 วัน จะเริ่มงอกเขาใหม่ การเจริญเติบโตของเขากวางจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้นทั้งขนาดและความยาว จนกระทั่งกวางมีอายุ 9-10 ปี ความยาวของเขากวางจะลดลงแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น (สวัสดิ์, 2527) ขณะที่สนั่นและคณะ (2539) รายงานว่า เขากวางอ่อนของกวางป่าอายุเฉลี่ย 6 ปี มีน้ำหนักสดข้างละ 820-1,640 กรัม ยาว 41-63 ซ.ม. เส้นรอบวง 11.5-17.2 ซ.ม.
จากการศึกษาการสร้างเขากวางของกวางรูซ่าทีเลี้ยงในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง พบว่า กวางรูซ่าเริ่มงอกเขาแรก (เขาเทียน) เมื่ออายุ 234 วัน เขามีความยาวสูงสุดเฉลี่ย 10.21 ซ.ม. (7.0-17.5) เส้นรอบวงเขาเฉลี่ย 7.13 ซ.ม. (5.5-10.5 ซ.ม.) และสลัดเขาแรกทิ้งเมื่ออายุ 418 วัน หลังจากสลัดเขาแรกทิ้ง 24.11 วัน จึงเริ่มสร้างเขาสองเมื่ออายุ 653.43 วัน น้ำหนักเขากวางอ่อนในแต่ละปี (ตารางที่ 9)
ตารางที่ 9 ผลการศึกษาน้ำหนักของเขากวางอ่อนรูซ่า
อายุกวาง
|
ก่อนอบ
|
หลังอบ
|
% น้ำหนักแห้ง
|
2 ปี
3 ปี 4 ปี |
355.34
495.0 690.18 |
162.28
185.75 267.41 |
45.63
37.53 38.74 |
ที่มา : Yerex และ Spiers (1990)
|
ขั้นตอนการตัด
1. ควรทำงานในช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงที่อากาศเย็น |
2. ต้อนกวางเข้าอาคารจัดการ ให้กวางเข้าไปอยู่ในซองบังคับตัวไว้ไม่ให้ดิ้น |
3. ใช้เลื่อยสำหรับตัวเขากวางโดยเฉพาะ เมื่อทาน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีดและที่เขากวางแล้ว ใช้เลื่อยตัดในบริเวณที่สูงขึ้นมาจากโคนเขาประมาณ 2 นิ้ว ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เขาอ่อนที่ตัดแล้วให้วางโดยเอาด้านโคนขึ้น เพื่อกักเลือดให้อยู่ในเขาไม่ไหลทิ้ง |
4. ทายาห้ามเลือดที่รอยตัด หรือใช้ผงชูรสใส่แทน แล้วทายาหรือพ่นยาป้องกันและฆ่าตัวอ่อนของแมลงวัน (เนกาซัน) ให้ทั่วก่อนปล่อยกวางกลับเข้าแปลง เลือดจะแข็งตัวและแผลจะแห้งภายใน 5-10 นาที ช่วงนี้ปล่อยให้กวางอยู่อย่างสงบ |
5. เขากวางอ่อนที่ตัดมาแล้วควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง ก่อนนำส่งไปอบแห้งต่อไป ซึ่งการแช่แข็งสามารถยืดอายุการจัดเก็บเขากวางอ่อนได้นานถึง 3-4 เดือน |
การอบเขากวางอ่อน
|
การจัดการอาหารช่วงระยะการสร้างเขา
หากกวางได้รับปริมาณอาหารไม่เพียงพอ หรือทำให้กวางเกิดความเครียดจากสาเหตุต่างๆ จะมีผลทำให้ผลผลิตเขาต่ำลง การเสริมอาหารข้นที่มีคุณภาพดีเพื่อต้องการเพิ่มผลผลเขานั้นให้ผลไม่แตกต่างกับการให้กวางได้กินอาหารพืชหญ้าคุณภาพดีในปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ในช่วงระยะการสร้างเขาจึงควรมีปริมาณอาหารที่เพียงพอวางให้กินอย่างเต็มที่ อย่าจำกัดอาหารและไม่จำเป็นจ้องเสริมอาหารข้น |
ระยะเวลาการตัดเขา
ระยะเวลาในการตัดเขาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก และมีข้อจำกัดเวลาในการตัดเขา คือ จะต้องตัดเขาในระยะเวลาที่เหมาะสม เมื่อเขามี 50-60 วัน หากตัดเขาเร็วก่อนเวลาเกินไป จะทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักของเขาน้อยลง (เงินจะน้อยลงไปด้วย) แต่ถ้าตัดเขาช้าเกินไปทำให้คุณภาพของเขาที่ได้ด้อยลง ดังนั้น จึงต้องคอมตรวจดูลักษณะเขาทุก 2-3 วัน ว่าตัวใดถึงเวลาตัดเขาหรือไม่ โดยปกติกวางที่โตเต็มที่เขาจะงอกยาวเฉลี่ยวันละ 1 ซ.ม. หรือคิดเป็นน้ำหนักเขาเพิ่มวันละ 50 กรัม ในกวางแต่ละตัวจะมีเวลาที่เหมาะสมในการตัดต่างกันไป ซึ่งจะต่างกันไปตามอายุของกวาง (Yerex และ Spiers, 1990) |
ตารางที่ 10 ระยะการตัดเขากวางรูซ่าและน้ำหนักเขาที่ได้
อายุกวาง
(ปี) |
อายุเขาที่ตัด
(วัน) |
น้ำหนักเขากวางรูซ่า
(กก.) |
น้ำหนักเขากวางแดง
(กก.) |
2
3 4 5 |
55
58 61 60 |
1.01
1.60 1.93 2.17 |
1.44
2.05 2.60 2.90 |
ที่มา : Yerex และ Spiers (1990)
ส่วนประกอบทางเคมีของเขากวาง
เขากวางเมื่ออบแห้งจะมีน้ำหนักประมาณ 35% ของน้ำหนักสด และเขาที่อบแห้งจะต้องมีความชื้นไม่เกิน 15% คุณค่าทางโภชนะของเขาประกอบด้วย โปรตีน 47%, แร่ธาตุ 33%, ไขมัน 3% และความชื้น 12% ผลผลิตน้ำหนักของเขาและคุณภาพแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และอายุกวาง คุณภาพของเขาแบ่งเป็นเกรด โดยเขากวางคุณภาพดีจะมีความยาวของลำเขาไม่น้อยกว่า 40 ซ.ม. ขนาดเส้นรอบวงลำเขาไม่น้อยกว่า 18 ซ.ม. ราคาการจำหน่ายเขาแบ่งตามสรรพคุณเป็น 3 ส่วน ส่วนปลายยอดเขาอ่อนมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะมากกว่าส่วนอื่น ส่วนกลางใช้รักษาโรคไขข้อ และส่วนโคนใช้รักษาในผู้ชราที่ขาดแร่ธาตุแคลเซียม |
สรรพคุณของเขากวางอ่อน
Kong และ But (1985) รายงานว่าเขากวางอ่อนมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง ไขข้ออักเสบ และกามตายด้าน ขณะที่ Yoon (1989) ได้รายงานว่าเขากวางอ่อนใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ และสามารถป้องกันรักษาโรคในเด็กเล็กได้หลายโรค สำหรับในประเทศไทยผู้ที่นิยมบริโภคเขากวางอ่อนได้แก่ ชาวจีนสูงอายุ ส่วนใหญ่จะหาซื้อรับประทานเฉพาะช่วงฤดูอากาศหนาวเย็น เพื่อต้องการบำรุงสุขภาพทำให้ร่างกายอบอุ่น โดยทำการตุ๋นหรือดองเหล้าโรงร่วมกับสมุนไพรจีน (ฮวยซัว เก๋ากี้ และปั๊กคี้) คนที่เป็นความด้นโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน นอกจากนี้มีรายงานว่าในเขากวางอ่อนมีฮอร์โมน Insulin-link Growth Factor (IGF1) |
กวางที่มีอายุระหว่าง 12-15 เดือน มักจะป่วยได้ง่ายกว่ากวางที่มีอายุเต็มวัย แต่โดยทั่วไปแล้วหากเลี้ยงกวางจำนวนไม่หนาแน่นเกินไปจะไม่ค่อยพบมีการติดเชื้อโรค โรคที่พบในกวาง คือ
1. โรคกวางที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย | ||
- วัณโรค เกิดจากเชื้อ Mycobacterium bovis ที่บริเวณปอดและต่อมน้ำเหลืองในช่องอกและที่เต้านม กวางมีร่างกายซูบผอม กินอาหารลดลง ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หายใจขัด ไอ | ||
- ท้องเสีย เกิดจากเชื้อ Salmonella spp. พบว่าส่วนมากเป็นสาเหตุการตาย |
2. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส | ||
- โรคปากและเท้าเปื่อย อาการเริ่มแรกกวางมีน้ำลายฟูมปากและมีตุ่มใสเล็กๆ เกิดขึ้นภายในปาก บริเวณกีบเท้า มีอาการขาเจ็บ เดินกระเผลกและไม่กินอาหาร |
3. โรคพยาธิ พบน้อยในกวาง แต่ในการเลี้ยงเป็นฟาร์มควรจะมีการถ่ายพยาธิด้วย |
ลักษณะอาการป่วยของกวาง |
- กวางป่วย มีอาการหงอยซึม แยกออกจากฝูง ไม่หนีเมื่อเข้าใกล้ มักถูกตัวอื่นทำร้าย หัวและหูห้อยตก | |
- อาการป่วยเนื่องจากพยาธิ กวางจะซูบผอม โตช้า ผิวหนังหยาบกร้าน ไอบ่อย | |
- อาการป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส เบื่ออาหาร มีฝ้าในปาก น้ำลาย น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ลิ้นบวม |
การป้องกันโรค |
- หากกวางป่วย ควรแยกออกจากฝูง และปรึกษาสัตวแพทย์ | |
- ควรแยกกวางที่ได้มาใหม่ กักไว้สักระยะหนึ่ง (ประมาณ 1 เดือน) ตรวจดูอาการ | |
- ควรให้อาหารที่มีคุณค่า ทำวัคซีน และถ่ายพยาธิ | |
- รักษาความสะอาดในโรงเรือน รางอาหารและน้ำ | |
- อย่าให้กวางถูกขังในคอกที่อับชื้นและสกปรกโดยเฉพาะในตอนกลางคืน | |
- แหล่งน้ำต้องสะอาดเพื่อป้องกันตัวกลางของพยาธิใบไม้ในตับ | |
- ทำการทดสอบวัณโรค (Tuberculin Test) ปีละครั้ง |
จากการพิจารณาความคุ้มทุนในการทำฟาร์มกวางขนาด 10 แม่ เลี้ยงในพื้นที่ 5 ไร่ ใช้แรงงานในครอบครัว ผลิตลูกกวางขนาดหย่านม เพื่อจำหน่ายพันธุ์ และตัดเขากวางอ่อนจากพ่อพันธุ์ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
ต้นทุนคงที่ | ||
- ค่าพันธุ์ พ่อ 1 ตัว แม่ 10 ตัว ราคาตัวละ 20,000 บาท เป็นเงิน 220,000 บาท | ||
- ค่ารั้วความยาว 600 เมตรๆ ละ 300 บาท (รวมเสา) เป็นเงิน 180,000 บาท |
ต้นทุนผันแปร | ||
ค่าอาหาร | ||
- อาหารข้น พ่อแม่พันธุ์ กิน 0.5 กก./ตัว/วัน (อาหารข้นราคา กก.ละ 8 บาท ให้กิน 365 วัน 11 ตัว) เป็นเงิน 16,060 บาท | ||
- อาหารหยาบ กิน 1 กก./ตัว/วัน (วัตถุแห้ง) (อาหารหยาบราคา กก.ละ 1.0 บาท ให้กิน 365 วัน 11 ตัว) เป็นเงิน 4,015 บาท | ||
รวมค่าอาหาร (ปีแรก) เป็นเงิน 20,075 บาท รวมต้นทุนค่าใช้จ่าย (ปีแรก) เป็นเงิน 420,075 บาท |
||
- อาหารข้นสำหรับลูกกวาง กิน 0.2 กก./ตัว/วัน (อาหารข้น กก.ละ 9 บาท ให้กิน 120 วัน 10 ตัว) เป็นเงิน 2,160 บาท ปีถัดไป ใช้จ่ายเฉพาะค่าอาหารปีละ (20,075+2,160) เป็นเงิน 22,235 บาท |
รายได้ จากการจำหน่ายผลผลิต (เริ่มรับในปีที่ 2) | ||
- จำหน่ายลูกกวางหย่านมปีละ 6 ตัวๆ ละ 18,000 บาท เป็นเงิน 108,000 บาท | ||
- จำหน่ายเขากวางเฉลี่ย 1 กก.ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท | ||
รวมรายรับทั้งหมด เป็นเงิน 113,000 บาท |
ผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นรายปี |
ปีที่
|
ต้นทุน
|
รายได้
|
1
2 3 4 5 6 |
420,075
22,235 22,235 22,235 22,235 - |
-
113,000 113,000 113,000 113,000 113,000 |
รวม
|
531,250
|
565,000
|
ผลการเลี้ยงจะได้ต้นทุนคืนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ดังนั้นผู้ที่คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงกวางเป็นอาชีพจะต้องมีเงินลงทุนระยะยาว แต่สามารถลดต้นทุนการผลิตโดยหาลูกกวางที่เกิดในประเทศ ใช้วัสดุพื้นบ้านในการกั้นคอก และจัดหาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเลี้ยงกวาง นอกจากนี้ต้องมั่นใจว่าจะมีตลาดรองรับที่สามารถขายลูกกวางได้ดีโดยราคาจำหน่ายพันธุ์ประมาณตัวละ 20,000-25,000 บาท หรือจำหน่ายเป็นเนื้อกวางชำแหละราคา กก.ละ 300-500 บาท หรือเขากวางอ่อน กก.ละ 8,000-10,000 บาท
ดังนั้น การทำฟาร์มเลี้ยงกวางโดยผลิตเขากวางอ่อน เนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากหนังกวาง สามารถกระทำได้โดยเฉพาะกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ให้ลูกกวางได้ตลอดทั้งปี ลูกกวางมีอัตราการเจริญเติบโตและมีอัตราการเลี้ยงรอดสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะที่กวางแดงและกวางฟอลโลซึ่งเป็นกวางพันธุ์จากยุโรปมีฤดูกาลผสมพันธุ์มีอัตราการเกิดลูกต่ำ โดยเฉพาะกวางฟอลโลมัอัตราการตายแรกเกิดสูง และอัตราการเลี้ยงลูกรอดต่ำ นอกจากนี้ยังมีกวางซีก้าที่นิยมเลี้ยงเพื่อผลิตเขากวางอ่อน
1. การทำฟาร์มกวางอาจยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากในการจัดหากวางพ่อ-แม่พันธุ์ เนื่องจากกวางรูซ่าที่มีขนาดเล็กกว่ากวางม้า ทำให้ได้ผลผลิตเนื้อและเขาน้อยลงไปด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กวางม้าที่มีขนาดรูปร่างใหญ่กว่าเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ใช้กวางรูซ่าที่เกิดในประเทศ ผลิตเป็นลูกผสมกวางม้า-รูซ่า |
2. ปัจจัยทางด้านตลาด ยังขาดการสำรวจปริมาณความต้องการของตลาดที่แท้จริงของตลาดภายในประเทศ การขยายตลาดของกลุ่มผู้บริโภคเขากวางยังจำกัดเนื่องจากมีราคาแพง ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ตกต่ำ ปัญหาคนว่งงาน ต้องประหยัด่าใช้จ่ายต่างๆ และยังไม่มีการยืนยันที่แนชัดทางการแพทย์หรือจากองค์การอาหารและยาในการรับรองสรรพคุณ เขากวางอ่อนที่มีความเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ หรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รวมทั้งคุณภาพของผลผลิตที่สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากกรรมวิธีการแปรรูปและการเก็บรักษายุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องโรคปากและเท้าเปื่อย เช่นเดียวกัยผลผลิตจากโคและสุกร ทั้งนี้เพื่อสามารถผลักดันอาชีพการเลี้ยงกวางให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง |
ราคาจำหน่ายพันธุ์กวางของกรมปศุสัตว์
กวางรูซ่า กวางแดง และกวางฟอลโล ทั้งเพศผู้และเพศเมีย คิดราคาตามน้ำหนักในวันจำหน่าย ราคากิโลกรัมละ 250 บาท บวกค่าสายพันธุ์อีกตัวละ 6,000 บาท |