ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 80 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

663119
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
228
386
3223
653750
10536
30740
663119

Your IP: 3.144.15.18
2024-11-14 11:12

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ
เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร

  • การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ 
    ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่ 
    ให้ใก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน 
    เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก 
    ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน 
    ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค

การสร้างเรือนโรงไก่ควรคำนึงถึงความโปร่งและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงพื่อที่จะให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวกพอควร 
บริเวณตัวเรือนโรงจะใช้ลวดตาข่าย แห อวนเก่า ๆ หรือไม้รวกผ่าชีกก็ ได้ นำมาปูรอบเรือนโรง นอกจากนั้นควรมีถุงปุ๋ยหรือกระสอบเก่า ๆ แต่ล้างให้ สะอาดแล้ว ส่าหรับทำเป็นม่านป้องกันลมและฝน โดยเฉพาะในระยะการกกลูกไก่ เรือนโรงที่สร้างอยู่ใต้ถุนบ้านไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหลังคา แต่ถ้าสร้างอยู่บนลาน บ้านอาจใช้แผงจากมุงเป็นหลังคาได้ 
ขนาดของเรือนโรงขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง เช่น ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่นที่ได้น้ำหนักระหว่าง 1.5 - 2.0 กิโลกรัม จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตาราง เมตร ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120 ตัว แต่ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ควรใช้ส่ดส่วน ประมาณ 4 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร ดังนั้นในเรือนโรงดังกล่าวจะสามารถเลี้ยงได้ ประมาณ 60 ตัว
ลักษณะการฟักไข่ของแม่ไก่บ้าน ยังจัดได้ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณประโยชน์ต่อเกษตรกรตามชนบทเป็นอย่างยิ่งในทางตรงข้าม การเลี้ยงไก่ในเรือนโรงที่เลี้ยงกันแบบอุตสาหกรรมนั้น ลักษระการฟักไข่ของแม่ไก่จะไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้นไก่ที่เลี้ยงในเรือนโรงใหญ่ ๆ ทั้งไก่เนื้อหรือไก่ไข่ จะไม่พบว่ามีลักษณะการฟักหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาก ลักษณะดังกล่าว ได้ถูกคัดทิ้งเพื่อเร่งให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้มากขึ้น

การฟักไข่ของแม่ไก่ยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรเพราะ 
1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม 
2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง 
3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้ 
4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี

เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้ 
1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้ 
1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก
1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์
1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่าเสียในระหว่างการฟักได้ง่าย
1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป
1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก
1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก (ถ้าเก็บในตู้เย็นควรนำไข่มาวางไว้ข้างนอกเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อปรับอุณหภูมิในไข่ให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก)
1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ
1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่