ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 97 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

663136
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
245
386
3240
653750
10553
30740
663136

Your IP: 3.147.89.16
2024-11-14 11:19

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี เป็นเป็ดเทศพันธุ์เนื้อพันธุ์แท้ที่กรมปศุสัตว์ได้วิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง

 


พันธุ์ประวัติ

เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี เป็นเป็ดเทศพันธุ์เนื้อพันธุ์แท้ที่กรมปศุสัตว์ได้วิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จนถึงปัจจุบัน

การปรับปรุงเริ่มจากเป็ดพันธุ์บาร์บารีจากประเทศฝรั่งเศส กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพันธุ์มาจาก บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นลูกเป็ดแรกเกิด จำนวน 80 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 30 ตัว เพศเมีย 50 ตัว กรมปศุสัตว์โดยสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกงได้ทำการขยายพันธุ์ คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ได้ดี เติบโตเร็ว ต้านทานต่อโรค และปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ และสามารถผลิตได้จำนวนมากในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ 

ในระยะเริ่มต้น ในปี พ.ศ.2536-2540 กรมปศุสัตว์ได้เริ่มทดสอบนำพันธุ์เป็ดเทศพันธุ์นี้ ส่งเสริมโดยจำหน่ายให้เกษตรกรทั่วไป พบว่า เกษตรกรนิยมมาก เนื่องจากโตเร็ว เลี้ยงส่งตลาดได้ในระยะเวลาสั้น 10-12 สัปดาห์ ถอนขนง่าย ขนสีขาว ตลาดต้องการมาก เนื้อมาก และราคาลูกเป็ดไม่แพงเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ความต้องการมีสูงมาก ซึ่งคาดว่าในอนาตคเป็ดเทศพันธุ์นี้จะเป็นเป็ดที่ผลิตเพื่อบริโภคเนื้อภายในประเทศ ทดแทนเป็ดพันธุ์เนื้ออื่นๆ ทั้งนี้เพราะมีกล้ามเนื้อมาก ไขมันน้อย หนังบาง และกล้ามเนื้อมีสีแดง โคเรสเตอรอลต่ำ เหมาะที่จะบริโภคเพื่อสุขภาพ ที่สำคัญคือ สามารถเลี้ยงได้ทั่วไปไม่ว่าจะเลี้ยงจำนวนมากในเชิงพาณิชย์หรือเลี้ยงหลังบ้านในชนบท

ลักษณะประจำพันธุ์

ขนสีขาวตลอดลำตัว มีขนสีดำเป็นจุดเด่นอยู่กลางหัว อาจะมีจุดดำเล็กๆ แซมกลางหัว
ปากสีชมพู
เท้าสีเหลืองอ่อน
ใบหน้ามีผิวหนังขรุขระ เป็นสันนูนเด่น ไม่มีขนและสีชมพู เริ่มจากปากไปบนใบหน้าและขอบตา โดยเฉพาะตัวผู้ จะเห็นชัดเจนกว่าตัวเมีย ดูคล้ายๆ เป็ดใส่หน้ากาก เป็นลักษณะเฉพาะพันธุ์เป็ดเทศเท่านั้น
ลำตัวยาว หน้าอกกว้าง อกตัน เนื้อมาก
เท้ามี 4 นิ้ว โดยที่ 3 นิ้วแรกอยู่ด้านหน้ายึดติดกันด้วยผังผืดไว้ให้เป็ดว่ายน้ำได้ อีกนิ้วอยู่ด้านหลังสำหรับรักษาการทรงตัวเวลายืนเดินและผสมพันธุ์
น้ำหนักแรกเกิด 42-54 กรัม เพศผู้โตเต็มที่หนัก 5-6 กก. เพศเมีย 2.6-2.8 กก.
เพศผู้ขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย 2 เท่า
แรกเกิดขนสีขาวอมเหลือง มีจุดดำกลางหัว ปากสีชมพู แข้งเหลือง

เริ่มไข่อายุ 6-7 เดือน ไข่ได้ปีละ 150-180 ฟอง และฟักไข่ได้เอง

เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี ได้รับการวิจัยและพัฒนาให้เป็นพันธุ์แท้ที่สามารถเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อป้อนตลาดได้ในระยะเวลา 10-12 สัปดาห์ หรือจะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ได้โดยตรง หรือนำพันธุ์นี้ไปผสมพันธุ์ข้ามกับสายพันธุ์อื่นก็จะได้ลูกผสมที่มีการเจริญเติบโตทัดเทียมกับพันธุ์แท้ เช่น นำไปผสมกับเป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2 ซึ่งเป็นเป็ดเทศสีดำพันธุ์พื้นเมือง ก็จะให้ลูกผสมเติบโตเร็วไข่ดกเลี้ยงง่าย แข็งแรงทนทานต่อสภาพการเลี้ยงดูในชนบท เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและเสริมรายได้ ลูกผสมทั้งเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะพิเศษคือ หัวและคอจะมีสีขาวคล้ายๆ หัวสวมถงเท้าขาว หลังมีขนสีดำเป็นส่วนใหญ่แต่แซมด้วยขนขาวประปราย หน้าอกด่าง รูปร่างใหญ่เหมือนพ่อ เป็นหนุ่มสาวเร็ว เริ่มไข่เมื่ออายุ 5-6 เดือน มีนิสัยฟักไข่ได้เอง ไข่เต็มที่ปีละ 150-160 ฟอง อายุการให้ไข่ 2 ปีแรกให้ไข่สูงสุดและลดลงในปีต่อไป

การเจริญเติบโตเป็ดเทศลูกผสมกบินทร์บุรี-ท่าพระ

อายุ (สัปดาห์)
น้ำหนัก (กรัม/ตัว)
อาหาร : น้ำหนัก
2
4
6
8
10
12
235
691
1,458
2,128
2,600
2,818
1.48 : 1
1.79 : 1 
2.05 : 1
2.35 : 1 
2.74 : 1
3.29 : 1

เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีพันธุ์แท้สามารถเลี้ยงได้ทั้งที่เป็นเป็ดเนื้อขุนส่งตลาดได้ในระยะเวลา 10-12 สัปดาห์ หรือเราจะเลี้ยงไว้ขยายพันธุ์ คือ ใช้ได้ทั้ง 2 วัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ในกรณีที่เลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อส่งตลาดนั้น วิธีการเลี้ยงแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเลี้ยงเป็ดเล็ก อายุ 0-3 สัปดาห์, การเลี้ยงเป็ดระยะเจริญเติบโต อายุ 4-10 สัปดาห์ และ ระยะสุดท้าย 11-12 สัปดาห์

การเลี้ยงลูกเป็ดเทศกบินทร์บุรีอายุ 0-3 สัปดาห์

การเลี้ยงเป็ดเทศจะสำเร็จหรือไม่นั้น มีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกเป็ดระยะ 3 สัปดาห์แรกเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกเป็ดนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มที่อยู่ในความสนใจของเรา ถ้าลูกเป็ดแข็งแรง เติบโตสม่ำเสมอสมบูรณ์ ไม่อมโรคแล้ว การเลี้ยงในอีก 2 ระยะต่อไปจะไม่ประสบปัญหา ดังนั้น ทุกๆ ฟาร์มจึงควรเอาใจใส่ในระยะแรกนี้เป็นพิเศษ โดยปกติแล้วถ้าลูกเป็ดอายุ 0-3 สัปดาห์ มีความต้องการอย่างยิ่งอยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือ ความอบอุ่น อาหารที่มีคุณภาพ น้ำสะอาด การป้องกันโรค และการเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเข้ามาเลี้ยง

1. การเตรียมพร้อมก่อนนำลูกเป็ดเทศกบินทร์บุรีเข้ามาเลี้ยง มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนนำลูกเป็ดเข้าฟาร์ม คือ

1.1 ทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลูกเป็ดระยะแรกโดยการล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแดด 1-2 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค การตระเตรียมกรงกก หรือห้องสำหรับกกลูกเป็ด จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้ากกลูกเป็ดบนพื้นคอกจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกๆ ครั้งที่นำลูกเป็ดเข้าคอกกก

1.2 การสั่งจองลูกเป็ด ก่อนที่จะเลี้ยงเป็ดเทศ ควรจะได้มีการวางแผนว่า ควรจะเลี้ยงช่วงเวลาใดจึงเหมาะสม และเมื่อตัดสินใจแล้วก็ควรจะสั่งจองลูกเป็ดไว้ล่วงหน้า และควรสั่งจองจากโรงฟักที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ และไม่ไกลเกินไป การขนส่งลูกเป็ดเกินกว่า 24 ชั่วโมงจึงไม่ควรปฏิบัติ เพราะว่าลูกเป็ดจะสูญเสียน้ำระเหยออกจากตัวมาก ทำให้เป็ดน้ำหนักลด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของลูกเป็ดในระยะเวลาต่อมา

1.3 การให้น้ำที่สะอาดแก่ลูกเป็ด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรจะเป็นน้ำที่สะอาด เช่น น้ำใต้ดิน น้ำบาดาล หรือน้ำบ่อตื้น หรือน้ำฝน เป็นน้ำที่สะอาด โดยใส่ไว้ในถังหรือขวดใส่น้ำเป็ดและไก่ ควรจะหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเป็ดกินน้ำประปา เพราะว่าลูกเป็ดจะตายหรืออ่อนแอมากเมื่อกินน้ำที่มีสารคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ถ้าหากว่าจำเป็นต้องใช้น้ำประปาเลี้ยงลูกเป็ดระยะแรกแล้ว อาจทำได้โดยต้องเปิดน้ำเก็บไว้ในถังข้ามคืน

1.4 โรงเรือนและอุปกรณ์ จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่ โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรจะเป็นโรงเรือนที่สามารถป้องกันลมและฝนได้พร้อมทั้งป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่เป็นศัตรู และเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่ลูกเป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นกต่างๆ ถ้าไม่มีโรงเรือสำหรับกกลูกเป็ดโดยเฉพาะ ก็สามารถดัดแปลงบริเวณใต้ถุนบ้าน หรือโรงเก็บวัสดุเกษตร หรือใต้ยุ้งฉางข้าวเป็นที่กกลูกเป็ดก็ได้ แต่ต้องยึกหลักที่ว่า โรงกกลูกเป็ดเทศที่ดี ควรมีช่องระบายอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนใหญ่แล้วโรงกกลูกเป็ดเทศมักจะเป็นโรงเรือนที่มีฝาประตู หน้าต่าง ค่อนข้างจะมิดชิด เพื่อเก็บความอบอุ่นและป้องกันลมแรง ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีช่องระบายอากาศ เพื่อไล่อากาศเสียออกไป เพราะว่าเกี่ยวขอ้งกับความชื้นในคอกลูกเป็ด ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและการแพร่เชื้อโรค สูตรสำเร็จของการเลี้ยงเป็ดเทศพันธุ์นี้ คือ การทำให้พื้นคอกแห้งอยู่เสมอ

2. การกกลูกเป็ดเทศ นับว่าเป็นหัวใจของการเลี้ยงเป็ดเทศเลยทีเดียว เพราะถ้ากกไม่เหมาะสมแล้วจะมีผลกระทบตามมา จึงควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ การกกลูกเป็ดเป็นการทำให้ลูกเป็ดอบอุ่น เริ่มจากเตรียมพื้นคอกให้สะอาด โดยการปูพื้นด้วยวัสดุแห้งหลายชนิด เช่น แกลบ, ฟางข้าว, หญ้า, ซังข้าวโพดบด หรือทรายก็ได้ โดยปูพื้นให้หนาประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อดูดซับมูลลูกเป็ดซึ่งเป็นของเหลวเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากพื้นกกเปียกแฉะ ลูกเป็ดจะไม่เจริญเติบโต เลี้ยงยาก ติดเชื้อ และอัตราการตายสูง ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจดูพื้นคอกกกทุกวัน ถ้าหากเปียกชื้นควรกลับแกลบ หรือวัสดุรองพื้นทุกวัน เพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป 
การกกควรจะแบ่งลูกเป็ดออกเป็นคอกๆ ละประมาณ 150-200 ตัว โดยใช้แผงไม้ขัดไม้แตะหรือแผงกระดาษหนาทึบ หรือสังกะสี หรือพลาสติกสูงประมาณ 30-45 ซม. กั้นระหว่างคอก เพื่อป้องกันลูกเป็ดนอนสุมกันในเวลากลางคืน ขนาดของคอกขึ้นอยู่กับอายุของลูกเป็ด 0-1 สัปดาห์ พื้นที่ 1 ตารางเมตร แหล่งของความร้อนที่ใช้กกลูกเป็ดอาจจะใช้เครื่องกกลูกไก่ไฟฟ้าที่มีจำหน่ายทั่วไป หรือประกอบเองก็ได้ โดยทำเป็นโครงไม้ขนาด 1X2 เมตร ยกพื้นสูง 30-45 ซม. แขวนหลอดไฟขนาด 60 วัตต์ 2 หลอด ห่างกัน 50-60 ซม. ปูสังกะสี เสื่อลำแพนไม้อัด หรือวัสดุอื่นๆ เช่น กระสอบป่านปูทับโครงไม้ด้านบนเพื่อเก็บความร้อนไว้ให้ลูกเป็ดได้อบอุ่น, วางกกไว้ตรงกลางห้องจะสามารถกกลูกเป็ดได้ 200 ตัว ในระยะแรกลูกเป็ด อายุ 2-3 วัน ควรทำแผงกั้นรอบบริเวณเครื่องกกป้องกันไว้ไม่ให้ลูกเป็ดหลงทางหนีห่างจากเครื่องกก  วันต่อๆ ไปจึงขยับแผงกั้นห่างออกไปจนที่สุดไม่ต้องกั้น 
นอกจากนี้ยังกกลูกเป็ดในตะกร้าไม้ไผ่หรือกล่องกระดาษ หรือสุ่มไก่โดยมีหลักว่าใช้ผ้าหรือกระสอบคลุมเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกเป็ด วิธีการกกลูกเป็ดอีกวิธีหนึ่งซึ่งสามารถลดปัญหาความเปียกชื้นของพื้นคอกจากกาที่ลูกเป็ดเล่นน้ำ และเกิดจากลูกเป็ดขี้เหลว คือ การกกบนตาข่ายยกสูงจากพื้น 10-15 ซม. ซึ่งวางเรียงกันบนพื้นซีเมนต์ที่ลาดเอียง ลูกเป็ดจะปล่อยเลี้ยงบนพื้นลวดตาข่ายและมีรางน้ำ อาหาร และไฟกกอยู่พร้อม ลูกเป็ดถ่ายมูลออกมาและน้ำที่หกก็จะตกกลงลนพื้นซีเมนต์ แล้วเราก็ใช้น้ำฉีดบ้างพื้นคอกได้ทุกวัน เพราะพื้นได้ทำให้ลาดเอียงไว้อยู่แล้ว เป็นวิธีที่นิยมมาก เรากกลูกเป็ดเพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้นก็พอ โดยเฉพาะฤดูร้อนอาจจะกกเพียง 9-10 วันก็พอ แต่ฤดูหนาวอาจจะกก 10-21 วัน ในทางปฏิบัติกันทั่วไปคือ การกกลูกเป็ดในโรงกก 9-10 วัน แล้วปล่อยออกไปเลี้ยงในบ่อน้ำที่จัดไว้ให้เป็ดเล่น หรือถ้าหากไม่มีบ่อน้ำก็สามารถเลี้ยงลูกเป็ดปล่ยในแปลงหญ้าที่มีต้นไม้ให้ร่มเงาหรือ จะเลี้ยงภายในคอกกักบริเวณโดยไม่จำเป็นจะต้องมีน้ำให้ลูกเป็ดเล่นก็ได้ แต่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอด อุณหภูมิที่ใช้กกขึ้นอยู่กับอายุเป็ดและอุณหภูมิของอากาศ ถ้าอากาศร้อนระหว่างเวลา 10-15 นาฬิกา ของทุกวัน อากาศร้อนเราก็ไม่จำเป็นจะต้องเปิดไฟกก สังเกตได้จากลูกเป็ดจะไม่อยู่ให้กก จะการะจายอยู่รอบๆ หรือลูกเป็ดหายใจหอบอ้าปากหายใจ แสดงว่าร้อนจัด ลูกเป็ดจะสูญเสียน้ำหนักมากและอ่อนแอไม่กินอาหารและตายในที่สุด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับกกลูกเป็ด แสดงไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1  แสดงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการกกลูกเป็ดอายุ 0-3 สัปดาห์

อายุ
อากาศร้อน
อากาศเย็น
องศาF
องศาC
องศาF
องศาC
1 วัน
95
35
95
35
2-7 วัน
95-90
35-32
95-90
35-32
1-2 สัปดาห์
90-80
32-26
90-80
32-26
2-3 สัปดาห์
หยุดกก
80-75
26-23

2.1 วัสดุรองพื้นคอกกก ถ้ากกบนพื้นดินควรรองพื้นด้วยวัสดุที่ดูดซับความชื้นได้ดี เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ดินทราย ซังข้าวโพด การจัดการด้านวัสดุรองพื้น นับว่าสำคัญมากเช่นเดียวกับการควบคุมความอบอุ่น วัสดุรองพื้นที่เปียกชื้นควรนำออกไปทิ้งหรือไม่ก็เติมวัสดุลงไปอีก โดยเฉพาะวัสดุที่อยู่ใกล้ถาดน้ำ มักจะเปียกแฉะจากการที่ลูกเป็ดชอบเล่นน้ำ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีป้องกันหรือย้ายที่ตั้งขวดน้ำบ่อยๆ

2.2 ความชื้นภายในคอกลูกเป็ดประมาณ 65-75% ถ้าหากความชื้นภายในคอกสูงเกินไป ควรจะต้องปรับปรุงช่องระบายอากาศให้กว้างขึ้นหรือทำให้ลมพัดเข้าออกให้มากขึ้น เพื่อลดความชื้นให้ลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม แนะนำไม่ควรใช้ผ่า หรือพลาสติกหุ้มรอบๆ คอกจะมืดทึบตลอดวัน ควรปิดเฉพาะกลางคืนที่มีอากาศหนาวเย็น

2.3 การปล่อยให้ลูกเป็ดเล่นน้ำ ในระยะแรกๆ 1-3 สัปดาห์ ลูกเป็ดจะยังไม่จำเป็นที่เล่นน้ำ อาบน้ำ จึงกกไว้ในโรงกกก่อน เพราะว่าเมื่อเล็กๆ นี้ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้น้ำในร่างการของลูกเป็ดยังไม่พัฒนา เราจึงเลี้ยงโดยไม่ให้เล่นน้ำ แต่ว่ามีบางกรณีที่ลูกเป็ดเปื้อน สกปรก อาจจะให้ลูกเป็ดเล่นน้ำได้เพื่อล้างสิ่งสกปรกออก โดยปล่อยให้เล่นน้ำในเวลาที่มีแสงแดดจัด เช่น ใกล้เที่ยง หรือบ่าย 1-2 โมง และจำกัดให้เล่นน้ำเพียง 5-10 นาที และไล่ขึ้นตากแดดให้ขนแห้ง แล้วจึงต้อนไปในคอกต่อไป 

2.4 การให้แสงสว่าง ในระยะแรกเราจำเป็นต้องให้แสงสว่างตลอดเวลา โดยอาศัยไฟจากกรงกกในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันก็ใช้แสงธรรมชาติ การให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องตลอดวันระยะอายุ 2 วันแรก จะช่วยให้ลูกเป็ดได้กินน้ำและอาหารอย่างพอเพียง ทำให้ลูกเป็ดแข็งแรง แสงสว่างที่ใช้ในเวลากลางคืนเราใช้หลอดไฟนีออนขนาด 20 วัตต์ หรือหลอดสว่างขนาด 40 วัตต์ ต่อพื้นที่คอกกก 30 ตารางเมตร

3. การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด การให้อาหารลูกเป็ดระยะ 2 วันแรก ควรมช้อาหารผสมชนิดผงคลุกน้ำพอหมาดๆ ใส่ในภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ยๆ เช่น ถาดสังกะสีหรือไม่ก็โดยบนกล่องกระดาษที่ส่งลูกเป็ด แต่แกะกล่องกระดาษให้วางเรียบๆ บนพื้น อาหารควรเป็นอาหารลูกเป็ดระยะอายุ 0-3 สัปดาห์ เป็นอาหารที่มีโปรตีน 17-18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,890 กิโลแคลอรี่ รายละเอียดของสูตรอาหารแสดงไว้ในตารางที่ 2 อาหารและน้ำควรจะวางไว้อยู่ใกล้เครื่องกก ห่างประมาณ 20-30 ซม. เพื่อให้ลูกเป็ดกินอาหารได้สะดวกและอยู่ใกล้ไฟหลังจาก 2 วันแรกให้วางอาหารค่อยๆ ห่างจากไฟกกออกไป 1-1.5 เมตร และขยับให้ห่างออกเรื่อยๆ สุดท้ายให้ห่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การให้น้ำอาจจะใส่ในขวดพลาสติก สำหรับให้น้ำเป็ดและไก่ที่มีจำหน่ายในตลาด หรือใส่ภาชนะอื่นที่หาได้ และให้วางอยู่ใกล้อาหาร ควรเป็นน้ำสะอาดไม่มีสารเคมี คลอรีน  ถังน้ำ ขวดน้ำ รางน้ำ ควรทำความสะอาดทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง

ตารางที่ 2 สูตรอาหารลูกเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีอายุ 0-3 สัปดาห์

วัตถุดิบ
สูตรที่
1
2
3
4
5
ปลายข้าว หรือ 
ข้าวเปลือกบด หรือ
ข้าวฟ่างบด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองเม็ดบด
ถั่วเขียวหรือถั่วพุ่ม
ปลาป่น
ใบกระถินหรือใบใบมันสำปะหลัง
เปลือกหอย
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
เกลือป่น
ไวตามิน-แร่ธาตุ

49

20
28
-
-
-
-
1.30
1.30
0.50
0.50

27

35
-
30
-
-
5
1.1
1.25
0.50
0.50

53

-
23
-
20
-
-
1.0
1.7
0.5
0.25

58

5
20
-
5
5
5
0.5
1.0
0.5
0.25

70.89


17.10


10.00

1.00
-
0.50
0.25
หมายเหตุ : 1. ปลายข้าว ข้าวเปลือกบด และข้าวฟ่างบดใช้ทดแทนกันได้
2. ถั่วเหลืองเม็ด, ถั่วเขียว, ถั่วพุ่ม ก่อนนำมาใช้ควรทำให้สุกก่อนด้วยการแช่น้ำร้อนที่เดือดแล้วประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้งและบดเก็บไว้ผสมในอาหารเป็ด หรือสัตว์ปีกอื่น

การเลี้ยงลูกเป็ดเทศอายุ 3-8 สัปดาห์

ลูกเป็ดอายุครบ 2 สัปดาห์ ความต้องการทางด้านกกเพื่อให้ความอบอุ่นจะลดลงหรือไม่ต้องกกเลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะว่าลูกเป็ดมีขนขึ้นเต็มลำตัว และลูกเป็ดกินอาหารได้ดีจนสามารถสร้างความอบอุ่นขึ้นได้เองอย่างเพียงพอ ลูกเป็ดอายุ 3-8 สัปดาห์จะมีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้นเกษตรกรเจ้าของฟาร์มจึงต้องควรเอาใจใส่ในด้านอาหาร การให้อาหารและส่วนประกอบของอาหารที่ถูกต้อง 
จำนวนอาหารที่ให้เป็ดกินและการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

1. การจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การเลี้ยงลูกเป็ดระยะเจริญเติบโตนี้ไม่ค่อยจะยุ่งยาก เราสามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้อยู่รวมกันเป็นฝูง, เลี้ยงในโรงเรือนมีหลังคาและกั้นห้องให้อยู่กันเป็นห้องๆ หรือ อาจเลี้ยงปล่อยทุ่งไล่ต้อนกลับคอกในตอนเย็น หรือเลี้ยงในโรงเลี้ยงเป็ดที่มีลานดินยื่นออกมานอกโรงเรือนให้ลูกเป็ดเล่นน้ำและพักผ่อนในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนให้ขังในโรงเรือน ข้อสำคัญของการเลี้ยงเป็ดระยะนี้ คืออย่าขังเป็ดรวมกันให้แน่นเกินไปถ้าหากเป็ดแน่นแล้วลูกเป็ดจะจิกกัน โดยเฉพาะถ้าหากเราให้อาหารไม่เพียงพอหรืออาหารมีส่วนประกอบไม่ได้สัดส่วน ลูกเป็ดจะยิ่งจิกขนและกินขนกันมากยิ่งขึ้น ข้อแนะนำคือ ให้ลูกเป็ดอยู่ระหว่าง 4-5 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ในกรณีบางฟาร์มมีพื้นที่มีบ่อน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติ ก็สามารถปล่อยเลี้ยงได้โดยไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนแต่มีร่มเงาต้นไม้เหรือเพิงบังแดด ข้อดีวิธีนี้คือ เป็ดมีอิสระไม่จิกขนกันทำให้ขนสวยเป็นมัน ข้อสำคัญขอให้มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

2. การให้อาหาร ลูกเป็ดระยะนี้มีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงจึงควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูงเหมาะสมกับอัตราการเจริญเติบโตและอายุของลูกเป็ดด้วย นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณที่ให้กินต่อวัน และตรวจสอบน้ำหนักของลูกเป็ดให้อยุ่ในมาตรฐานด้วย 
โดยปกติแล้วเราให้อาหารลูกเป็ดวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า 7-8 โมงเช้า และบ่าย 4-5 โมงเย็น อาหารที่ให้เป็นอาหารชนิดผงคลุกน้ำให้ชื้นพอหมาดๆไม่ถึงกับเปียกแฉะ ซึ่งจะทำให้ลูกเป็ดกินได้ง่ายและไม่ตกหล่นมาก อาหารที่คลุกน้ำแล้วจะถูกเทใส่ในรางไม้หรือถังใส่อาหารสัตว์ชนิดแขวนบรรจุ 4-5 กิโลกรัม ก็แล้วแต่สะดวก อาจเทบนกระสอบหรือภาชนะแบนๆ วางอยู่กลางคอกและวางอยู่ไกลน้ำดื่ม 3-4 เมตร ควรจัดหารางอาหารให้พอเหมาะกับจำนวนเป็ด รางอาหารที่เป็นรางไม้ที่เป็ดกินได้ทั้งสองข้างขนาดยาว 1 เมตร เลี้ยงเป็ดได้ 40-50 ตัว จำนวนอาหารที่ให้ในแต่ละครั้งควรใกล้เคียงกับมาตรฐาน พร้อมกันนี้สุ่มลูกเป็ด 10% มาชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์

วัตถุดิบ
สูตรอาหารเป็ดเทศ อายุ 4-12 สัปดาห์ (ก.ก.)
1
2
3
4
5
6
7
ปลายข้าว
มันสำปะหลัง
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองเม็ด
ถั่วเขียว, ถั่วพุ่ม
ปลาป่น
ใบกระถิน
ใบมันสำปะหลัง
เปลือกหอย
ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต
เกลือป่น
ไวตามิน-แร่ธาตุ
รวม
75
-
-
21
-
-
-
-
-
1
2
0.5
0.5
100
71
-
-
17.0
-
-
10
-
-
1
-
0.5
0.5
100
61
-
-
-
20.5
-
-
5
10
0.5
2
0.5
0.5
100
66
-
-
-
-
16
-
5
9
1
2
0.5
0.5
100
69
-
-
13.5
-
-
5
5
5
0.5
1
0.5
0.5
100
30
34.5
-
12.0
-
10
-
5
5
0.5
2
0.5
0.5
100
66
-
-
-
-
16
-
5
9.5
0.5
2
0.5
0.5
100

หมายเหตุ : 1. ปลายข้าว ข้าวเปลือกบด ข้าวฟ่างบดใช้แทนกันได้อัตราส่วน 1: 1
2. ถั่วเหลืองเม็ด ถั่วเขียว และถั่วพุ่มก่อนนำมาใช้ควรทำให้สุกก่อน โดยการแช่น้ำร้อนที่กำลังเดือด แช่ประมาณ 10-15 นาที แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนที่จะบด
3. ไวตามิน-แร่ธาตุ ที่จะเติมลงไปในอาหารให้ปฏิบัติตามคำแนะนำผู้ผลิต


การเลี้ยงเป็ดเทศทุกๆ พันธุ์ หรือแม้แต่เป็ดพันธุ์ไข่ เกษตรกร ควรทราบว่าอาหารเป็ดทุกๆ อายุ ไม่ควรจะใช้ข้าวโพดผสม เพราะข้าวโพดมีสารพิษ อัลฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็ดทุกชนิดจะแพ้และไม่ต้านทานต่อสารพิษ ลูกเป็ดเทศที่เลี้ยงด้วยข้าวโพดจะแคระแกรน จิกขน กินขน หนาว ตัวสั่น และตายนอนหงายขาชี้ฟ้า คอบิด อัตราการตายสูง เป็ดเทศแม่พันธุ์ไข่ลดและหยุดไข่

ถ้าต้องการขุนเป็ดเทศร่งส่งตลาดในระยะสั้น เกษตรกรควรให้อาหารเต็มที่ ให้กินตลอดเวลา อาหารไม่จำเป็นต้องคลุกน้ำ ถ้าต้องการลดค่าอาหารควรเสริมด้วยผักสด หญ้าสด ใบถั่วสดหรือผักตบชวาหั่น คลุกกับอาหารผสม เลี้ยงเช้า-เย็น

การเลี้ยงเป็ดเทศกบินทร์บุรีไว้ทำพันธุ์

เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีที่สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ วิจัยและปรับปรุงพันธุ์มานั้น มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งนอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ คือ พันธุ์นั้นจะต้องสามารถให้เกษตรกรขยายพันธุ์เองได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อจากกรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่ต้องการ เพียงแต่ 2-3 ปี จึงเปลี่ยนพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะสถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องดีกว่าพันธุ์เดิมทุกๆ ปี ดังนั้นวิธีการเลี้ยงก็จะแตกต่างจากการเลี้ยงขุนตลาด โดยหลักการแล้วการเลี้ยงขุนเพื่อผลิตเนื้อจะต้องให้เป็ดเทศกินอาหารอย่างเต็มที่จนถึงน้ำหนักและอายุที่ตลาดต้องการ คือ น้ำหนักเฉลี่ย 3-3.5 กก./ตัว เมื่ออายุ 11-12 สัปดาห์ ส่วนการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ การเลี้ยงจะไม่เร่งรัดให้เจริญเติบโตเร็วและไม่ให้อ้วนเกินไป เพราะจะไข่น้อย หรือไม่ไข่เลย ดังนั้นจึงต้องควบคุมอาหารทุกสัปดาห์จนถึงอายุที่เป็ดไข่ฟองแรก และสุ่มชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับน้ำหนักมาตรฐาน

ขั้นตอนการเลี้ยงเป็ดเทศกบินทร์บุรีสำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์ ดังนี้

1. การเลี้ยงลูกเป็ด อายุ 0-3 สัปดาห์ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเลี้ยงลูกเป็ดเทศ 0-3 สัปดาห์ โดยมีอาหารให้กินเต็มที่ มีอาหารและน้ำใส่รางตลอด

2. การเลี้ยงเป็ดเทศอายุ 4-12 สัปดาห์ การจัดการและการเลี้ยงดูลูกเป็ดตั้งแต่อายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ค่อนข้างจะง่าย ลูกเป็ดสามารถปล่อยเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือบริเวณบ้านได้ โดยไม่ต้องขังในคอก เป็ดหากินเองตามธรรมชาติ เช่น ปล่อยไล่ทุ่งเก็บกินเมล็ดข้าวตกหล่นหลังฤดูเก็บเกี่ยว แต่เสริมด้วยอาหารผสมสำหรับลูกเป็ดเทศอายุ 4-12 สัปดาห์ (ตารางที่ 3) ในเวลาเช้าและเย็นในปริมาณที่จำกัดดังแสดงไว้ใน ตารางที่ 6 ปรับจำนวนอาหารที่ให้สัปดาห์ละครั้ง จำนวนอาหารที่ปรับแต่ละครั้งอาจจะมากหรือน้อยกว่ามาตรฐานก็ได้ โดยดูจากน้ำหนักเป็ดเป็นเกณฑ์ คือ เกษตรกรควรจะสุ่งชั่งน้ำหนักเป็ดทุกๆ สัปดาห์ ถ้าสัปดาห์ใด้น้ำหนักเป็ดเบากว่ามาตรฐานก็จะลดจำนวนอาหารลงจากที่ให้ไว้ในตารางปฏิบัติเช่นนี้ไปจนกว่าเป็ดเป็นหนุ่ม-สาว และถึงวันที่เป็ดเริ่มไข่ฟองแรกจึงเปลี่ยนอาหารสำหรับเป็ดไข่ต่อไป
ในช่วงอายุ 4-26 สัปดาห์ เป็ดสามารถปล่อยเลี้ยงในแปลงหญ้า ในไร่-นาและสวนผลไม้ได้ เป็ดสามารถปล่อยเป็นฝูง ตากแดดตากฝนได้ เพียงแต่มีร่มเงาบังแดดจัดในเวลากลางวันได้ก็พอเพียงไม่จำเป็นต้องนอนในคอกเล้าเสมอไป ที่สำคัญจะต้องมีน้ำใส่ภาชนะไว้ให้เป็ดกินตลอดเวลาและไม่จำเป็นจะต้องมีน้ำให้เป็ดเล่น ถ้าหาผัก พืชอาหารสัตว์ จอกแหน ผักตบชวา หรือหญ้าสดหั่นให้เป็ดกินจะทำให้ลดอาหารผสมลงได้เป็นการประหยัด

ตาราง 5 สูตรอาหารสำหรับเป็ดเทศรุ่น (13-26 สัปดาห์) เป็ดเทศผสมพันธุ์ (27-72 สัปดาห์)

ชนิดอาหาร
เป็ดรุ่น
เป็ดผสมพันธุ์
1
2
1
2
3
ปลายข้าว
ข้าวเปลือก
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น
ใบกระถิน
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซียม
เกลือ
ไวตามิน-แร่ธาตุ
41.50
41.25
-
13.00
-
-
2.00
1.50
0.50
0.25
30
40.00
10.00
11.50
-
5.00
1.25
2.00
0.50
0.25
56.70
-
5.00
19.70
6.00
5.00
6.00
0.70
0.50
0.25
56.30
-
-
30.00
-
5.00
6
2.00
0.50
0.25
59.39
-
5.00
16.45
10.00
-
5.00
3.00
0.50
0.25

ตาราง 6 แสดงมาตรฐานน้ำหนักเฉลี่ยและจำนวนอาหารที่ผสมที่จำกัดให้เป็ดเทศเพศเมียจนอายุเริ่มไข่ 24-26 สัปดาห์

อายุ
(สัปดาห์ที่)
น้ำหนัก
(กรัม/ตัว)
อาหาร
(กรัม/ตัว/วัน)

อายุ
(สัปดาห์)

น้ำหนัก
(กรัม/ตัว)
อาหาร
(กรัม/ตัว/วัน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
132
307
529
783
933
1,200
1,400
2,050
2,080
2,100
2,130
2,160
2,190
ให้กินเต็มที่
ให้กินเต็มที่
ไม่กินเต็มที่
ให้กินเต็มที่
86
85
84
83
80
79
80
81
82
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
2,210
2,240
2,270
2,300
2,330
2,360
2,390
2,410
2,440
2,470
2,440
2,530
2,560
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95

3. การเลี้ยงเป็ดเทศพ่อแม่พันธุ์
เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี เริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 24-48 สัปดาห์ พอเป็ดสาวเริ่มไข่และเป็ดหนุ่มเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่ และแสดงอาการเป็นสัด ขนสวย หนังขรุขระบนใบหน้าสีชมพูแดง ปกติเพศผู้จะโตกว่าเพศเมีย 2 เท่า ให้คัดเป็ดสาวไว้ทำพันธุ์ โดยคัดตัวที่มีรูปร่างลักษณะดี ลำตัวยาวและกว้าง ท้องใหญ่ กระดูกเชิงกรานกว้าง ขนสีขาวปลอด หัวมีจุดสีดำเล็กน้อย น้ำหนัก 2.5-3.0 ก.ก. ส่วนเพศผู้ให้คัดตัวที่โตดีกว่าตัวอื่นๆ ในฝูง ปกติเราจะคัดพ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4.0 ก.ก.ขึ้นไป และมีลักษณะดี แข็งแรง หน้าตาแจ่มใส สีชมพูแดง คลอเคลียตัวเมียเก่ง แสดงอาการอยากผสมพันธุ์ และยาว ขนสีขาวปลอด เว้นแต่จุดดำกลางหัว ปากใหญ่สีชมพู
เมื่อคัดเป็ดแล้วให้เปลี่ยนอาหารเป็นอาหารเป็ดไข่สำหรับพ่อแม่พันธุ์ อาหารผสมนี้มีแคลเซี่ยมสูงกว่าเป็ดสาว เพราะมีแคลเซี่ยม 3% ซึ่งได้มาจากเปลือกหอยหรือปูนขาว การเลี้ยงเป็ดพ่อแม่พันธุ์จะต้องเอาใจใส่พิเศษ คือ

(1) การให้แสงสว่างวันละ 14-16 ชั่วโมง จะช่วยให้เป็ดไข่ดีขึ้น จึงต้องเปิดไฟสว่างขนาด 20 วัตต์ ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 2-4 ชั่วโมง คือ หัวค่ำเปิดไฟถึง 3 ทุ่ม และอีกครั้งหนึ่งเวลาเช้ามืด 5-6 โมงเช้า
(2) การให้อาหารที่มีคุณภาพและให้ในปริมาณที่สอดคล้องกับอัตราการไข่ของเป็ด ดูรายละเอียดในตารางที่ 7
(3) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคดั๊กเพลก และอหิวาต์ ตามตารางการทำวัคซีนอย่างเคร่งครัด หลังจากทำวัคซีนดั๊กเพลก ไม่ควรเก็บไข่ไปฟักเป็นเวลา 7-10 วัน เพราะลูกเป็ดที่ฟักออกจะเลี้ยงยากและตายมาก สาเหตุจากการทำวัคซีน
(4) อัตราส่วนของการผสมพันธุ์ ควรจะเป็นพ่อพันธุ์ 1 ตัว ผสมแม่พันธุ์ 5-7 ตัว
(5) อาหารเป็ดจะต้องไม่มีข้าวโพดเป็นส่วนผสม เพราะทำให้การไข่, ผสมติดและฟักออกต่ำ และไม่ไข่เลย

ตาราง 7  อัตราการไข่และปริมาณอาหารผสมที่กินต่อตัวต่อวันของเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีแยกเป็นรายสัปดาห์ตลอดปีแรกของการผลิตไข่ฟัก

อายุการไข่
(เดือน)
อัตราการไข่
(%)
กินอาหาร
(กรัม/ตัว/วัน)
อายุการไข่
(สัปดาห์)
อัตราการไข่
(%)
กินอาหาร
(กรัม/ตัว/วัน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
9
16
33
47
55
61
43
35
44
56
61
58
59
60
59
53
46
40
34
29
28
31
32
36
32 
31
150
150
150
150
150
150
150
150
170
170
170
170
170
170
170
170
170
160
160
160
160
160
160
150
150
150
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
28
33
34
38
32
23
16
14
16
16
18
20
26
26
27
29
34
30
35
41
42
35
27
28
28
35
150
150
150
150
150
150
150
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140
140

ตาราง 8  แสดงความต้องการโภชนะอาหารของเป็ดเทศแยกตามอายุและการให้ผลผลิต

โภชนะอาหาร
อายุเป็ดสัปดาห์
เป็ดพันธุ์
0-3
4-10
11-26
27-72
พลังงานใช้ประโยชน์ (keal/kg)
โปรตีน%
แคลเซี่ยม%
ฟอสฟอรัสใช้ได้%
อาร์จินีน %
ฮีสติดีน%
ไอโซลูซีน%
ลูซีน%
ไลซีน%
เมทไธโอนีน+ซีสตีน%
เฟนนิล+ไทโรซีน%
ทรีโอนีน%
ทริปโตเฟน%
เวลีน%
2,890
18.7
0.90
0.36
1.12
0.43
0.66
1.31
1.10
0.69
1.44
0.69
0.24
0.80
2,890
15.4
0.72
0.36
0.92
0.35
0.54
1.08
0.90
0.57
1.19
0.57
0.20
0.68
2,600
13.2
0.90
0.36
0.79
0.32
0.57
1.09
0.61
0.52
1.04
0.49
0.16
0.61
2,730
18.7
3.0
0.43
1.14
0.45
0.80
1.08
1.00
0.74
1.47
0.70
0.22
0.86

วิธีการฟักไข่เป็ดเทศ

เป็ดเทศเป็นสัตว์ปีกที่สามารถฟักไข่ได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะฟักได้ดี 80-90% แต่เมื่อนำไข่เป็ดมาฟักด้วยตู้ฟักไข่ การฟักออกของไข่เป็ดเทศไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อตอนเริ่มฟักไข่เป็ดเทศซึ่งมีเปลือกหนาและเยื่อหุ้มไข่ที่เหนียว การฟักออกนั้นต่ำมาก เพราะตู้ที่ฟักเป็นตู้ฟักไข่ไก่ และวิธีการฟักไข่เป็ดแตกต่างจากไข่ไก่ จึงเกิดปัญหาตายโคมมาก ในการฟักไข่เป็ดเทศมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่เป็ดเทศเข้าฟัก
ขนาดไข่สม่ำเสมอ ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป มีน้ำหนักระหว่าง 65-75 กรัม รูปร่างไข่ไม่ควรกลมหรือแหลมเกินไป เปลือกไข่ควรเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีรอยบุบ ร้าว หรือแตก

2. การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก
ตามปกติแล้วจะเก็บไข่เป็ดเข้าตู้ฟักทุก 7 วัน ในกรณีที่ไข่เป็ดไม่มาก แต่ถ้ามีมาก จะเก็บเข้าทุกๆ 3-4 วัน ในการเก็บไข่เพื่อรอนำเข้าตู้ฟัก ควรเก็บในห้องเย็น อุณหภูมิ 50-65 องศาฟาเรนไฮด์ และมีความชื้น 75% ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง

3. การทำความสะอาดเปลือกไข่เป็ดเทศ
ควรทำความสะอาดไข่ทันทีที่เก็บจากคอก ให้ใช้กระดาษทรายหยาบขัดออก ไม่ว่าจะเป็นมูลหรือสิ่งสกปรกอื่น อย่าล้างน้ำจะทำให้เชื้อโรคซึมแทรกเข้าไปตามรูพรุน เข้าสู่ฟองไข่และทำอันตรายต่อไข่ภายในได้ และขณะทำความสะอาดไข่ควรตรวจดูเปลือกไข่ที่บุบและร้าวด้วย เพื่อคัดออกเสียแต่แรก

4. การรมควันฆ่าเชื้อโรค
หลังจากทำความสะอาดเปลือกไข่แล้ว นำมารมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่บนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อ Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยรมควันไข่เป็ดที่เก็บมากจากคอกก่อนนำไข่เข้าห้องเก็บไข่ ใช้ด่างทับทิม 20 กรัม ฟอร์มาลีน 40% จำนวน 40 ซีซี ต่อพื้นที่ 100 ลูกบาศก์ฟุต 
วิธีทำคือ ชั่งด่างทับทิมแล้วใส่ในชามสังกะสีเคลือบแล้วใส่ในตู้อบ เทฟอร์มาลีนลงในอ่างเคลือบแล้วรีบปิดประตูทันที ระวังอย่าดมควันฟอร์มาลีน เพราะจะทำให้เยื่อจมูก และตาอักเสบได้ ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วจึงนำไข่เข้าเก็บในห้องเก็บไข่ ข้อสำคัญคือ ห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชม. แลไม่รมควันไข่ที่ลูกเป็ดกำลังเจาะเปลือกไข่ออก

5. การฟักไข่เป็ดเทศระยะ 1-10 วันของการฟัก
ไข่ที่ได้รับการเก็บไว้ในอุณหภูมิ 50-60 องศาฟาเรนไฮด์เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำเข้าตู้ฟักไข่ ในช่วงนี้อาจรมควันฆ่าเชื้ออีกครั้งหนึ่งได้ แต่ระวังอย่ารมควันไข่ที่เพิ่งเข้าตู้ฟักได้ไม่เกิน 24-72 ชม. ในช่วง 1-10 วันที่เข้าตู้ฟักอุณหภูมิ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิปรอทตุ้มเปียก 86 องศาฟาเรนไฮด์ กลับไข่อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง

6. การกลับไข่
การฟักไข่เป็เทศโดยใช้เครื่องฟักไข่ไก่ ต้องปรับปรุงวิธีการวางไข่ในถาดฟักใหม่ ให้ไข่เป็ดนอนราบกับพื้นถาดโดยไม่มีลวดกั้น วางไข่ลงในถาดเต็มถาดเหลือช่องว่างไว้ประมาณวางไข่เป็ดได้ 2 ฟอง เพื่อให้ไข่กลิ้งได้เวลาเอียงถาดไข่ การกลับไข่ด้วยเครื่องฟักไข่อัตโนมัติก็โดยการตั้งเครื่องกลับไข่ให้ถาดไข่เอียงประมาณ 10-15 องศา ไข่เป็ดจะกลิ้งไปในระยะทางเท่ากับไข่ 2 ฟอง ที่เหลือช่องว่างเอาไว้ระหว่างไข่ในถาดกับขอบของถาดไข่ ถ้าเป็นเครื่องฟักธรรมดา ก็ใช้มือสวมถุงมือที่สะอาดๆ ลูบไปบนไข่ในถาดให้ไข่กลิ้ง หรือเคลื่อนที่ออกจากเดิมก็ได้ หรือจะทำคันโยกให้ถาดเอียงตามองศาดังกล่าว ถ้าไข่กลิ้งชนกัน ก็ให้ลดความเอียงลง

7. การฟักไข่เป็ดในระยะที่ 2 วันที่ 11-31 ของการฟัก
ในวันที่ 11 ของการฟักจะนำออกจากตู้ฟักมาส่องไข่ แยกไข่เชื้อตายออก แล้วนำไข่มีเชื้อเข้าตู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตู้ฟักทีระบบให้ความร้อนและระบบพัดลมแยกออาจากกัน เพราะในช่วงวันที่ 11-31 ของการฟักไข่จะเปิดระบบให้ความร้อนเป็นเวลาแต่จะเปิดพัดลมตลอดเวลา ซึ่งจะเปิดประตูตู้ฟักไข่ไว้ตั้งแต่ 09.00-11.00 น. จึงปิดประตูตู้ฟักไข่แล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำงาน, ในช่วงที่เปิดประตูตู้ฟักไข่ทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลา 10.00 น. คือ ครบ 1 ชั่วโมง แล้วจะทำการพ่นน้ำที่ไข่เป็ดเทศทุกฟองให้เปียกแล้วทิ้งไว้อีก 1 ชม. จึงปิดตู้ฟักแล้วเปิดระบบให้ความร้อน ทำเช่นนี้ทุกวันจนถึงวันที่ 31 ของการฟัก อุณหภูมิของตู้ฟักไข่ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 90-92 องศาฟาเรนไฮด์ 
การกลับไข่ควรกลับอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง จะทำให้เชื้อแข็งแรง ฟักออกดีขึ้น ถ้าตู้ฟักที่ควบคุมความร้อนไม่ได้พ่นน้ำที่ไข่วันละ 2 ครั้ง ช่วงบ่ายโมงและสี่โมงครึ่ง น้ำที่ใช้พ่นควรมีอุณหภูมิเท่าตู้ฟักและเป็นน้ำสะอาดโดยผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไปก็จะทำให้ไข่เป็ดมีเชื้อตายที่ 32 วัน น้อยลง

8. การฟักไข่เป็ดเทศในระยะที่ 3 วันที่ 32-35 ของการฟัก

วันที่ 32 จะนำไข่ออกจากตู้ฟักเพื่อนำมาส่องไข่ที่มีเชื้อแข็งแรงนำเข้าตู้เกิดไข่ ไข่เชื้อตายก็นำออกไป การนำไข่มีเชื้อเข้าตู้เกิดจะใส่ถาดโดยวางไข่ในแนวนอน จะไม่มีการกลับไข่หรือพ่นน้ำแต่อย่างใด ใช้อุณหภูมิ 98-99 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 94 องศาฟาเรนไฮด์ ความชื้นสัมพัทธ์ 86% ไข่เป็ดที่จะฟักออกได้ดีควรมีช่องอากาศภายในไข่ เท่ากับ 1 ใน 3 ของไข่ ลูกเป็ดบางตัวอาจเจาะออกเป็นตัวเมื่ออายุ 33 วัน จึงควรเก็บไข่ฟักให้ถึง 35 วัน และตู้เกิดควรแยกออกจากตู้ฟักไม่ควรใช้ตู้เดียวกัน เพราะถ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นไม่ดี จะทำให้เกิดน้อยลงและที่สำคัญคือ ไม่แข็งแรงและทำให้อัตราการตายสูง เมื่อนำไปเลี้ยงในช่วงอาทิตย์แรก

โรคเป็ดเทศและการป้องกัน

เป็ดเป็นโรคน้อยกว่าไก่ หากเลี้ยงในพื้นคอกแห้ง ไม่เปียกชื้นแฉะ แล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดเทศที่สำคัญมีดังนี้

1. โรคอหิวาต์เป็ดเทศ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการทั่วไปเป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูง ถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน มักจับกลุ่มในบริเวณรางน้ำ
อุจจาระเป็นยางเหนียว สีขาวปนเขียว 
บางครั้งเป็ดตายกระทันหัน ถ้าเรื้อรังข้อเข่า ข้อเท้า อักเสบบวม ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ในเป็ดไข่ ไข่ลดลง
การรักษา ใช้ยาซัลฟา ที่ได้ผลดีคือ ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน หรือยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือ ออกซีเตตร้าซัยคลิน ผสมในอาหาร ระดับ 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกที่อายุ 2 เดือน และทำซ้ำทุก 3 เดือน ฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการทั่วไป จะซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหว มีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว น้ำมูกไหล
อุจจาระสีเขียวปนเหลือง อาจมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทวารจะแดงช้ำหายใจลำบาก
การรักษา ไม่มียารักษา มีแต่การป้องกัน
การป้องกัน โดยการทำวัคซีน ดังนี้
- ครั้งแรก อายุ 1 เดือน
- ครั้งที่สอง อายุ 3 เดือน
- ครั้งที่สาม อายุ 6 เดือน และทำซ้ำทุก 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 2 ซี.ซี. หาซื้อได้ที่กรมปศุสัตว์หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ

ตารางการทำวัคซีนป้องกันโรคเป็ด
ชนิดวัคซีน
อายุเป็ด
วิธีการใช้
ขนาดวัคซีน
ระยะคุ้มโรค
ดั๊กเพลค (กาฬโรคเป็ด)
ดั๊กเพลค
ดั๊กเพลค
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก
"
"
2 c.c.
2 c.c.
2 c.c.
2 เดือน
2 เดือน
หลังจากเข็มนี้แล้วให้ทำซ้ำทุก 6 เดือน
โรคอหิวาต์เป็ด
2 เดือน
"
1 c.c.
3 เดือน และทำซ้ำทุก 3 เดือน