ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 78 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

663166
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
275
386
3270
653750
10583
30740
663166

Your IP: 3.14.129.106
2024-11-14 11:34

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

การนำเข้าสัตว์มีชีวิต

การดำเนินการล่วงหน้า

  1. ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น
  2. เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจรับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อน
  3. การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าฯ ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ยกเว้นสัตว์ที่นำติดตัวเข้ามายื่นคำขอขณะเข้ามาก็ได้และควรจะติดต่อด้วยตนเอง โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัว ผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยทุกครั้ง
  4. กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการ อนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น
  5. ผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำเข้า ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด (เงื่อนไขประกอบการนำสัตว์เข้าประเทศของกรมปศุสัตว์ จะปรับปรุงสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และป้องกันมิให้โรคระบาดสัตว์ ทุกชนิดจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย)
  6. ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งยืนยันการนำเข้าต่อยืนยันการนำเข้าต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้นเกี่ยวกับ วัน เวลา ที่นำเข้าและเที่ยวบิน เที่ยวเรือ หรือเที่ยวขบวนรถไฟหรือทะเบียนยานพาหนะที่ใช้บรรทุกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึงเพื่อสัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้ง อนุมัตินำเข้า (ร.6) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อ ดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น
  7. สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานฑูตประเทศต้นทาง ประจำประเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตรงตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตาม เงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด สัตว์นั้นจะไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย
  8. สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง
  9. ผู้เข้าต้องเตรียมสำเนาเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำเข้าราชอาณาจักร

การดำเนินการช่วงนำเข้า

  1. ผู้นำสัตว์เข้าราชอาณาจักรที่มิใช่สัตว์พันธุ์ หรือเป็นสัตว์พันธุ์แต่ไม่มีหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติสัตว์นำเข้าฯ ประกอบมา ผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักรที่กำหนดในกฏกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ 
    พ.ศ. 2499 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542
  2. เมื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า นำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด

การดำเนินการหลังการนำเข้า

  1. สัตว์จะถูกนำไปกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์ เก็บตัวอย่างต่าง ๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรค และผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้าย ออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร. 7) มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐาน
  2. ในกรณีสัตว์ป่วย สัตว์ตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและ เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อชันสูตรโรคต่อไป