การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจสังคมเทคนิคสำหรับ การเลี้ยงกระบือในพื้นที่เขต 9 ปี 2547 1บัญชา สัจจาพันธ์ 2 ธัญญา สุขย้อย 3 ประภัสสร วุฒิปาณี4
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ ข้อมูลทางด้านสังคมและเทคนิคในการเลี้ยงกระบือในพื้นที่เขต 9 รวม 4 จังหวัด คือจังหวัดสตูล พัทลุง ตรัง และสงขลา จำนวน 142 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 81.7 และเป็นหัวหน้าครอบครัว ร้อยละ 74.7 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 75.4 มีอาชีพหลักทำนา มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยเท่ากับ 14.37 ไร่ เกษตรกรครึ่งหนึ่งมีการเลี้ยงกระบือน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 50.0 จำนวนกระบือที่เลี้ยงต่อรายเฉลี่ย 10.85 ตัว ส่วนมากมีรายได้หลักมากกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 61.3 เฉลี่ย 40,567.48บาท ส่วนใหญ่เลี้ยงกระบือเองร้อยละ 86.6 เป็นกระบือพันธุ์พื้นเมืองร้อยละ 89.4วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยร้อยละ 61.2 ใช้พ่อพันธุ์ในการผสมพันธุ์ร้อยละ 77.5 ส่วนใหญ่มีการทำวัคซีนร้อยละ 73.9 และถ่ายพยาธิร้อยละ 70.4 จากการศึกษาคำแนะนำด้านการพัฒนาการเลี้ยงกระบือของเกษตรกรในพื้นที่ พบว่าเกษตรกรครึ่งหนึ่งเห็นว่าควรมีการพัฒนาเรื่องอื่น ๆ ได้แก่ ด้านการตลาดและเงินลงทุนมากที่สุดร้อยละ 55.6 รองลงมาคือพัฒนาด้านพันธุ์กระบือร้อยละ40.9
คำสำคัญ : กระบือปลัก ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ สังคม เทคนิคสำหรับการเลี้ยงกระบือ 1. ทะเบียนผลงานทางวิชาการเลขที่ 47(1) (45:2 , 2.1) - 0206 - 013 2. สำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัยที่ 9 ถนนกาญจนวนิช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 3. ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนราธิวาส อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 96000 4. กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Economic, Socio and Technical Feasibility Study of Swamp Buffaloes Production in 9th Region Livestock Area in 2004 1/ Bancha Satchaphun2/ Thunya Sookyoi3/ Prapatsorn Vudhipanee4/ Abstrac
Objectives of this research were to study the farmers' socio-economic background, and technical feasibility including problems and recommendations of Swamp Buffaloes Production in Region 9th Livestock Area in 2004 at Satoon Province, Patthalung Province, Trung Province and Songkla Province. The data were collected by interviewing 142 farmers who involved at intensive area of swamp buffalo and statistically analyzed for percentage, arithmetic means. The results of the study were: Most of farmers were male (81.7%). The most groups had completed 7 years of primary education had 75.4% . They had average area 14.37 Rai. The average number of buffalo was 10.85. The majority had main income from raising buffalo with the average yearly income per family more than 20,000 baht(61.3%). Family worked together in raising buffalo by sharing activities. Their pastures closed to their farms and Swamp buffaloes are pasturing on roadside or riverside in rain season (61.2%). Improved genetic flows down to the village level either though the use of improved sires by use of live sires. Buffalo got artificial insemination and health program by technician and officer services. The farmers' recommendation was having more about marketing investment(55.6%) breeding and improvement swamp buffalo(40.9%).
Key words : Buffaloes , Economics , Social , Technical Feasibility of Swamp Buffaloes Production 1. Scientific paper No 47(1) (45:2 , 2.1) - 0206 - 013 2. 9th Regional of Animal welfare and Hygine office, muang, Songkhla, 90000 3. Narathivat Research and Technology Transfer Center, Takbai, Narathivat, 96000 4. Animal Husbandry Division, Department of Livestock Development , Bangkok, 10400
|