ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 74 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

663162
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
271
386
3266
653750
10579
30740
663162

Your IP: 3.135.220.208
2024-11-14 11:33

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

การเลี้ยงแกะของเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม ลักษณะการเลี้ยงจึงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าใจว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการลดต้นทุนการเลี้ยง อย่างไรก็ตามหากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนจากการเลี้ยงจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกอ่อนแอ อัตราการของลูกระยะก่อนหย่านมสูง เป็นต้น
ดังนั้น เกษตรกรผู้สนใจและคิดจะเริ่มเลี้ยงแกะ จึงควรให้ความเข้าใจการเลี้ยงอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกำไรจากการเลี้ยงสูงที่สุด

เป้าหมายการเลี้ยงแกะ
1.1 ข้อดีในการเลี้ยงแพะ
ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค
ขนาดตัวเล็ก ให้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย
ให้ผลผลิตเนื้อ หนัง ขน
1.2 เป้าหมายในการเลี้ยงแพะ
เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น โดย
ลดช่วงห่างการให้ลูกลง จาก 10-12 เดือน เป็น 7-8 เดือน ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์
เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง ดูแลการให้อาหารเพิเศษแก่แม่พันธุ์ 2 สัปดาห์ก่อนผสมพันธุ์
พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม

Sample Image


หลักการผสมพันธุ์ มีข้อแนะนำดังนี้
1. พ่อแม่พันธุ์คัดเลือกจากะที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ มีการเจริญเติบโตดี มีประวัติการให้ลูกแฝดสูง
2. ห้ามนำพ่อแม่มาผสมกับตัวลูกของมันเอง
3. ห้ามนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมาผสมกันเอง

พันธุ์แกะ
1) แกะพันธุ์คาทาดิน

กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นแกะเนื้อที่รัปบตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสิรมอาหารข้น ผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.1 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.

2) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส

เป็นแกะเนื้อ จำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ.2540 ขนาดใหญ่ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.

3) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี

เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู บอบตา และบิรเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 1.7 กก. ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต้ฒที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก.

4) แกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์

มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา

พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ
1. แกะมีนิสัยชอบเล็มหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน ต่างจากแพะ ซึ่งชอบปีน กินใบไม้ เปลือกไม้
2. แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่าแพะ
3. แพะสามารถปีน กระโดดข้าม หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้ ซึ่งแกะทำไม่ได้
4. แพะฉลาดกว่าแกะ หันหน้าเข้าสู้กับศัตรู ขณะที่แกะจะวิ่งหนีศัตรู ขี้ขลาด และแกะมักอยู่รวมกันเป็นฝูง
5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง อก และเครา แต่แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์
นิสัยการกินอาหารของแกะ
แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญาที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลัการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากถ้ากินในขณะพืชผักนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักนั้นมีน้ำมาก และควรระวังยาฆ่าแมลงที่ใช้ในส่วนพืชผักนั้นด้วย
แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดินต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่ยังเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดี เพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การดักหญ้ามนแต่ละครึ้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย
ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าที่สั้นตามหลัง
การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น ส่วนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศํยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้ แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในส่วนที่ผลไม้ร่วมหล่นมากๆ ในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก
พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม
แกะจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6-8 กม.
ปริมาณที่กินได้ 3-6% นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก 30 กก. จะกินหญ้าสดวันละ 3กก./ตัว)
แกะเลือกกินหญ้า 70% ไม้พุ่ม 30% แพะเลือกกินไม่พุ่ม 72% หญ้า 28%
ถ้าขัง จะกินน้ำวันละ 0.68 ลิตร/ตัว ปล่อยเลี้ยง 2 ลิตร/ตัว
ใช้เวลากินอาหาร 30% เคี้ยงเอื้อง 12% เดินทางหาอาหาร 12% และผักพ่อน 46%
การตัดใบไม้ให้กิน
1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆ ไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก
4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
5. ควรผูกกิ่งไม้กแขวนไว้เหนือพื้นเพื่อให้แกะได้เลือกกิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กิกนและให้ร่มเงา
7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน แปลงละ 4-5 สัปดาห์ เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจรพยาธิ
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่ายและตัดเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ
พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม

โรงเรือน ควรทำคอกให้อยู่ มีหลังคากันแดดและฝน ยกพื้นสูง เพื่อทำความสะอาดง่าย มีที่ใส่น้ำและอาหาร ความยาวรางอาหารมีพอให้แกะกินได้ครบทุกตัว และมีที่แบ่งกั้นเพื่อกันตัวอื่นที่แข็งแรงกว่าแย่งกินอาหาร และถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งกั้นคอกสำหรับเลี้ยงแกะโต แกะเล็ก แม่อุ้มท้อง แม่เลี้ยงลูก หรือคอกลูกแกะ
พื้นคอก ทำเป็นไม้ระแนง ในแกะโตมีความห่าง 1.5 ซ.ม. แกะเล็ก 1.3 ซ.ม. เพื่อให้มูลและปัสสาวะลงพื้นดิน พื้นคอกจะได้แห้งและสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันพยาธิที่อาจติดออกมากับมูลได้ และเก็บมูลใต้คอกใช้ทำปุ๋ยต่อไป
รูปแบบการทำความสะอาดพื้นคอก

Sample Image
พื้นดินเทปูนลาดเอียงทำความสะอาดง่าย

Sample Image
หรือ ใช้แผ่นพลาสติกรองรับของเสียลงถัง ปัสสาวะเพิ่มยูเรีย

การทำความสะอาดโรงเรือนประจำ

Sample Image
Sample Image


รั้ว กั้นแปลงหญ้า อาจทำจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่มีราคาถูก เช่น ไม้รวก หรืออวนจับปลา
อุปกรณ์ ควรมีมีดหรือกรรไกรตัดแต่งกีบ เพื่อป้องกันโรคกีบเน่า เขี่ยสิ่งสกปรกที่ซอกออก ตัดส่วนที่งอกเกินออก ตัดให้ได้รูปกีบที่ถูกต้อง ควรหมั่นตรวจกีบแกะสม่ำเสมอ (ตัดกีบเดือนละครั้ง) โดยเฉพาะแกะที่เลี้ยงขังคอกตลอดเวลา อาจวางก้อนหินใหญ่ไว้ในคอก 
ลักษณะกีบที่ดี แข็งแรง สูงเสมอกัน ไม่ผิดรูป ผิวเรียบ ไม่มีรอยฉีกแตกหรือมีสิ่งหมักหมม
การจัดการเลี้ยงดู
ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (ระยะการเป็นสัด)
แกะเริ่มวัยเจริญพันธู์เมื่ออายุ 3-4 เดือน ตัวเมียจะเป็นสัดยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้ ควรแยกลูกตัวเมียออกไปเลี้ยงเฉพาะในคอกตัวเมีย และจะให้ผสมพันธุ์กันเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อให้พ่อแม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้ตัวแม่ไม่พร้อมและเลี้ยงลูก น้ำนมน้อย ลูกที่เกิดอาจตัวเล็ก แคระแกรน และอ่อนแอตายได้

ลักษณะการเป็นสัดของแม่แกะ สังเกตดูได้จาก
-  อวัยวะเพศบวมแดง ชุ่มชื้น และอุ่น
-  กระดิกหางบ่อยขึ้น
-  จะยืนเงียบเมื่อตัวผู้หรือตัวอื่นมายืนประกบติด
-  ไม่ค่อยอยู่สุขกระวนกระวาย และไม่อยากอาหาร
แม่แกะมีวงรอบการเป็นสัดทุก 17 วัน ส่วนต่าง 2 วัน แม่แพะมีวงรอบการเป็นสัดทุก 21 วัน ส่วนต่าง 2 วัน
ช่วงการผสมพันธุ์
เมื่อเห็นแม่แกะเป็นสัดแล้ว ระยะที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากที่เห็นอาการการเป็นสัด
อัตราส่วนผสม
-  พ่อหนุ่ม 1 ตัว ต่อแม่ 10-15 ตัว
-  พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่ 20-30 ตัว

ข้อแนะนำ
1. ไม่ควรนำพ่อผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดขึ้นตัวเล็กลง ไม่สมบูรณ์ หรือลักษณะที่ไม่ดี พิการออกมา
2. ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ทุก 12 เดือน (แลกหรือขอยืมระหว่างฟาร์ม/หมู่บ้าน)
3. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติด 2 ครั้งออกไป
4. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกไว้ในคอกต่างหาก เพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น
ช่วงการอุ้มท้อง (ระยะอุ้มท้อง 150 วัน)
สังเกตดูว่าแม่แกะอุ้มท้อง หรือโดย
- ไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว 17-21 วัน
- ท้องขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
- เต้านมและหัวนมขยายใหญ่ขึ้นจากเดิม

ช่วงระยะอุ้มท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5 กก. ดังนั้นควรเสริมหญ้า ถั่ว หรือพืชตระกูลถั่วต่างๆ และเสริมอาหาร รำข้าว กากถั่วเหลือง หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แอ้ข้าวโพด และควรมีน้ำสะอาดวางให้กินเต็มที่ และคอกเลี้ยงควรแห้ง สะอาด พื้นคอกแข็งแรง ไม้ระแนงไม่ผุพัง เพื่อป้องกันการแท้งลูก
ช่วงการคลอดลูก
ลักษณะอาการใกล้คลอดลูกของแม่แกะ สังเกตจาก
- ตะโพกเริ่มขยาย หลังแอ่นลง (เพราะท้องหนักขึ้น)
- เต้านมขยายใหญ่มากขึ้นและหัวนมแต่ง
- อวัยวะเพศบวมแดง และชุ่มชื้น
- จะไม่นอน แต่ลุกขึ้น เอาเท้าตะกุยพื้นคอก
- ความอยากอาหารลดลง 

การเตรียมตัวก่อนแม่คลอดลูก

การเลี้ยงดูลูกช่วงการหย่านม
-    ควรดูแลเรื่องความสะอาดทั้งอาหารและพื้นคอก ป้องกันลูกขี้ไหล
-    ควรให้ลูกได้หัดกินหญ้าและอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์
-    ลูกที่หย่านมแล้ว ลูกตัวเมียตวรเลี้นงแยกออกจากตัวผู้ เพื่อป้องกันการผสมกันเอง เนื่องจากแกะเป็นสัดเร็วในช่วง 4-6 เดือน หากปล่อยให้ผสมกันเองตั้งแต่เล็กจะทำให้แคระแกรนและลูกอ่อนแอตาย

- ควรหาคอกที่สะอาด และพื้นไม่ชื้นแฉะ
- ควรมีฟางแห้งรองพื้นให้ความอบอุ่นลูก ช่วงกลางคืน หรือฤดูหนาว ควรมีไฟกกลูก
- พื้นระแนงที่เลี้ยงลูกควรมีช่องห่างไม่เกิน 1.3 ซ.ม.
- ควรมีทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผลที่ตัดสายสะดือ
ท่าคลอดปกติ ลูกจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้างออก หรืออาจจะเอาเท้าหลังทั้ง 2 ข้าง

ท่าคลอดผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียว อีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก

ปกติลูกควรจะออกจากท้องแม่ใน 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากที่ถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว และรกควรออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง เมื่อลูกออกมาปล่อยให้แม่เลียลูกให้ตัวแห้งหรืออาจช่วยเช็ดตัวลูก และตัดสายสะดือ ทาทิงเจอร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดยาก เพราะ
-  ลูกคลอดท่าผิดปกติ
-  แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป
-  ลูกตัวใหญ่เกินไป
-  ลูกตายในท้องแม่
-  แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ

การช่วยการคลอด หากลูกคลอดผิดท่า หลังจากปล่อยให้แม่คลอดลูกเองแล้ว ใน 1 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมา ควรให้ความช่วยเหลือ โดย
-  ตัดเล็บมือให้สั้น ลับคมออก ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
-  ล้างบริเวณอวัยวะเพศ/ด้านท้ายให้สะอาดด้วยสบู่
-  ให้ผู้ช่วยค่อยๆ จับแม่แกะวางนอนลงทางด้านขวาตัวแม่ทับพื้น จับบริเวณคอ
-  ค่อยๆ ใช้มือล้วงเข้าไปในอวัยวะเพศ
-  สัมผัสลูก ให้รู้ตำแหน่งหัวหรือเท้า แล้วจึงดึงเท้าให้ออกมาทั้ง2 ข้าง ในท่าที่ถูกต้องช้าๆ
-  เมื่อลูกออกมาแล้ว เช็ดเมือกบริเวณปากจมูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกหายใจแล้วปล่อยให้แม่เลียตัวลูก
-  กรณีอื่น ที่ไม่สามารถช่วยคลอดได้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

แม่แกะจะเริ่มกลับเป็นสัดอีกครั้ง หลังจากที่คลอดลูกแล้วประมาณ 35-45 วัน ดังนั้น จึงควรระวังหากแม่ยังไม่สมบูรณ์พอ เช่น ต้องเลี้ยงลูกแฝด ควรให้ผสมใหม่เมื่อแม่หย่านมลูกแล้วและมีความพร้อมสมบูรณ์ ถ้าแม่ให้ลูกตัวเดียว สามารถผสมได้เลยเมื่อเป็นสัด
การเลี้ยงดูลูกช่วงแรกคลอด
ควรให้ลูกได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่ทันที ถ้าหากลูกอ่อนแอ อาจรีดนมแม่ใส่ขวดหรือหลอดฉีดยาแล้วนำมาป้อนลูกด้วยตนเอง
หากแม่ไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก หรืแม่ตาย อาจใช้นมน้ำเหลืองเทียม ทำขึ้นเองโดยใช้ส่วนผสม ดังนี้
-   นมวัว หรือนมผง 0.25-0.5 ลิตร
-   น้ำนมตับปลา 1 ช้อนชา
-   ไข่ไก่ 1 ฟอง
-   น้ำตาล 1 ช้อนชา
ผสมละลายให้เข้ากันและอุ่นนมที่อุณหภูมิ 60 องศา ป้อนให้ลูกดูดกิน 3-4 วันๆ ละ 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นฝากแม่ตัวอื่นเลี้ยง ซึ่งต้องคอยดูแม่ ยอมรับเลี้ยงรับเลี้ยงลูกกำพร้าหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับอาจใช้ยาหม่องหรือของที่มีกลิ่นฉุนป้ายจมูกแม่ หรือใช้เชื่อกผูกคอแม่เพื่อไม่ให้เห็นลูกกำลังดูดนม