การนำออกซากสัตว์ Twitter การดำเนินการล่วงหน้า ผู้ขออนุญาตนำซากสัตว์ไปยังประเทศใด ให้ติดต่อกับประเทศนั้น เพื่อขอทราบเงื่อนไข (Requirement) การนำซากสัตว์เข้าประเทศนั้น ผู้ขออนุญาตฯนำเงื่อนไข (Requirement) ที่ได้รับมาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออก ที่จะนำซากสัตว์ออกเพื่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะได้ดำเนินการตรวจสอบโรคระบาดสัตว์ ตรวจสอบแหล่งที่มาของซากสัตว์และอื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่ประเทศปลายทางกำหนด ให้ถูกต้องเรียบร้อยตามความประสงค์ของประเทศปลายทางนั้น ผู้ขออนุญาตฯ ยื่นคำร้องขอนำซากสัตว์ออกนอกประเทศด้วยตนเองไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนนำออก ตามแบบฟอร์มที่กรมปศุสัตว์ กำหนด ณ ด่านกักกันสัตว์ ระหว่างประเทศประจำท่าออกนั้น พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว หากไม่สามารถติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย ในกรณีที่ซากสัตว์จะนำออก ได้รับการตรวจสอบจากนักวิชาการสัตวแพทย์แล้ว ให้ผู้ขออนุญาตนำหลักฐานการตรวจสอบ ทดสอบโรคมาแสดงประกอบขณะยื่นคำร้องต่อสัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ เพื่อพิจารณาอนุญาตนำออกราชอาณาจักรด้วย ผู้ขออนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการค้า ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำการค้าสัตว์ (แบบ ร.10) ตามแบบฟอร์ม ของกรมปศุสัตว์และแนบใบแสดงราคาซากสัตว์มาด้วยทุกครั้ง ผู้ขออนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต้องเขียนชื่อผู้ส่งออกและผู้รับปลายทางเป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตรงกับเอกสาร ต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือเดินทาง เพื่อเจ้าหน้าที่ใช้ประกอบในการพิจารณาออกใบรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ (Health Certificate) การดำเนินการช่วงนำออก เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกหนังสือใบอนุญาตนำออกฯ (แบบ ร.9) และหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ (Health Certificate) ฉบับภาษาอังกฤษให้ ผู้ขออนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ขออนุญาตนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ (ท่าเข้า) ของประเทศปลายทาง ผู้ขออนุญาตนำออกต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน หรือเจ้าหน้าทีเรือสินค้า และเจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วยตนเอง โดยนำเอกสารหนังสือใบอนุญาต (แบบ ร.9) ของกรมปศุสัตว์ไปแสดง ผู้นำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำออกฯ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ก่อนหน้า ต่อไป