ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 169 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

663563
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
170
502
3667
653750
10980
30740
663563

Your IP: 52.15.57.186
2024-11-15 07:58

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

alligator1853408 full

จระเข้และตะโขงที่พบในประเทศไทย

1. จระเข้น้ำจืดหรือจระเข้พันธุ์ไทย (Freshwater or Siamese Crocodile, Crocodylus siamensis)

ถิ่นกำเนิด เวียดนาม เขมร ลาว ไทย กะลิมันตัน ชวา และมีในสุมาตรา
ลักษณะ เป็นจระเข้ขนาดปานกลาง ค่อนมาทางใหญ่ (3-4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด
ชีววิทยา
  • จระเข้ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10-12 ปี
  • วางไข่ครั้งละ 20-48 ฟอง
  • ระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เฉลี่ยราว 80 วัน
  • ดุพอสมควร
  • ชอบอยู่และหากินเดี่ยว
  • 2. จระเข้น้ำเค็มหรือจระเข้ปากแม่น้ำ (Saltwater or Esturine Crocodile, Crocodylus porosus)
    ถิ่นกำเนิด ศรีลังกา ตะวันออกของอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ชอบอยู่ตามปากแม่น้ำที่เปิดออกทะเลและป่าชายเลน
    ลักษณะ เป็นจระเข้ขนาดใหญ่ที่สุด มีรายงานพบว่า ยาวถึง 9 เมตร ไม่มีเกล็ดท้ายทอย
    ชีววิทยา
  • เพศผู้ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี หรือยาวประมาณ 3.2 เมตร ส่วนเพศเมียคือ 10 ปี และ 2.2 เมตร ตามลำดับ
  • วางไข่ฤดูฝน ครั้งละ 25-90 ฟอง เฉลี่ย 50 ฟอง
  • ระยะเวลาฟักไข่นาน 80 วัน
  • มีนิสัยดุร้าย ไม่ชอบอยู่เป็นฝูง
  •  
    2. ตะโขงหรือตะโขงมลายู (False Gharial หรือ Malayan Gharial, Tomistoma shlegelii)
    ถิ่นกำเนิด ตอนใต้ของประเทศไทยและในคาบสมุทรมลายู สุมาตรา กะลิมันตันและบอร์เนียว อาศัยตามน้ำกร่อย และป่าชายเลน
    ลักษณะ ขนาดปานกลาง ความยาวประมาณ 2.80-3.0 เมตร ปากแหลมเรียวยาวมาก แต่ไม่มีก้อนเนื้อตอนปลายจมูก เช่น ตะโขงอินเดีย มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวและหาง
    ชีววิทยา
  • ตะโขงเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 5-6 ปี หรือความยาว 2.5-3.0 เมตร
  • ทำรังโดยพูนดินและวัชพืชขึ้นบนชายฝั่ง
  • วางไข่ครั้งละ 20-60 ฟอง ในฤดูแล้ง
  • ระยะฟักไข่ราว 2.5-3 เดือน ออกเป็นตัวประมาณต้นฤดูฝน
  • การขยายพันธุ์ในที่กักขังหรือเพาะเลี้ยงยังไม่ประสบความสำเร็จ
  •       จระเข้ที่ใช้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
            จระเข้ที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือ
            1. จระเข้น้ำจืด หรือ จระเข้พันธุ์ไทย
            2. จระเข้น้ำเค็ม หรือ จระเข้ตีนเป็ด หรือไอ้เคี่ยม
            สำหรับประเทศไทยแล้วนิยมเลี้ยงจระเข้น้ำจืด หรือจระเข้พันธุ์ไทยมากกว่าจระเข้น้ำเค็ม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้
            1. พันธุ์จระเข้น้ำจืดหาง่ายกว่าพันธุ์จระเข้น้ำเค็ม ทั้งนี้เพราะมีฟาร์มที่เลี้ยงขายลูกจระเข้น้ำจืดอยู่หลายแห่ง
            2. จระเข้น้ำจืดเลี้ยงให้ลูกเร็วกกว่า คือ เริ่มเมื่ออายุ 10-12 ปี ส่วนจระเข้น้ำเค็มจะเริ่มเจริญพันธุ์ในตัวผู้เมื่ออายุ 16 ปี และตัวเมียที่
                 อายุ 10 ปี
            3. มีการนำลูกจระเข้น้ำจืดจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเลี้ยง จึงนับเป็นอีกแหล่งที่คอยสนับสนุนเรื่องพันธุ์มากขึ้น
            4. ผู้คนเชื่อว่าจระเข้น้ำเค็มต้องเลี้ยงด้วยน้ำเค็มเท่านั้นจึงหันมาเลี้ยงพันธุ์น้ำจืดซึ่งหาแหล่งน้ำง่ายกว่า แต่ความเป็นจริงแล้วจระเข้
                น้ำเค็มสามารถเลี้ยงได้ในเป็นอย่างดีในน้ำจืด
            5. พ่อแม่พันธุ์จระเข้น้ำเค็มมีน้อย ทั้งนี้เพราะในอดีถูกล่าและส่งหนังออกขายยังต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากตลาดโลกนิยม
                 หนังจระเข้พันธุ์น้ำเค็มมาก

    การสืบพันธุ์ของจระเข้

    จระเข้เพศเมีย อวัยวะสืบพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

    1. รังไข่
      รังไข่จระเข้มีจำนวน 2 อัน รูปร่างรีและแบนสีขาว เนื้อค่อนข้างแน่นแข็ง ติดอยู่ใกล้กับไตทั้ง 2 ข้าง โดยแขวนลอยใต้กระดูกสันหลังส่วนเอว เมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์ รังไข่จะขยายตัวและมีถุงไข่อ่อนอยู่บนผิวเป็นจำนวนมาก
    2. ท่อนำไข่
      ท่อนำไข่ของจระเข้ ได้แก่ ส่วนที่เห็นเป็นท่อแบนๆ รูปตัววาย (Y) แยกเป็น 2 ปีก ัถัดจากรังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่จะเปิดออกสู่บริเวณช่องขับถ่ายร่วม ด้านล่างของลำตัวตรงตำแหน่งโคนหางของจระเข้

    จระเข้เพศผู้ อวัยวะสืบพันธุ์ แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

    1. อัณฑะ
      อัณฑะของจระเข้มีจำนวน 2 อัน อยู่ในช่องท้องบริเวณใกล้กับไตซึ่งติดอยู่ด้านหลัง มีหน้าที่ผลิตน้ำเชื้อ (อสุจิ)
    2. ท่อนำน้ำเชื้อ
      เป็นท่อที่ต่อจากอัณฑะมายังอวัยวะเพศในช่องขับถ่ายร่วม ทำหน้าที่เป็นทางขนส่งน้ำเชื้อจากอัณฑะเพื่อออกผ่านทางอวัยวะเพศขณะผสมพันธุ์
    3. อวัยวะเพศผู้
      มีลักษณะเป็นแท่งยาวปลายแหลมขยายออกเล็กน้อย โดยมีรอยคอดก่อนถึงส่วนขยาย มีร่องเปิดด้านบน เพื่อให้น้ำเชื้อซึ่งผ่านมาจากท่อนำน้ำเชื้อไหลออกขณะทำการผสมพันธุ์ โดยปกติแล้วอวัยวะเพศผู้จะพับซ่อนตัวอย่างในช่องขับถ่ายร่วม และจะโผล่ออกมาเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น

    สรีรวิทยาการสืบพันธุ์

    จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย มีฤดูผสมพันธุ์ราวเดือนพฤศจิกายน โดยจระเข้เพศเมียจะถึงวัยเจริญพันธุ์ที่อายุระหว่าง 7 ถึง 11 ปี (เฉลี่ยราว 9-10 ปี) ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์คือ

     

    รังไข่ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีการสร้างไข่ซึ่งอยู่ภายในถุงไข่ ขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ จำนวนมากบนรังไข่ทำให้ดูว่ารังไข่เหมือนพวงองุ่น เริ่มขยายตัวและมีไข่เกิดขึ้นประมาณ 8-12 ฟองต่อหนึ่งข้าง

     

    เมื่อจระเข้ทำการผสมพันธุ์กันแล้วไข่ที่ตกจากรังไข่ลงมาอยู่ในท่อนำไข่ซึ่ง ณ จุดนี้ เชื้อจากจระเข้เพศผู้ที่เข้ามาผท่านทางอวัยวะเพศของตัวเมียเคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ทั้งสองข้าง ทันทีที่ไข่สุกตกมาพบตัวเชื้อก็จะเกิดการปฏิสนธิขึ้น ซึ่งไขที่ผสมแล้วเหล่านี้จะคงอยู่ในท่อนำไข่ทั้งซ้ายขวาตลอดไปจนถึงระยะเวลาวางไข่ จากนั้นจะมีการพัฒนาไข่ขาวออกมาห้อมล้อมไข่และในระยะสุดท้ายจึงมีการพัฒนาเปลือกไข่ห่อหุ้มชั้นนอกสุด ขณะเดียวกันตัวอ่อนของจระเข้ก็เริ่มมีการพัฒนาตัวโดยการแบ่งเซลล์ขึ้นมา จากการศึกษาพบว่าน้ำเชื้อของจระเข้เพศผู้สามารถเข้าไปรอการตกไข่ของตัวเมียในรังไข่ได้นานตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง แม่จระเข้ที่ตั้งท้องแล้วจะเริ่มหาและทำการพูนดินตลอดจนวัสดุต่างๆ เป็นรัง โดยจะวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม และเมษายน

     

    ทันทีที่ไข่ออกมาจากตัวแม่จระเข้แล้ว ตัวอ่อนภายในไข่จะขยับตำแหน่งมาอยู่บริเวณที่สูงสุดหรือเหนือสุดของไข่แดงไม่จมอยู่ด้านล่างหรือทางต่ำ ซึ่งจะคงอยู่ ณ ตำแหน่งนี้ตลอดไป ขณะที่ฟักไข่นั้นจะไม่มีการขยับตัวเลย

     

    ไข่จระเข้ที่ออกมาใหม่ๆ จะมีเปลือกที่ค่อนข้างโปร่งแสง แต่ภายในวันเดียวจะพบว่ามีแถบสีขาวทึงแสงผ่านบริเวณเหนือตำแหน่งที่ตัวอ่อนอยู่แล้วค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นแนวโอบลงมา 2 ข้างของไข่

     

    ระยะก่อนฟักออกเป็นตัวเปลือกแข่จะค่อนข้างบางลงกว่าเดิม ทั้งนี้เนื่องจากมีการดึงแคลเซี่ยมจากเปลือกไข่ไปใช้พัฒนาโครงสร้างของจระเข้ ด้วยสาเหตุนี้ลูกจระเข้จึงสามารถเจาะเปลือกไข่ออกมาได้ง่ายขึ้น และก็ยังมีอวัยวะช่วยเจาะเปลือกอีกอันหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ฟันเจาะไข่" เป็นอวัยวะที่งอกออกมาจากผิวหนังบริเวณเหนือปาก ใช้เจาะเปลือกไข่ให้เป็นรู จากนั้นอวัยวะนี้ก็จะหายไปในภายหลัง

    การกำหนดเพศของจระเข้   
               จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีการกำหนดเพศในระยะเป็นตัวอ่อนด้วยอุณหภูมิ จากการทดลองและวิจัยพบว่า ถ้าอุณหภูมิฟักไข่ที่ 30 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ลูกจระเข้ที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็นเพศเมีย หากอยู่ระยะหว่าง 32 ถึง 33 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะเป็นเพศผู้ แต่ถ้าประมาณ 31 องศาเซลเซียสแล้ว ปริมาณลูกจระเข้ที่ออกมาจะมีสัดส่วนเพศผู้และเพศเมียเท่าๆ กัน