ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 25 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

716272
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
49
1690
3906
700671
8253
35794
716272

Your IP: 3.145.55.25
2025-01-08 02:53

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

paraการเมล็ดยางพารา แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดกะเทาะเปลือกและไม่กะเทาะเปลือก ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างกัน ส่วนของเมล็ดยางที่ผ่านการอัดน้ำมันหรือสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี มีกลิ่นหอมชวนกิน ชนิดกระเทาะเปลือกออกมีคุณค่าทางอาหารดีกว่า และคุณสมบัติใกล้เคียงกับกากถั่วลิสง และกากเมล็ดฝ้าย มีโปรตีน 28-30% เยื่อใย 9% และยอดโภชนะย่อยได้ 63% และชนิดไม่กะเทาะเปลือกมีโปรตีน 16% เยือใย 42% และยอดโภชนะย่อยได้ประมาณ 58% เนื่องจากกากเมล็ดยางพารามีสารพิษ คือ กรดไฮโดรไซยานิคอยู่ซึ่งสามารถทำให้ปริมาณสารพิษนี้ลดได้โดยการเก็บกากเมล็ดยางพาราทิ้งไว้เฉยๆ นาน 1 เดือน หรือนำไปอบด้วยความร้อน 100 องศาเซนติเกรด นาน 18 ชั่วโมง หรือผึ่งกลางแดดดีๆ เป็นเวลา 2 แดด จากการทดลองใช้กากเนื้อในเมล็ดยางพาราในสูตรอาหารข้นสำหรับเลี้ยงแพะ พบว่า สามารถใช้ได้ถึง 20 % แต่ถ้าใช้มากกว่านี้ส่งผลให้ปริมาณการกินได้ และการย่อยได้ของ

เนื้อเยื่อใยในอาหารโดยรวมลดลง (Chanjula et al.,2011)

  

 

 

para1

กากเมล็ดยางพารา (Para rubber seed meal)
เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดยางพาราของโรงงานผลิตน้ำมันพืช

 

คุณสมบัติ

 

กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือกมีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์
กากเมล็ดยางพาราชนิดกระเทาะเปลือก มีโปรตีน 26-29 เปอร์เซ็นต์
โปรตีนในกากเมล็ดยางพารามีคุณภาพใกล้เคียงกับกากถั่วลิสง เนื่องจากมีกรดอะมิโน
เมทไธโอนีนต่ำ แต่มีไลซีนสูง

ข้อจำกัดในการใช้

กากเมล็ดยางพารามีสารพิษกรดไฮโดรไซยานิค เช่นเดียวกับในมันสำปะหลังสดถ้าใช้มากในสูตรอาหารจะทำให้สัตว์โตช้า
กากเมล็ดยางพาราที่มีเปลือกมีเยื่อใยสูง

ข้อแนะนำในการใช้

ควรใช้กากเมล็ดยางพาราที่ผ่านขั้นตอนการลดสารพิษดังกล่าวโดยวิธีการ เช่นใช้กากเมล็ดยางพาราที่ได้จากการเก็บเมล็ดสดไว้เป็นเวลานานก่อนนำมาบีบน้ำมันหรือ การให้ความร้อนแก่เมล็ดยางพาราก่อนบีบน้ำมัน

ควรใช้กากเมล็ดยางพาราระดับต่ำในสูตรอาหาร คือ 10% ในสัตว์เล็ก และ 20-30% ในสัตว์ระยะรุ่น-ขุน และต้องเสริมไขมันหรือปรับระดับพลังงานให้พอเพียงด้วย

 

ส่วนประกอบทางเคมี

                

ส่วนประกอบ (%)

กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก

กากเมล็ดยางพาราชนิดกระเทาะเปลือก

ความชื้น

8

8

โปรตีน

16

27.0

ไขมัน

6.33

11.5

เยื่อใย

41.52

14.0

เถ้า

4.01

4.50

แคลเซียม

0.22

0.13

ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้

0.09

0.20

พลังงานใช้ประโยชน์ได้(กิโลแคลอรี่/กก.)

ในสุกร

1,800

2,400

ในสัตว์ปีก

1,800

2,550

กรดอะมิโน (%)

ไลซีน

0.32

0.65

เมทไธโอนีน

0.06

0.22

เมทไธโอนีน + ซีสตีน

0.22

-

ทริปโตเฟน

-

0.33

ทรีโอนีน

0.42

0.62

ไอโซลูซีน

0.44

0.68

อาร์จินีน

1.53

1.85

ลูซีน

0.91

1.39

เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน

0.86

0.76

อิสติดีน

0.47

0.51

เวลีน

0.84

1.36

ไกลซีน

0.77

-