ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดในงาน ของดีนราธิวาส ประจำปี 2562
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 9.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมร...

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 231 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

492972
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
204
757
3273
483292
17414
15863
492972

Your IP: 3.90.255.22
2024-03-29 06:42

goat1

           บทนำ " เกษตรกรคนหนึ่ง มีความต้องการทำการเกษตรอย่างหนึ่งโดยไม่ให้ความสนใจกับชุมชนรอบข้าง โอกาสที่ทำให้ชุมชนเจริญเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเกษตรกรในชุมชนมีความต้องการทำการเกษตรโดยผ่านความเห็นชอบและความต้องการของชุมชนเป็นหลัก โอกาสที่ทำให้ชุมชนนั้นเจริญเป็นไปได้มาก "

               การเลี้ยงแพะของเกษตรกรรายย่อยโดยทั่วๆไปต่างคนต่างเลี้ยง จุดประสงค์ในการเลี้ยงขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน เช่น เพื่อเป็น อาชีพเสริม , บริโภค , ทำพิธีทางศาสนา , งานอดิเรก , ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อต้องการที่จะได้เพื่อนร่วมอาชีพ เพิ่มขึ้น การเลี้ยงแพะโดยทั่วไปทุกคนจะพบเจอปัญหากันบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อเจอปัญหาก็ต้องหาคนที่มีความรู้เข้ามาช่วยแก้ไข เช่น เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือบุคคลที่เคยเลี้ยงแพะมาก่อน เมื่อมาพูดคุยกันบ่อยๆก็จะรู้ถึงความต้องการของแต่ละคน ทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม กลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา ก็เช่นกัน เริ่มจากมีเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงแพะของอำเภอเทพาที่มีอยู่กระจัดกระจายทั้งผู้นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม พบปะพูดคุยด้านการเลี้ยงแพะกัน มีการรวมกลุ่มกันเองตามธรรมชาติ ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ มีการพบปะพูดคุยกันเมื่อหลาย ๆ ครั้งจึงมีการนัดประชุมเพื่อวางกฎเกณฑ์ของกลุ่มขึ้น โดยมีการนัดประชุมครั้งแรกเมื่อ 27 กันยายน 2543 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเปลี่ยนของรูปแบบและวิธีการเลี้ยงแพะของเกษตรกรอำเภอเทพา ซึ่งทางกลุ่มได้เชิญเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ (นายจิระศักดิ์ อรุโณทัยสกุล ปศุสัตว์อำเภอเทพาและ นายสุชาติ ตุลยกุล เจ้าพนักงานสัตวบาล) เข้าร่วมประชุมเพื่อเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม มีการระดมความคิดหาแนวทางพัฒนากลุ่ม จากที่ประชุม สมาชิกได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และระเบียบของกลุ่มชัดเจน นัดประชุมกันทุกวันพุธแรกของทุกเดือน พร้อมทั้งสมาชิกได้เสนอชื่อกลุ่มว่า กลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา การดำเนินกิจกรรมกลุ่มทุกแห่งจะมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากลุ่มแบบยั่งยืน กลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา ก็ได้วางเป้าหมายนี้ไว้เช่นกัน โดยยึดดั่ง



คำว่า สมาชิกทุกคนมีความสนใจร่วมมีผลตอบแทนร่วม

กลุ่มวางกรอบระเบียบชัดเจน ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ เสริมอย่างต่อเนื่อง

เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับกลุ่มและเพื่อนสมาชิก

 

goat

 

 


ระเบียบกลุ่มและกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ที่เป็นหัวใจหลักมีดังนี้


  •        การประชุมกลุ่มทุกวันพุธแรกของทุกเดือน เป็นการประชุมสัญจรเพื่อไปเยี่ยมเยืยนบ้านเพื่อนสมาชิกเดือนละหนึ่งราย ใครขาดประชุมจะต้องถูกเสียเงินค่าปรับครั้งละ 50 บาท ต่อคน จะหยุดประชุมกลุ่มต่อเมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น เดือนรอมฎอล (ช่วงถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม) พร้อมกับดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมดังนี้
         - การลงแขกทำงานร่วมกัน ให้กับเพื่อสมาชิกที่เป็นเจ้าของบ้านที่ใช้ประชุมในแต่ละครั้ง เช่น ร่วมกันสร้างคอกแพะ การพัฒนาแปลงหญ้าและช่วยดูแลสุขภาพแพะในฟาร์ม
         - การประชุมกลุ่ม เพื่อรับทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่ม สอบถามปัญหาอุปสรรคพร้อมทั้งหา วิธีแก้ไข และสอบถามความก้าวหน้าของสมาชิกกลุ่ม
         - การฝากเงิน 
         - กู้เงินออมทรัพย์ ของสมาชิกกลุ่ม
         - รับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อนสมาชิกที่เป็นเจ้าของบ้านเป็นคนจัดการด้านอาหาร เพื่อเลี้ยงสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นการสร้างความสมานสามัคคีให้เกิดกับสมาชิกกลุ่ม สมาชิกสามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้ง ผู้นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม เสมือนเป็นญาติพี่น้องกัน
         - นัดหมายสถานที่เพื่อจัดประชุมสัญจรเดือนต่อไป เป็นที่ชัดเจน 
         - กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ แม้นกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพาจะมีสมาชิกกลุ่มเพียง 10 คน แต่กลุ่มได้ตระหนักถึงแหล่งเงินทุนของสมาชิกกลุ่ม จึงให้สมาชิกทุกคนมีการออมทรัพย์เดือนละ 100 บาท เมื่อมีเงินออมทรัพย์ได้เกิน 10,000 บาท ก็เริ่มเปิดโอกาสให้สมาชิกได้กู้เงิน โดยให้กู้รายละไม่เกิน 3,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 15 บาท/ปี (มีการปันผลคืนแบบระบบสหกรณ์) เมื่อมีเงินสะสมเกิน 15,000 บาท เริ่มให้สมาชิกกู้ยืมได้รายละไม่เกิน 5,000 บาท กำหนดส่งคืนกลับไม่เกิน 10 เดือนส่งเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ปัจจุบันกลุ่มมีเงินออมทรัพย์สะสมประมาณ 30,000 บาท สมาชิกมีการกู้ยืมเงินไปแล้ว 11 ครั้งจำนวน 8 ราย เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท จากการระดมเงินทุนออมทรัพย์นี้ทำให้สามารถช่วยเหลือสมาชิกได้มีโอกาสขยายกิจการฟาร์มเลี้ยงแพะให้มีขนาดใหญ่โตขึ้นไม่ต้องไปหยิบยืมเงินกู้จากเงินนอกระบบอื่น ๆ ปัจจุบันการคิดอัตราดอกเบี้ยหรือเงินบำรุงกลุ่มได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ เพื่อให้ตรงตามหลักศาสนาอิสลามและเรื่องความสะดวกในการคิด ก็ได้เปลี่ยนเป็น กู้ 5,000 บาท ให้หักเงินบำรุงกลุ่มไว้ 500 บาท เงินบำรุงกลุ่ม เมื่อสิ้นปีก็มี การปันผลกลับ คืนให้กับผู้กู้ 40 % ปันผลให้กับสมาชิกกลุ่มทุกคน 40 % ที่เหลือเอาเข้ากลุ่มเพื่อใช้ใน กิจกรรมกลุ่ม 20 % 
         - ขอรับการสนับสนุนจากส่วนราชการอื่น ๆ ดังนี้
         - สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเทพา สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มปรับปรุงพันธุ์แพะ โดยกรมปศุสัตว์สนับสนุนเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนให้กับกลุ่มเป็นเงิน 91,180 บาท สามารถจำแนกเป็นมูลค่าที่สมาชิกได้รับต่อราย ดังนี้
- ค่าแพะพ่อพันธุ์ 1 ตัว แพะแม่พันธุ์ 3 ตัว
- ค่าอาหารข้นระยะปรับตัว
- ค่ายาถ่ายพยาธิและวัคซีน
- ค่าแร่ธาตุก้อน


เป็นเงิน 8,000 บาท
เป็นเงิน 780 บาท
เป็นเงิน 138 บาท
เป็นเงิน 200 บาท
------------------------------
รวมเป็นเงิน รายละ 9,118 บาท

พร้อมส่งสมาชิกเข้าร่วมการฝึกอบรมเรื่องการเลี้ยงแพะ ที่ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาปศุสัตว์เขต 9
     - นิคมปกครองสร้างตนเองเทพา อ.เทพา จ.สงขลา สนับสนุนแม่พันธุ์แพะ เพื่อให้สมาชิกยืมเลี้ยงจำนวน 10 ตัว 
     - องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้กลุ่มจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาสัตว์ อาหารสัตว์ มาไว้บริการสมาชิกกลุ่มจำนวน 20,000 บาท
     - ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเทพา จ.สงขลา สนับสนุนการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นหลักสูตร การเลี้ยงดูและรักษาโรคแพะ แก่สมาชิก พร้อมสนับสนุนเวชภัณฑ์ มูลค่า 4,000 บาท
     - งานเลี้ยงสรรค์ประจำปี ของสมาชิกทุกกลุ่ม ปีละครั้ง วันที่ 9 มกราคม ของทุกปี เป็นการเลี้ยงร่วมกับงานปีใหม่ สมาชิกทุกคนและแขกผู้มีเกียรตินำอาหารมารับประทานร่วมกัน เก็บเงินคนละเท่า ๆ กันเพื่อนำไปซื้อของขวัญแล้วมาจับรางวัลกัน พร้อมทั้งจัดการละเล่น นันทนาการ ของสมาชิกทุก ๆ กลุ่ม
     - จัดงานหาเงินเข้ากลุ่ม (กินน้ำชา) โดยสมาชิกร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานดังกล่าว ซึ่งผลจากการ จัดงานได้รับเงินก็เอาสมทบสร้างที่ทำการกลุ่ม สมาชิกลงแรงร่วมกัน ที่ทำการกลุ่มปัจจุบันก็สร้างเสร็จ เกือบ 100 % ซึ่งเหรัญญิกกลุ่ม (จสอ. สว่าง สังข์น้อย) ได้ให้สถานที่และทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในการ ก่อสร้างที่ทำการกลุ่ม

ทุนสนับสนุนกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา
หน่วยงาน
เงิน (บาท)
เงินออมทรัพย์ของสมาชิก
30,000
กรมปศุสัตว์
91,180
นิคมปกครองสร้างตนเองอำเภอเทพา จ.สงขลา
20,000
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา
20,000
ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเทพา จ.สงขลา
(พร้อมค่าวิทยากรที่บริจาคให้กลุ่ม)
9,600
                                                                               รวม 170,780
ที่มา : กลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา 15 มีนาคม 2546
  •  ระบบการบริหารกลุ่มแบบเครือข่าย
    การบริหารกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา ถึงแม้นมีสมาชิกเพียง 10 คน แต่ยึดถือกระบวนการกลุ่ม เป็นหลัก มีการขอมติกลุ่มเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ยึดหลักประชาธิปไตย เพื่อให้กลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สมาชิกจะคัดเลือกตัวแทนขึ้นมาดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อบริหารกลุ่ม ซึ่งตำแหน่งต่าง ๆ ภายในกลุ่มประกอบด้วย
         - ประธาน มีหน้าที่ เป็นตัวแทนกลุ่มเพื่อประสานกับกลุ่มอื่น ๆ หรือหน่วยงานต่าง ๆ และดำเนินการประชุมสมาชิกกลุ่ม
         - รองประธาน มีหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน ขณะที่ประธานไม่อยู่
         - เหรัญญิก มีหน้าที่ เกี่ยวกับด้านการเงินของกลุ่มทุกอย่าง ดังนี้
         - ด้านออมทรัพย์สัจจะของสมาชิกกลุ่มทั้งการฝาก - กู้ ทุกเดือน
         - ด้านจัดซื้ออาหารและเวชภัณฑ์สำหรับแพะ ไว้บริการสมาชิกทุกกลุ่ม
         - ด้านจัดสรรเงินปันผลประจำปี ให้กับสมาชิก
         - ด้านอื่น ๆ เนื่องจากสมาชิกไว้วางใจและมีความเหมาะสม จึงได้สร้างที่ทำการกลุ่มไว้ที่บ้านเหรัญญิก ทำให้เป็นที่รับรองเกษตรกรที่มาดูงานด้วย
         - ปฏิคมมีหน้าที่เป็นผู้ส่งข่าวสารต่าง ๆ ให้สมาชิกกลุ่มทราบและเก็บข้อมูลจำนวนแพะของสมาชิกกลุ่ม
         - ฝ่ายการตลาด มีหน้าที่เป็นระบบเครือข่ายการตลาด สอบถามจำนวนแพะที่มี และที่สมาชิกต้องการซื้อ-ขายแล้วส่งข้อมูลรวมไว้ที่ฝ่ายการตลาดของกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา เมื่อมีบุคคลภายนอกต้องการซื้อแพะก็สามารถติดต่อสอบกับฝ่ายตลาดได้โดยตรง 
         - เลขานุการกลุ่ม มีหน้าที่ จัดเตรียมวาระการประชุม เตรียมข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้กับคณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม จดบันทึกการประชุม
         - กรรมการ หมายถึงสมาชิกทุกคน มีหน้าที่ ออกความคิดเห็น กำหนดวัตถุประสงค์ ระเบียบข้อตกลงและปฏิบัติตามมติของกลุ่มเครือข่ายความสัมพันธ์กลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพากับกลุ่มเลี้ยงแพะอื่น ๆ
    กลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา ติดต่อกับกลุ่มเลี้ยงแพะอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กลุ่มเลี้ยงแพะตำบลท่าม่วง กลุ่มพัฒนาเทพา กลุ่มควนติหมุน และกลุ่มเทศบาลเทพา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้จัดตั้งใหม่ โดยผ่านการคัดเลือก ของสมาชิกกลุ่มลุ่มน้ำเทพา และกลุ่มตำบลท่าม่วง โดยกลุ่มพัฒนาเทพาได้มีการประชุม พร้อมกับกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพายึดถือกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพาเป็นต้นแบบในการบริหารกลุ่ม เมื่อกลุ่มเลี้ยงแพะต่าง ๆ มีการประชุมบ่อยครั้งจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น ชมรมผู้เลี้ยงแพะอำเภอเทพา การเลือกตั้งคณะกรรมการชมรม โดยผ่านการคัดเลือกจากตัวแทนของกลุ่มเลี้ยงแพะทุกกลุ่ม ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานชมรมคนแรกคือ จสอ. สว่าง สังข์น้อย หรือเหรัญญิกของกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพานั่นเอง สำหรับสถานที่ทำการชมรม ใช้สถานที่เดียวกับกลุ่มเลี้ยงแพะลุ่มน้ำเทพา ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาต่อเนื่องของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและส่งผลต่อความยั่งยืนของระบบเครือข่าย
  •            
               การพัฒนาเครือข่ายกลุ่มผู้เลี้ยงแพะเป็นชมรมผู้เลี้ยงแพะอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ส่งผลถึงแนวโน้มถึงความยั่งยืนของการพัฒนาการเลี้ยงแพะของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ชมรมผู้เลี้ยงแพะอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ ของสมาชิก เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลผู้เลี้ยงแพะทุกกลุ่มที่อยู่ในเครือข่ายในอำเภอเทพา ชมรมมีการประชุมเดือนละครั้ง หมุนเวียนไปตามกลุ่มเลี้ยงแพะต่าง ๆ ผู้เข้าประชุมคือ คณะกรรมการกลุ่มเลี้ยงแพะทุกกลุ่ม คณะกรรมการชมรมคัดเลือกจาก คณะกรรมการกลุ่มเลี้ยงแพะทุกกลุ่ม ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก และเลขานุการชมรม มีหน้าที่ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ แล้วขอมติจากที่ประชุม และกำหนดบทบาทต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชมรมผู้เลี้ยงแพะอำเภอเทพาต่อไป

  •            ผลประโยชน์ของกลุ่มเลี้ยงแพะต่างๆที่ร่วมชมรมเลี้ยงแพะอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
    สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงแพะทุกกลุ่ม มีระเบียบข้อตกลงของกลุ่มชัดเจน แต่ละกลุ่มมีข้อตกลงทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันไป ขึ้นกับสภาพพื้นที่ ความต้องการและความพึงพอใจของสมาชิก ชมรมจึงเป็นส่วนสนับสนุนให้กลุ่มเลี้ยงแพะต่างๆมีการพัฒนาไปข้างหน้าแบบยั่งยืน รวมตัวกันระหว่างกลุ่มเข้มแข็ง
    ทุกกลุ่มเดินทางไปข้างหน้าพร้อมกันอย่างมั่นคง ชมรมคอยประสานหาทุนสนับสนุนแล้วนำมาบริการสมาชิกทุกราย ที่เห็นได้ชัดเจนและดำเนินการมาแล้วดังนี้
    - เป็นศูนย์กลางข้อมูลการตลาดแพะอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
    - บริการสวัสดิการ เวชภัณฑ์ - อาหารแพะ ในราคาถูกกว่าท้องตลาด
    - ประสานจัดหา เวชภัณฑ์ - อาหารสัตว์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยามเกิดภัยธรรมชาติ
    - ประสานจัดหาปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพื่อสร้างความหลากหลายในการประกอบอาชีพของสมาชิก จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การเลี้ยงปลาบ่อพลาสติก พันธุ์ปลา จากสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา พันธุ์พืช จากสำนักงานเกษตรอำเภอ ฯ
    - สนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มใหม่ ได้ยืมแม่พันธุ์แพะจากชมรม ไปเลี้ยงรายละ 2 ตัว กลุ่มละประมาณ 20 ตัว
    - ประสานจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี
    - ติดตามดูแลสุขภาพแพะของสมาชิกทุกกลุ่ม มีการคัดเลือกสมาชิกตัวแทนมาเป็นหมออาสาด้านปศุสัตว์เพื่อดูแลสุขภาพแพะ ของสมาชิก 3 คน

  •          ตลาดแพะอำเภอเทพา ระบบการซื้อ - ขายแพะพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ยังไม่สามารถดำเนินการได้เหมือนสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ไก่เนื้อ สุกร โคเนื้อ เนื่องจากแพะยังมีน้อยจึงไม่สามารถซื้อ-ขายแพะมีชีวิตหรือเนื้อแพะในตลาดสดได้ (ข้อมูลสอดคล้องกับผลงานวิจัย ระบบตลาดแพะ ของ ธัญญา สุขย้อย , 2541) แต่พื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีข้อพิเศษกว่าที่อื่นคือมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเนื้อแพะ " ร้านข้าวหมกแพะ " ของนายสัน หมีนเส็น ตั้งอยู่ที่สี่แยกพระพุทธ ถนนสายจะนะ - ปัตตานี เส้นทางไปปัตตานี ฝั่งซ้ายมือ เลขที่ 266 หมู่ที่ 4 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา หมายเลขโทรศัพท์ 01-8980984 จำหน่ายอาหารประเภท ข้าวหมกแพะ แพะตุ๋นยาจีน มัสมั่นแพะ ต้มยำแพะ ฯ ที่ร้านดังกล่าวรับซื้อแพะมีชีวิตของสมาชิกราคาประกันขั้นต่ำ 80 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เดือนหนึ่งแปรรูปแพะประมาณ 20-30 ตัว อีกประการพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีประชากร 65,450 คน ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ถึง 75 % ( ฝ่ายทะเบียนราษฎร์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา : 18 มีนาคม 2546) อาชีพของราษฎรทำการประมงทางทะเล และเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาก จึงทำให้มีการใช้ แพะบริโภค ทำพิธีทางศาสนาและความเชื่อ (การบนบาน) มากกว่าที่อื่น
  •  
              สรุปและข้อเสนอแนะ กลุ่มเลี้ยงแพะอำเภอเทพา สามารถพัฒนาเติบโต รวบรวมเครือข่าย จนเป็นชมรมผู้เลี้ยงแพะอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ได้ในวันนี้ เพราะสมาชิกมีความสนใจร่วมและได้รับผลตอบแทนร่วม สมาชิกทุกคนมีความตั้งใจพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะ เสียสละ สามัคคี ด้านการเลี้ยงแพะ สมาชิกมีระบบการจัดการฟาร์มที่ดีวางแผนปรับปรุงพันธุ์ในระยะยาวสถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์เทพา จังหวัดสงขลา สนับสนุนพ่อพันธุ์แพะพันธุ์ดี นำโครงการวิจัยทดสอบพันธุ์และกระจายพันธุ์แพะในระดับเกษตรกรรายย่อย โดยการเปิดฝูงผสมพันธุ์ให้สมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการ มีการเก็บบันทึกประวัติพันธุ์แพะในฟาร์ม ปัจจุบันจึงมีแพะที่มีสายเลือดพันธุ์ดี มีพันธุ์ประวัติเพิ่มมากขึ้น ด้านการบริหารกลุ่ม ยึดกระบวนการของกลุ่ม กลุ่มอยู่อย่างสันติ เข้มแข็งเป็นที่สนใจของเกษตรกรโดยทั่วไป มีเกษตรกรและผู้สนใจมาดูงานเป็นประจำ ชมรมยังต้องมีการพัฒนาก้าวไปข้างหน้า คณะกรรมการมีความ เสียสละเพื่อส่วนรวม ปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก มีวิสัยทัศน์ วางรูปแบบพัฒนาในทิศทางที่สามารถทำให้สมาชิกผู้เลี้ยงแพะยึดถือเป็นอาชีพที่ยั่งยืน ชมรมต้องเพิ่มความหลากหลายในกิจกรรมดำเนินการ เพราะถ้า ผู้เลี้ยงแพะอยู่ได้ ชมรมก็อยู่ได้ แต่ถ้าผู้เลี้ยงแพะล้มเลิก ชมรมก็ต้องยุบเลิกเช่นกัน เมื่อผู้เลี้ยงแพะมีความเจริญก้าวหน้าฟาร์มแพะขยายเรื่อยๆ ต่อไปก็สามารถส่งออกได้ ดังเช่นคำขวัญกรมปศุสัตว์ปัจจุบันว่า " ปศุสัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย 60 ปี ปศุสัตว์ไทยก้าวไกล สู่สากล "
     
    goat2