ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 216 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

663611
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
218
502
3715
653750
11028
30740
663611

Your IP: 3.15.192.196
2024-11-15 10:33

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

 

kurt

กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์
               กฎหมายมีไว้เพื่อให้ประชาชนทุกคนอยู่อย่างสงบสุข ไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเอาเปรียบ เบียดเบียน รบกวนผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกันไม่ให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลง หากเราประพฤติตามหลักพระพุทธศาสนา กฎระเบียบเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องมี เนื่องจากพระพุทธศาสนาสอนให้คนเราคิดถึงแต่ผู้อื่นและสังคม รวมทั้งเลิกคิดถึงตัวเองตามหลักไตรลักษณ์ แต่ก็ยังคงมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เอาใจผู้อื่นมาใส่ใจตน ทำให้ผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่รอบข้างเดือดร้อนดังเห็นจากข่าวร้องทุกข์ของชาวบ้านตามสื่อโทรทัศน์อยู่เนือง ๆ รัฐหรือสังคมจึงต้องออกกฎระเบียบเพื่อให้คนเหล่านี้รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
              เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดมลภาวะหลายอย่าง เช่น เสียง กลิ่น มูลสัตว์ น้ำเสีย รวมทั้งแมลงวัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ ทั้งอาจทำให้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ลำรางสาธารณะเน่าเสีย จึงต้องมีกฎหมายไว้คุ้มครอง ในช่วงแรกของการตั้งฟาร์มผู้ประกอบการอาจจะคิดว่าเราได้ตั้งฟาร์มในที่รกร้าง หรือห่างไกลชุมชน จึงไม่จำเป็นต้องมีระบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันมลภาวะ ซึ่งคิดไม่ถึงว่าเวลาผ่านไปไม่กี่ปีจะมีผู้จับจองผืนดินทำที่อยู่อาศัย จนสุดท้ายกลายเป็นชุมชนขึ้นมา กลายเป็นท่านสร้างเหตุรำคาญให้กับชุมชนถึงขั้นถูกชุมชนขับไล่ ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่จึงต้องคำนึงถึงการสร้างโรงเรือนที่ปลอดมลภาวะด้วย
              กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ ที่พอรวบรวมได้ มีดังนี้
                     เกี่ยวกับการเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะ

                             ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศว่า การเลี้ยงสุกร หมายถึง การเลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ สุกรขุน หรือลูกสุกร ชนิดหนึ่งหรือตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป
                             พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ใช้ควบคุมมาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร ประเภท ก(น้ำหนักสุกรรวมทั้งฟาร์มมากกว่า 300,000 กก.) และประเภท ข(น้ำหนักสุกรรวมทั้งฟาร์ม 30,000 - 300,000 กก.) โดยกำหนดมาตรฐานน้ำเสียที่ปล่อยออกจากฟาร์ม ดังนี้
                             ประเภท ก pH 5.5 - 9 BOD 60 มก./ลิตร COD 300 มก./ลิตร สารแขวนลอย 150 มก./ลิตร TKN 120 มก./ลิตร
                             ประเภท ข pH 5.5 - 9 BOD 100 มก./ลิตร COD 400 มก./ลิตร สารแขวนลอย 200 มก./ลิตร TKN 200 มก./ลิตร

                     เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป

            พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กรณีมีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ ตรมมาตรา 25 และให้อำนาจกับเจ้าพนักงานห้ามการก่องเหตุรำคาญและระงับการก่อเหตุตามมาตรา 26 ในกรณีมีเหตุรำคาญในสถานที่สาธารณะให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลที่ก่อเหตุระงับและป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 27 หากเกิดเหตุรำคาญในสถานที่ส่วนบุคคลให้ใช้มาตรา 28 ส่วนราชการท้องถิ่นสามารถประกาศให้กิจกรรมบางประเภทอยู่ในการควบคุมภายในท้องถิ่น และสมารถกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการได้ตามมาตรา 32 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 73
             พ.ร.บ.การชลประทานหลวง กรณีห้ามขุดคลอง ทางน้ำเชื่อมชลประทานตามมาตรา 26 ห้ามทิ้งขยะมูลฝอย ซากพืช ซากสัตว์ เถ้าถ่าน สิ่งปฏิกูล ลงในชลประทานตามมาตรา 28 ห้ามทำให้คันคลอง ทำนบ หมุดชลประทานเสียหาย ตามมาตรา 30
             พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ห้ามทิ้งหิน กรวด ดิน โคลน สิ่งของปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบ ที่ใช้สัญจรหรือประชาชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 119 
             ในกรณีที่ทำให้ผู้อื่นเกิดทรัพย์สินเสียหาย บุคลากรในครอบครัวหรือสัตว์เลี้ยงเจ็บป่วย การหาเลี้ยงชีพติดขัดเนื่องจากผลกระทบจากมลภาวะ ผู้เสียหายสามารถฟ้องเรียกค่าสินไหมจากผู้ที่ก่อให้เกิดมลภาวะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ให้
             ทางราชการได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ เพื่อเข้าไปตรวจสถานที่ที่คิดว่าเป็นแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เช่น โรงงานต่าง ๆ อู่ซ่อมรถยนต์ สถานเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เจ้าพนักงานจะเข้าไปตรวจหากไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบป้องกันมลภาวะก็จะสั่งให้ติดตั้ง ในกรณีที่มีแล้วก็จะตรวจสิ่งที่ปล่อยออกสู่สาธารณะ เช่น น้ำเสีย ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ หากไม่ได้มาตรฐานก็จะสั่งให้ปรับปรุงหรือซ่อมแซมในเวลาที่กำหนดให้ และจะกลับมาตรวจใหม่จนกว่าระบบจะได้มาตรฐาน ดังนั้น เพื่อให้การประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการควรจะคำนึงสิ่งเหล่านี้ให้รอบคอบก่อนการสร้างฟาร์ม 
                                                        

 

-----------------------------------------------------

ติดต่อสอบถามได้ที่

สำนักงานปศุสัตว์เขต 9
ส่วนรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
โทร 074-324406