ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

🌼 ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ เขต 9 ติดตามความก้าวหน้าโครงการโคบาลชายแดนใต้ จ.สงขลา🌼
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ เนื่องเม็ก ปศุสัตว์เขต 9 มอบหมายให้ส่วนส่งเส...
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดในงาน ของดีนราธิวาส ประจำปี 2562
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 9.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมร...

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 83 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

507429
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
292
503
1501
501337
13059
18812
507429

Your IP: 18.119.107.161
2024-04-24 10:12

pig-1

 

                       “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการทำแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมาย การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด

                       ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม

                       • ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และการใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก

                       • ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก

                       • ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน

                       • ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช

 

                 การสร้างโรงเรือนหมูหลุม ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก ตะวันตก วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตร คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว

 

                              ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซ.ม. ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 ซ.ม. เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน รำละเอียด 1 ส่วน

 

                              ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง

 

                             พันธุ์สุกร ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เลี้ยงแม่พันธุ์เอง และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม

 

                             การจัดการเลี้ยงดู การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม

 

                             การให้อาหาร ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) หลังจากนั้นให้ใช้ต้นกล้วย การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ 100 กก. ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.) ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวันหมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.) ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน แม่หมูอุ้มท้อง ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน

 

                          การทำน้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักสมุนไพรที่นำมาผสมในน้ำดื่ม จะช่วยลดกลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การเลี้ยงหมู ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีแมลงวัน

                          วิธีการทำ

                                    1. ใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด และใบเตย นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ

                                    2. นำสมุนไพร 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม หมักใส่ในถังพลาสติกหรือไห

                                    3. ปิดด้วยกระดาษ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน การนำมาใช้ ใช้น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 10 ลิตร

นอกจากนี้ยังสามารถนำไปรดพื้นคอกเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้ำหมัก สมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร

pig-2

 

--------------------------------------------

เรียบเรียงโดย :: นางนิภา อินทพัฒน์  นักวิชการสัตวบาลชำนาญการอาวุโส

สำนักงานปศุสัตว์เขต 9