ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 84 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

687199
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
85
1005
4705
676589
14974
19642
687199

Your IP: 3.143.237.203
2024-12-22 01:12

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

 

bio2

ประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรรายได้ส่วนหนึ่งของประเทศมาจากการส่งออกสินค้าเกษตร  เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตอบอุ่นจึงสามารถปลูกพืชได้ตลอดปี โดยเฉพาะในแหล่งที่มีการชลประทานแต่สภาพดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาด้านศัตรูพืชรุนแรง และทำความเสียหายได้มากกว่าประเทศไทยขึ้นอยู่กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดพืช และปุ๋ยเคมีเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในพืชที่ทำรายได้สูงเกษตรกรมีกำลังในการซื้อปัจจัยการผลิตทำให้สถิติการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเวลามา

              ถึงแม้ว่าปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรุพืช จะแปรปรวนตามความรุนแรงของศัตรูพืชในแต่ละปีแต่โดยทั่วไปจากปี 2521 - 2541ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 10,042 ตัน เป็น 25,541 ตันในปี 2539ก่อนที่จะลดลเหลือ 19,390 ในปี 2541 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ภายในเวลา 20 ปี ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือสารกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้นจาก 2,980 ตันเป็น 14,041 ตัน ในปี 2539 ก่อนที่จะลดลงเหลือ 8,697 ตันในปี 2541เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

                การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นไม่ได้หมายความว่า สามารถป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้เสมอไปจะเห็นได้จาการลดลงของพื้นที่ปลูกฝ้ายจากที่เคยสูงสุดเกือบ 1 ล้านไร่ ในปีเพาะปลูก 2524 / 25  เหลือเพียงประมาณ 3 แสนไร่ หรือความเสียหายของข้าว จากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปี 2533ซึ่งมีพื้นที่ระบาดรวดนาปรังและนาปี ถึงกว่า 6 ล้านไร่  ถึงแม้มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเห็นได้จากสถิติการนำเข้าสารฆ่าแมลงในปีเดียวกันก็ตาม

                สำหรับการนำเข้าปุ๋ยเคมีมาจำหน่ายในประเทศปีละประมาณ 3.5 ล้านตัน ราคาตันละ 6,000 - 7,000 บาท  คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.1 - 2.4 หมื่นล้านบาท การใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว  ไม่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรและผลตอบแทนสูงสุดเพราะนอกจากทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ด้านกายภาพและชีวภาพแล้วยังทำลายดินให้เสื่อมโทรมมากยิ่งขึ้นและขาดความอุดมสมบูรณ์ด้านกายภาพและชีวภาพแล้วยังทำลายดินให้เสื่อมโทรมมากยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดมลพิษในดินและน้ำอย่างมากมายอีกทั้งเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนและสัตว์อย่างต่อเนื่อง

                น้ำสกัดชีวภาพ หรือที่เรียกกันว่า น้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็๋นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืชหรือทดแทนปุ๋ยเคมีได้ กอร์ปกับจากอุตสาหกรรมเกษตรมูลสัตว์ วัชพืชน้ำ เศษผักผลไม้ที่ไม่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันเกษตรกรได้มีการทำน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำแล้วและได้ผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งแต่ยังไม่มีวิธีการผลิตที่แน่นอน รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ทางด้านนี้ยังน้อยมากและขาดความชัดเจนกรมวิชาการเกษตรได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยและงานวิเคราะห์เกี่ยวกับน้ำสกัดชีวภาพ ของนักวิชาการและที่เกษตรกรได้ผลิตใช้เองเพื่อจะได้เผยแพร่ความรู้เรื่องน้ำสกัดชีวภาพ นำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตน้ำสกัดชีวภาพโดยใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาสารออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
3. ศึกษาประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต
4. ศึกษาชนิดและปริมาณของธาตุอาหาร ฮอร์โมน และจุลินทรีย์ในน้ำสกัดชีวภาพ

ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรและลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและลดดุลการค้ากับต่างประเทศ และไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

ความเป็นมา 
          ความหมายของน้ำสกัดชีวภาพน้ำสกัดชีวภาพ หรือ น้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน คือเป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืชหรือสัตว์จะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์โดยใช้กากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ การหมักมีสอบแบบ คือ หมักแบบต้องการออกซิเจน(หมักแบบเปิดฝา) และหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน (หมักแบบเปิดฝา)สารละลายเข้มข้นอาจจะมีสีน้ำตาลเข้มกรณีที่ใช้กากน้ำตาลเป็นตัวหมักหรือมีสีน้ำตาลอ่อนเมื่อใช้น้ำตาลชนิดอื่นเป็นตัวหมัก ซึ่งถ้าไม่ผ่านการหมักที่สมบูรณ์แล้วจะพบสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรท โปรตีน กรดอะมิโน ฮอร์โมนเอ็นไซม์ ในปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ (พืชหรือสัตว์)

          จุลินทรีย์ที่พบในน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน มักเป็นกลุ่มแบคทีเรีย Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococus sp.,นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อรา ได้แก่ Aspergillus niger, Pe4nnicillium, Rhizopus และ ยีสต์ ได้แก่ Canida sp.

ประเภทน้ำสกัดชีวภาพ
            น้ำสกัดชีวภาพหมักได้จากเศษพืชและสัตว์ ดังนั้น จึงสามารถแบ่งประเภทน้ำสกัดชีวภาพตามวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภทคือ
            1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช
            2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์ 

            1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช 
            1.1 ผลิตจากผักและเศษพืช

                การทำน้ำสกัดชีวภาพโดยการหมักเศษพืชสดในภาชนะที่มีฝาปิดปากกว้าง นำเศษผักมาผสมกับน้ำตาลถ้าพืชผักมีขนาดใหญ่ให้สับเป็นชิ้นเล็กๆ จัดเรียงพืชผักเป็นชั้น ๆโรยน้ำตาลทับสลับกันกับพืชผักอัตราส่วนของน้ำตาลต่อเศษผักเท่ากับ
1 : 3 หมักในสภาพไม่มีอากาศโดยการอัดผัก ใส่ภาชนะให้แน่น เมื่อบรรจุผักลงภาชนะเรียบร้อยแล้วปิดฝาภาชนะนำไปตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม ปล่อยให้หมักต่อไปประมาณ 3 - 7 วัน จะเกิดของเหลวข้นสีน้ำตาลมีกลิ่นหอมของสิ่งหมักเกิดขึ้น ของเหลวนี้เป็นน้ำสกัดจากเซลล์พืชผักประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรท โปรตีน กรดอะมิโน ฮอร์โมน เอนไซม์ และอื่นๆ
           1.2 ผลิตจากขยะเปียก ได้มีการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ จำนวน 1กิโลกรัม มาใส่ลงในถังหมัก แล้วเอาปุ๋ยจุลินทรี์โรยลงไป 1 กำมือ หรือประมาณเศษ 1 ส่วน 20ของปริมาตรของขยะ แล้วปิดฝาให้เรียบร้อย ภายในเวลา 10 - 14 วันจะเกิดการย่อยสลายของขยะเปียกบางส่วนกลายเป็นน้ำ น้ำที่ละลายจากขยะเปียก สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยโดยนำไปเจียจาง โดยการผสมด้วยอัตราส่วนน้ำปุ๋ย 1 ส่วนต่อน้ำธรรมดา 100 - 1,000 ส่วน นอกจากนี้โครงการฯยังได้ประดิษฐ์ถังขยะแบบพิเศษ โดยนำถังพลาสติกมาเจาะรูแล้วใส่ก๊อก เปิดปิดน้ำที่ด้านข้างถังช่วงล่างจะสวมตาข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารไปอุดตันส่วนปัญหาเรื่องกลิ่นกรณีที่ขยะมีเศษเนื้อสัตว์ มีเศษอาหารอยู่มากให้ใช้เปลือกสับปะรด มังคุด กล้วยใส่ลงไปให้มากๆ น้ำปุ๋ยจะมีกลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นหมักเหล้าไวน์ วิธีการดังกล่าวจุลินทรีย์จะสามารถย่อยสลายขยะเปียกได้ประมาณ 30 - 40 ส่วนที่เหลือประมาณ 60 - 70 %จะกลายเป็นกากซึ่งก็คือปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ในทางเกษตรได้

             2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
                  ปุ๋ยปลาเป็นน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จาการย่อยสลายเศษอวัยวะปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือดผ่านกระบวนการหมักโดยใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองธรรมชาติหลังจากหมักจนได้ที่แล้วจะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสโพแตสเซียม ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดงและแมงกานีส

                 นอกจากนี้ ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลาจากข้อมูลผลของกรดอะมิโนที่มีต่อพืช แต่จากคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ยปลาพบว่าปุ๋ยปลาจะไปช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เช่น
ดอกไม้ให้มีสีสดขึ้นและผลไม้มีคุณภาพดีขึ้นและช่วยเร่งการแตกยอด และออกดอกใหม่ได้อีกด้วย

               2.1 ผลิตจากปลา
                    อัตราส่วน / 1 ถัง 200 ลิตร ปลาสด 40 กก. กากน้ำตาล 20 กก. สารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 200 กก. ( 1 ซอง)วิธีการเตรียมสารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 1 ซอง ละลายน้ำอุ่น 20 ลิตร คนให้เข้ากัน 15 - 30 นาที(อย่าให้น้ำนิ่ง) นำปลาสดและกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ใส่ถัง 200 ลิตรและนำสารเร่งทำปุ๋ยหมักที่เตรียมเสร็จแล้วใส่ในถังรวมกับปลาสด และกากน้ำตาล ใส่น้ำพอท่วมตัวปลา (1/2)แล้วคนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ที่อุณภูมิ 30 - 35 องศาเซลเซียส ไม่ปิดฝา คนวันละ 4 - 5 ครั้งตลอดระยะเวลาในการหมักประมาณ 20 - 30 วัน ปลาจะย่อยสลายหมดเติมน้ำให้เต็มถังและคนให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใช้จะได้ปุ๋ยชีวภาพ 200 ลิตรอัตรากาใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นทางใบ 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร และราดโคน 1 ลิตร / น้ำ 200 ลิตร 

               2.2 ผลิตจากหอยเชอรี่

                      วิธีที่ 1 การทำจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดจะได้หอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากตัวหอยเชอรี่ และนำผสมกับน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตรอย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้อาจคนให้เข้ากัน หากมีการแบ่งชั้นให้สังเกตุดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนก่าจะหายเหม็นทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะไม่เกิดแก๊สให้เห็นบนผิวหน้าของน้ำหมักหอยเชอรี่แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบนผิวหน้าและบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไปถือว่าน้ำหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป

                      วิธีที่ 2 การทำจากไข่หอยเชอรี่ นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้น้ำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือกแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่น เดียวกับวิธีที่ 1

                       วิธีที่ 3 การทำจากไข่หอยเชอรี่และพืชนำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่เชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อนๆหรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือบดละเอียดแล้ว เช่นกันแล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : กากน้ำตาล : พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหนักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติคือ 3:3:1 แล้วนำไปหมักตามกระบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

                       วิธีที่ 4  นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้นในกระทะนำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะเพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น และนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียด ให้ได้ดจำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับกากน้ำตาล และน้ำหมักจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกันกับวิธีที่ 1

                         วิธีที่ 5 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสดนำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 1 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและชิ้นส่วนของพืชที่อ่อนๆ เหมือนอัตราส่วนเนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3:3:1 ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

                       วิธีที่ 6 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และพืชสดวิธีนี้เป็นการผสมปุ๋ยหมักแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้อัตราส่วนดังนี้ เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว : ไข่หอยเชอรี่ : พืชก่อน อัตรา 3:3:5 - 6:2:3 มีข้อสังเกตุเพียงดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่กลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใดให้ดูลักษณะผิวหนังของน้ำหนักเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตรา 1:500 - 10,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ใช้อัตรา 1:500 - 10,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสม คือ 20 ซี.ซี / น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7 - 10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดอายุการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก

                ให้ระมัดระวังเวลานำไปใช้ราดหรือฉีดพ่นต้นพืช ควรใช้เจือจางมาก (อัตราที่แนะนำให้ใช้คือจากสารละลายที่ผ่านขบวนการหมักสมบูรณ์แล้วก่อนนำไปใช้ควรทำให้เจือจางในอัตรา 1:500 หรือ 1: 1,000 ) วิธีการใช้ที่ถูกต้องจะมีผลต่อดิน และพืชที่นำไปราดหรือฉีดพ่นใส่ควรใช้เพื่อช่วยเสริมการเจริญเติบโตให้กับต้นพืช หรือช่วยเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์และจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีอย่างอื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยเคมีเข้าช่วยซึ่งจะทำให้การใช้ได้ผลดีที่สุด ตลอดจนการดูแลปฏิบัติต่อพืชในด้านอื่นๆ ด้วย 

                      คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
                       คุณสมบัติทั่วไปของน้ำสกัดชีวภาพ
                       - น้ำสกัดชีวภาพมีคุณสมบัติโดยทั่วๆ ไป มีดังนี้
                       - มีค่า pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) อยู่ในช่วง 3.5 - 5.6 ปฏิกิริยาเป็นกรดถึงกรดจัด ซึ่ง pHที่เหมาะสมกับพืชควรอยู่ในช่วง 6 - 7
                       - ความเข้มข้นของสารละลายสูง โดยค่าของการนำไฟฟ้า (Electrical conductivity , E.C) อยู่ระหว่าง 2 -12 desicemen / meter (ds / m) ซึ่งค่า E.C ทีเหมาะสมกับพืชควรจะอยู่ต่ำกว่า 4 ds / m
                       -  ความสมบูรณ์ของการหมัก พิจารณาจากค่า C / N ration มีค่าระหว่าง 1 / 2 - 70 / 1 ซึ่งถ้า C / Nratio สูง เมื่อนำไปฉีดพ่นบนต้นพืชอาจแสดงอาการใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุไนโตรเจนได้ 
                       -  ปริมาณธาตุอาหาร ธาตุอาหารหลัก (N,P,K)
                       - ไนโตรเจน (% Total N) ถ้าใช้พืชหมัก พบไนโตรเจน 0.03 - 1.66 % แต่ถ้าใช้ปลาหมักจะพบประมาณ 1.06 -1.70 % 
                       - ฟอสฟอรัส ( % Total P2 O5 ) ในน้ำหมักจากพืชจะมีตั้งแต่ไม่พบเลยจนถึง 0.4 % แต่ในน้ำหมักจากปลาพบ0.18 - 1.14 % 
                       - โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (% Water Soluble K2 O) ในน้ำหมักพืชพบ 0.05 - 3.53 %และในน้ำหมักจากปลาพบ 1.0 - 2.39 % 

                       ธาตุอาหารรอง (Ca, Mg,S) 
                       - แคลเซียม ในน้ำหมักจากพืชพบ 0.05 - 0.49 % และน้ำหมักจากปลาพบ 0.29 - 1.0%
                       - แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ ในน้ำหมักจากพืชและปลาพบในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ 0.1- 0.37 %

                       ธาตุอาหารเสริม
                       - เหล็ก ในน้ำหมักจากพืชพบ 30 - 350 ppm. และน้ำหมักจากปลาพบ 500 - 1,700 ppm.
                       - คลอไรด์ น้ำหมักจากพืชและปลามีปริมาณเกลือคลอไรด์สูง 2,000 - 11,000 ppm.
                       - ธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดินัมน้ำหมักทั้งจากพืชและปลาพบในปริมาณน้อย มีค่าตั้งแต่ตรวจไม่พบเลย ถึง 130 ppm.

ปริมาณกรดอะมิโน
ผลวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนในน้ำสกัดชีวภาพ 100 กรัม ปรากฏดังนี้
 
กรดอะมิโน มิลลิกรัม / 100 กรัม
กรดแอสปาร์ติค
ทรีโอนีน
ซีรีน
กรดลูตามิค
โปรลีน
ไกลซีน
อะลานีน
ซีสตีน
วาลีน
เมไทโอนีน
ไอโซ ลิวซีน
ลิวซีน
ไทโรซีน
ฟีนิลอะลานีน
ฮีสติดีน
ไลซีน
อาร์จินีน
ทริปโตเฟน
346.06
26.34
39.30
127.45
1.26
13.24
91.69
17.88
55.26
9.37
26.26
34.30
22.14
4.44
16.28
30.20
18.76
6.22

ปริมาณฮอร์โมนพืช
ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืช 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่ม Auxin (Indole acetic acid : IAA)
2. กลุ่ม Gibberellins (Gibberellic acid : GA3)
3. กลุ่ม Cytokinins (Zeatin และ Kinetin)

                 1. IAA ตรวจพบทั้งในน้ำหมักจากพืชและสัตว์ แต่พบในปริมาณน้อย มีค่าในช่วงตั้งแต่น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ - 2.37 ppm
                 2. GA3 ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 18 - 140 ppm. ไม่พบ GA3 ในน้ำหมักจากปลา
                 3. Zeatin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางตัวอย่างในปริมาณน้อย 1 - 20 ppm.และพบในน้ำหมักจากปลาที่ใส่น้ำมะพร้าว 2 - 4 ppm.
                 4. Kinetin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 1 - 14 ppm. แต่ไม่พบในน้ำหมักจากปลา

จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นว่าคุณภาพและประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้ย่อยสลาย กระบวนการย่อยสลายที่สมบูรณ์ไม่เน่าเสีย ความเข้มข้นของสารละลายและความเป็นกรดเป็นด่าง

คุณสมบัติของน้ำสกัดชีวภาพในด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืชการหมักพืช หรือสัตว์ในกระบวนการหมักจะมีก๊าซมีเทน (CH3)เกิดขึ้นซึ่งจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียจะเปลี่ยนก๊าซมีเทน (CH3) ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และแอลกอฮอล์เมื่อถูกอ๊อกซิเจนในอากาศทำให้กลายเป็นเอสเตอร์ของแอลกอฮอล์จะมีกลิ่นหอมหรือเหม็นเฉพาะตัวถ้ามีกลิ่นหอมก็เป็นสารดึงดูดแมลง ถ้ามีกลิ่นเหม็นก็จะเป็นสารไล่เแมลง

จากการวิเคราะห์น้ำสกัดชีวภาพของสำนักวิจัยและพัฒนาการผลิตสารธรรมชาติ กรมวิชาการเกษตร ปรากฎผลดังนี้
1. น้ำสกัดชีวภาพที่หมักจากผลไม้ ผักสด หรือจากพืชสมุนไพรจะมีสารพวก polyphenol ได้แก่ 1,2 Benzenediol หรือ 1,3 Benzenediol พวก dimethoxy phenol, benzoic acid derivatives สารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นกรด เช่น 1,3 Benzenediol(resorcinol)ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุจมูก ทางสัตวแพทย์เคยใช้เป็น antiseptic ดังนั้น สารพวกนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของแลงได้ นอกจากนี้ยังพบสารพวก ethylesterของพวกกรดไขมัน เช่น ethyl palmitate, ethyl linoleate ในสารละลายบางตัวพบ alcohol ได้แก่ bezene ethanol

2. น้ำสกัดจากหอย + ไข่ดาว
พบสารพวก poly phenol และ ethyl ester ของกรดไขมันเช่นเดียวกัน Ethyl ester เกิดจาก alcohol ชนิด ethyl alcohol ที่สกัดจากการหมักย่อยสารของพืชแล้ว alcohol นั้น ก็ทำปฏิกิริยากับกรดไขมันที่มีในพืชที่เป็น ethyl ester คุณสมบัติของ ester พวกนี้มีคุณสมบัติ เป็นสารไล่แมลงและสารล่อแมลงได้

แต่ถ้าเกษตรกรต้องการใช้พืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ควรใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นในกรณีของพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยปนอยู่ด้วย) ในอัตราส่วนพืช 1 กิโลกรัม แช่น้ำ 20 ลิตร คนเป็นครั้งคราวทิ้งไว้ 1 คืน ไม่ควรเกิน 2 คืน นำเอาเอกสารละลายที่ได้มาผสมน้ำอีกเท่าตัว แล้วฉีดพ่นบนต้นพืชจะให้ผลดีกว่าการนำมาหมักผสมกันหลายๆ ชนิด กับกากน้ำตาลและการฉีดพ่นไม่ต้องฉีดพ่นรวมกับน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ควรฉีดพ่นเมื่อต้องการนำมาใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเท่านั้นพืชที่สามารถนำมาใช้ป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ สะเดา (ใช้ส่วนของเมล็ด) ตะไคร้หอม (ใช้ส่วนใบ)นอนตายหยาก (ใช้ส่วนราก) ว่านน้ำ ) ใช้ส่วนเหง้า) ข่า (ใช้ส่วนแง่ง) สาบเสือ (ใช้ส่วนใบ) เป็นต้น

คำแนะนำวิธีการใช้
การทำน้ำสกัดชีวภาพ

1. ใช้เศษพืช ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหาร ที่ยังไม่บูดเน่า นำมาสลับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติก หรือโอ่ง
2. ใส่กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงหรือขาวลงไป 1 ใน 3 ของน้ำหนักผัก (1:3)ในอัตราส่วนนี้ถ้ามีน้ำสกัดชีวภาพอยู่แล้วให้ใส่กากน้ำตาลน้อยลง
3. มีของหนักวางทับผักไว้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 5 - 7 วัน
4. จะมีของเหลวสีน้ำตาลไหลออกมาคือ น้ำสกัดชีวภาพ กรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทพร้อมที่จะมานำมาใช้

ข้อควรระวังในการทำน้ำสกัดชีวภาพ
1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักโดยสนิท เพราะจะทำให้ระเบิดได้ เนื่องจากระหว่างการหมักเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทน ฯลฯ
2. หากมีการใช้น้ำประปาในการหมักต้องต้มให้สุกหรือตากแดดเพื่อไล่อคลอรีนเพราะอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
3. พืชบางชนิดไม่ควรใช้ในการหมักเช่น เปลือกส้มเพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกเป็นพิษต่อจุลินทรีย์ย่อสลายในสภาพปลอดอากาศ
4.การทำน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพควรหมักให้ได้ที่เพราะพบปัญหาเกิดเชื้อราที่ใบทุเรียนเพราะน้ำตาลที่เหลืออยู่จุลินทรีย์ใช้ไม่หมด

วิธีใช้น้ำสกัดชีวภาพ
นำน้ำสกัดชีวภาพผสมน้ำธรรมดาทำให้เจือจาง
1. ฉีดพ่นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 - 10 ลิตร (1: 500 - 1,000)ควรฉีดพ่นให้บ่อยครั้ง
2. ราดกองใบไม้ใบหญ้า สด แห้ง อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 - 3 ลิตร (1: 200 - 250)ใช้พลาสติกคุลมกองพืชปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย 1 - 2 สัปดาห์ นำมาใช้ประโยชน์ได้ใช้ผสมดินหรือคลุมดินบริเวณต้นพืช
3. ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร และเพิ่มกากน้ำตาล 2ช้อนราดปุ๋ยมหักแห้งให้มีความชื้นหมาดๆ
4. ราดดินแปลงเพาะปลูกปฏิบัติดังนี้ พรวนดินผสมคลุมเคล้ากับวัชพืช หรือเศษพืชใช้อัตราเจือจาง 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2 - 5 ลิตร (1: 200-500) ราด 1 ตร.ม ต่อ 0.5 - 1 ลิตร ปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย 3 - 7 วันก็สามารถปลูกพืชหรือกล้าไม้ได้ ถ้าต้องการกำจัดวัชพืชพวกมีเมล็ดควรปล่อยให้วัชพืชงอกอีกครั้งหนึ่งจึงพรวนซ้ำแล้วรดน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ น้ำเจือจาง อัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร (1:500) ปลูกพืชได้ภายใน 2 - 3 วัน
5. ผสมน้ำอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 - 5 ลิตร (1: 100 - 500 )ราดพื้นที่ทำความสะอาดจะช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุที่ติดพื้น นำไปเทในแอ่งน้ำขังช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุในแอ่งน้ำให้ย่อยสลายลงทำให้แอ่งน้ำที่มีสภาพดีขึ้น
6. การขยายหัวเชื้อทำได้โดยอัตราส่วน คือ น้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ : น้ำในอัตราส่วน 1 : 1 : 10 ใส่ขวดปิดฝา 3 วัน นำไปใช้ได้

ข้อควรระวังในการใช้น้ำสกัดชีวภาพ
1. การใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ อาจทำให้วัสดุที่ใช้ปลูก เช่นกาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควร
2. การใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินควรมีอินทรีย์วัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมักและเศษพืชแห้งคลุมดินไว้ ซึ่งทำให้การใช้ประโยชน์จากน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพได้ผลดี
3. ห้ามใช้อัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำ เพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพ
4. น้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูงระวังการใช้เพราะใช้มากอาจทำให้เฝือใบและไม่ออกดอก ออกผลได้

การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
ประโยชน์ของน้ำสกัดชีวภาพ
1. ใช้เป็นปุ๋ยโดยตรง
น้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ จะประกอบด้วยสารต่าง ๆ และจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมากดังนั้นก่อนนำเอาไปใช้ประโยชน์จึงต้องทำให้เจือจางมากๆ อัตรส่วนน้ำสกัดต่อน้ำสะอาดคือ 1: 500 หรือ 1 :1,000 การใช้เป็นน้ำสกัดจะต้องมีความระมัดระวังมากถ้าเข้มข้นมากไปพืชจะชะงักการเจริญเติบโตใบจะมีสีเหลืองถ้าใช้้ในอัตราที่พอเหมาะพืชจะแสดงสภาพเขียวสด ใบเป็นมันต้นพืชที่ชะงักการเจริญเติบโตที่พักอยู่จะขยายตัวแตกตาเป็นใบภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์ดังนั้นการใช้จึงควรใช้อัตราเจือจางมากเป็นเกณฑ์ ซึ่งสามารถใส่ให้แก่ต้นไม้ประมาณ 3 - 7 วันต่อครั้ง และเมื่อพืชเจริญงอกงามดีในเวลาต่อมาจะใช้เดือนละครั้งก็ได้

1.1 ใช้เป็นหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยหมักแห้ง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และเสริมสร้างความเจริญเติบโต ให้กับพืชผัก ไม้ผลหลังจากปลูกพืชแล้วสามารถผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย ด้วยการนำเอกเศษหรือวัสดุเหลือใช้าหมักผสมกับมูลสัตว์แกลบดำ และรำละเอียด ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
ลำดับ วัสดุที่ใช้ จำนวน
1. มูลสัตว์แห้งละเอียด 1 ปิ๊บ
2. แกลบดำ  1 ปิ๊บ
3. รำละเอียด 1 กิโลกรัม
4. เศษพืชหรือวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นแกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง  1 ปิ๊บ
5. เปลือกถั่วเขียว ขุยมะพร้าว ฯลฯ 2 ช้อนแกง
6. น้ำสกัดชีวภาพ 2 ช้อนแกง
7. กากน้ำตาล 10 ลิตร 
8. น้ำ ประมาณ (ปรับลดหรือเพิ่มได้ตามความเหมาะสม) 1 ปิ๊บ 

วิธีการทำ
              ผสมคลุกเคล้าให้เข้าด้วยกัน รดน้ำที่ผสมด้วยน้ำสกัดชีวภาพและกากน้ำตาลตามอัตราส่วนที่กำหนดให้ทั่วกองข้อสังเกตปริมาณที่เหมาะสมที่ใส่ในกองปุ๋ยโดยใช้มือกำวัสดุแน่นๆ เมื่อแบมือออกปุ๋ยนั้นเป็นก้อนได้หลังจากผสมคลุกเคล้าดีแล้วกองปุ๋ยบนพื้นที่ซีเมนต์ให้กองปุ๋ยสูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3 วันสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้ลักษณะของปุ๋ยที่ดีต้องมีราสีขาวมีกลิ่นของราหรือเห็ด กองปุ๋ยไม่ร้อนมีน้ำหนักเบา

วิธีการใช้
              ใช้ปุ๋ยหมักผสมในดินในช่วงเตรียแปลงปลูกพืชผัก อัตราปุ๋ย 1 กิโลกรัม / ตารางเมตร และ ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกพืชผัก ที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ฟักทอง ฯลฯ ประมาณ 1 กำมือ /หลุม หว่านบริเวณโคนต้นไม้ผล อัตรา 3 - 5 กิโลกรัม / ต้น ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดทรงพุ่มไม้ผลสามารถใส่กระสอบเก็บไว้ในที่ร่มได้นาน 1 ปี

                2. ใช้ป้องกันกำจัดแมลงและโรคโดยการผสมน้ำสกัดชีวภาพ ในอัตราเจือจางฉีดพ่นโดยเฉพาะเพลี้ยแป้งใช้ได้ผลดี

                3. ใช้ประโยชน์ในการกำจัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนำน้ำสกัดชีวภาพไปใช้ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุจากแหล่งน้ำต่างๆ เช่น บ่อน้ำสระน้ำที่มีอินทรีย์วัตถุย่อยสลายบูดเน่า ก็สามารถใส่น้ำชีวภาพลงไปในแหล่งน้ำดังกล่าวโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ ในอัตราส่วน 1 : 100 , 1: 250 หรือ 1: 500 โดยคิดจากปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ เช่น ปริมาณน้ำ 1,000 ส่วน เติมน้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน ส่วนระยะเวลาการย่อยสลายใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ขึ้นไป

                4. ใช้กับสัตว์เลี้ยง (ไก่และสุกร) โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพจำนวน 20 ลิตร มาผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร นำไปใช้เลี้ยงไก่หรือสุกรเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค โดยวิธีดังกล่าวจะมีสรรพคุณทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคและที่สำคัญพื้นคอกไก่ไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย ซึ่งส่งผลให้ไก่ไม่เป็นโรค

               ดังนั้น น้ำสกัดชีวภาพ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีโดยการใช้วัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ขยะสดจากตลาด จากครัวเรือนเศษวัสดุจากโรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานปลากระป๋อง เศษปลาจากตลาด หอยเชอรี่ นำมาหมักจากการหมักมีธาตุอาหารหลัก อาหารรอง จุลธาตุ กรดอะมิโนและอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก ซึ่งมีสูตรมาตรฐานชัดเจนขึ้นอยู่กับความสะดวกในการหาแหล่งที่เหมาะสม จะต้องเข้าใจในการจัดการในด้านพื้นฐานหลัก คือ ใส่ธาตุหลักN - P - K กับการจัดการธาตุอาหารรอง และจุลธาตุรวมทั้งสมดุลของคุณสมบัติดินทั้งกายภาพและเคมีอย่างเหมาะสม การผลิตใช้เองเกิดประโยชน์ในด้านลดต้นทุนแต่ต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตในระยะยาว

ผลการวิเคราะห์น้ำสกัดชีวภาพ

               การตรวจวิเคราะห์กระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ของน้ำสกัดชีวภาพดำเนินการโดยสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารธรรมชาติ

1. ถ้าในน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีสภาพเป็นกรด และมีก๊าซออกซิเจนในการหมักคือ เปิดฝาเวลาหมัก ในสารละลายมีแบคทีเรียชนิด Methanotrophic(ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เปลี่ยนก๊าซมีเทนได้กลายเป็นแอลกอฮอล์ (methanol) และมีธาตุเหล็ก หรืออิออนเหล็ก (Fe2+Fe3+) ในพืชที่ใช้หมัก เช่นพวกผักขม, ผักคะน้า เป็นต้นจะเปลี่ยนก๊าซมีเทนที่เกิดจากการหมักได้กลายเป็นแอลกอฮอล์ (methanol) และแอลกอฮอล์ จะถูกออกซิเจนในอากาศทำให้กลายเป็นเอสเตอร์ของแอลกอฮอล์ ซึ่งสารพวกเอสเตอร์จะมีกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว ใช้เป็นสารดึงดูดแมลง และสารไล่แมลงได้

2. กลูโคสในพืชที่ใช้หมัก ถ้าในขณะหมักมีแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (gram positive ) คือ eubacterium,Sareina ventriculi และมีออกซิเจน คือเปิดฝาเวลาหมักพร้อมกับในสารละลายมี enzyme 3 ตัว ซึ่งมีอยู่ในพืชเอง คือ pyruvate dehydrogenase, phosphotransacetylase, acetate kinase ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสารกลูโคส ให้กลายเป็นสารไพรูเวท และจะถูกย่อยสลายต่อไป จนสุดท้ายได้สาร acetic acid และ acetate เมื่ออนุมูล acetate มารวมตัวกับ minor elements เช่น Ca, Mg จะได้เป็น Calsium acetate และ Magnesium acetate ถ้ารวมตัวกับพวก major elements จะได้เป็น NaOOCH3 C (Sodium acetate) หรือ KOOCH3 C (potassium acetate) ซึ่งพืชพร้อมจะดูดเอาไปใช้เป็นอาหารได้เลย

3. ถ้าหมักแบบปิดฝาไม่มีออกซิเจน ethanol ซึ่งเป็นสาร product สุดท้ายเมื่อเจออากาศจะได้เป็นสารพวกเอสเตอร์ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเช่นกันซึ่งใช้เป็นสารดึงดูดแมลงและเป็นสารไล่แมลงได้

4. แบคทีเรียชนิดแกรมลบ (gram negative) ชื่อ eubacterium, Zymononas mobilis จะได้สาร ethanol แล้วเปลี่ยนเป็นเอสเตอร์เช่นกัน

5. กลูโคสเป็นสารที่มีอยู่ในพืชทุกชนิดในรูปน้ำตาลชนิดหนึ่งที่ถูกสะสมเอาไว้ใช้เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นรูปอื่นๆที่พร้อมจะนำไปใช้ เช่น พลังงาน, อาหารต่างๆ ฯลฯ เมื่อได้ products สุดท้ายเป็น acetic acid, lactic acid เมื่ออยู่ในสารละลายถ้ามี major elements, minor elements จะเปลี่ยนรูปเป็นสารอาหารเช่นกัน ซึ่งพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที