ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ฐานข้อมูลด้านปศุสัตว์ในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 9

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 92 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

719414
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
190
503
7048
700671
11395
35794
719414

Your IP: 3.15.144.162
2025-01-10 13:46

แบบสอบถาม

แบบสอบถาม >>
ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการของกรมปศุสัตว์
ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบสอบถาม
ความคิดเห็น
ของผู้รับบริการ

qrcord1
แบบสอบถาม
ความต้องการของผู้รับบริการ
ใช้ข้อมูลด้านปศุสัตว์

qrcode2

book-1

ฟางข้าว คุณสมบัติ

  • มีคุณภาพต่ำ เยื่อใยสูง มีอัตราการย่อยได้ต่ำ จึงตกค้างอยู่ในกระเพาะหมักนาน สัตว์จึงได้รับโภขนะไม่เพียงพอ ถ้าให้กินฟางอย่างเดียวน้ำหนักจะลด
  • ไม่เหมาะจะใช้ฟางข้าวเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยไม่ปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อน

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้ฟางข้าวอย่างเดียวเลี้ยงโค - กระบือในช่วงแล้ง เพื่อการดำรงชีพของสัตว์เท่านั้น
  • ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยใบพืชตะกลูถั่ว หรือใบมันสำปะหลังอัตรา 0.5 - 1 กก. / ตัว / วัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักสัตว์ในช่วงแล้ง
  • ใช้ฟางข้าวที่ราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล (อัตราที่ใช้คือ ยูเรีย : กากน้ำตาล : น้ำ : ฟาง : เท่ากับ 1.5 : 7.5 : 80 : 100 หน่วยน้ำหนักเดียวกัน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟาง และเพิ่มความน่ากิน
  • ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่ง (หรือฟางหมัก) จะเพิ่มโปรตีนและการย่อยได้สูงขึ้น

ข้อแนะนำการใช้

  • การใช้ฟางข้าวราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล หรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ ควรให้อาหารข้นเสริมด้วยในกรณีสัตว์ที่ให้ผลผลิต เช่น ในโคนม ใช้ฟางปรุงแต่งร่วมกับอาหารข้นที่โปรตีนรวมไม่ต่ำกว่า 15% ยอดโภชนะย่อยได้ไม่น้อยกว่า 65% อัตราที่ให้เสริม 1 กก. ต่อการผลิตน้ำนม 2 - 2.5 กก. เพื่อให้มีส่วนสัมพันธ์กันในการใช้ประโยชน์จากอาหารได้เต็มที่
  • การใช้ฟางข้าวหรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ เป็นระยะเวลานาน ควรเสริมไวตามิน AD3E ให้ด้วยการฉีด หรือเพิ่มให้เพียงพอในกรณีให้อาหารข้นร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาด

 

ยอดอ้อย  คุณสมบัติ

  • เป็นวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อย ได้แก่ส่วนยอดรวมทั้งใบบริเวณยอดหรือปลายลำต้น
  • ยอดอ้อยหมัก เป็นกรรมวิธีเก็บยอดอ้อยสดไว้ใช้นอกฤดูการผลิต ในการหมักเติมวัตถุดิบเช่น กากน้ำตาล ยูเรีย หรือรำ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและเร่งขบวนการหมัก
  • ยอดอ้อยสดและหมัก มีความน่ากินสูงกว่ายอดอ้อยอบแห้ง

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ได้ทั้งในรูปสด หมัก หรืออบแห้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เช่น ใบพืชตะกลูถั่ว ใบมันสำปะหลัง เพราะยอดอ้อยมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
  • ยอดอ้อยมักมีอยู่ในไร่แบบกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเก็บรวบรวมมาใช้
  • ในกรณีที่มีการเลี้ยงโค - กระบืออยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ปลูกอ้อย ควรนำวัสดุเหลือนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ และเก็บถนอมไว้ใช้ในกรณีมีมากเหลือเฟือ ในช่วงขาดแคลนอาหารหยาบ
  • กรณีใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง ควรเสริมอาหารข้น ที่ปรับระดับพลังงานและโปรตีนให้สูงขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ต้นถั่วลิสง

คุณสมบัติ

  • ส่วนลำต้นและใบหลังเก็บเกี่ยวฝักแล้ว ยังมีสีเขียวอยู่เล็กน้อย

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้เป็นอาหารหยาบ ทั้งในรูปสด ตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย แต่ใช้ในรูปสดจะได้ประโยชน์มากกว่า และคสรใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่นฟางข้าว เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์
  • ต้นถั่วลิส่งหลังจากเก็บเมล็ดแล้วถ้าปล่อยให้แห้งเกินไป ใบจะร่วงเหลือส่วนของลำต้นซึ่งแข็งสัตว์กินได้น้อย

ข้อแนะนำการใช้

  • ในแหล่งที่ปลูก เศษเหลือของต้นถั่วลิส่งที่มีมาดควรเก็บถนอมไว้ใช้นาน ๆ โดยการตากแห้งและรวบรวมไว้

 

เปลือกฝักและต้นถั่วลิส่ง

คุณสมบัติ

  • ส่วนของต้นใบและเปลือกฝักถั่วลิส่งหลังเก็บเกี่ยวและนวนเอาเมล็ดออกแล้ว

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้เป็นอาหารหยาบในโคกระบือ ในรูปตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย
  • ใช้เสริมร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟาง
  • เปลือกฝักและต้นถั่วที่ผ่ายการนวดเอาเมล็ดออกแล้วมักมีเศษชิ้นย่อยเล็ก ๆ เวลาสัตว์กินจะฟุ้งกระจาย สูญเสีย และกินได้น้อย

ข้อแนะนำการใช้

  • เช่นเดียวกับต้นถั่วลิส่ง

 

เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อน

คุณสมบัติ

  • เป็นผลพลอยได้จากการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ประกอบด้วยส่วนของเปลือกและไหม ส่วนของลำต้นและยอดอ่อน ซึ่งถอนจากต้นก่อนเก็บฝักข้าวโพด

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้ในรูปของอาหารหยาบ ใช้มากในโคนม โคขุน
  • ใช้ในรูปของพืชสด ใช้แทนหญ้า หรือสลับกับหญ้า
  • ทำเป็นพืชหมัก เก็บไว้ใช้ได้นาน
  • ในส่วนของยอดข้าวโพดมีโปรตีนสูง โคชอบกินมาก แต่มีจำนวนน้อย

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ ในโคนมอาจกินได้ถึงวันละ 30 - 50 กก. / ตัว / วัน
  • การใช้เป็นอาหารโคนมขณะกำลังให้นม ควรให้อาหารข้นอย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
  • ควรกั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ หากให้กินตั้งแต่ต้นสัตว์จะเลือกกินเฉพาะใบจะเหลือต้นทิ้งจำนวนมาก

 

เปลือกสับปะรด

คุณสมบัติ

  • เป็บผลพลอยได้จากโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ประกอบด้วย ส่วนของเปลือกแกนกลาง เศษเนื้อ และจุก(ตะเกียง) รวมทั้งผลที่คัดทิ้งจากไร่และพ่อค้ารายย่อย

การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์

  • ใช้ได้ดีในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม ดคเนื้อ แพะและแกะ
  • ใช้เป็นอาหารหยาบในรูปของเปลือกสับปะรด แห้ง และหมัก
  • ใช้ผสมอาหารข้นในรูปของเปลือกสับปะรดแห้ง

ข้อแนะนำในการใช้

  • เปลือกสับปะรดใหม่ ๆ โคไม่ชอบกิน ควรกองทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โคจะกินได้มากขึ้น
  • ให้กินได้เต็มที่ แต่ควรระวังเรื่องอุจาระเหลว เพราะเปลือกสับปะรดมีน้ำมาก
  • ควรใช้เปลือกสับปะรดร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือหญ้าสด เพื่อให้ได้เยื่อใยเพียงพอ
  • การให้เปลือกสับปะรดในโคนมที่กำลังให้นม ควรให้อาหารข้นย่างเพียงพอ เพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

 

กากมะเขือเทศ

คุณสมบัติ

  • ผลพลอยได้จากโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศ

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด

  • ใช้เป็นอาหารหยาบโดยเสริมร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าสด หญ้าแห้ง หรือฟางข้าว เป็นต้น
  • กากมะเขือเทศตากแห้ง ใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนได้บางส่วนในสูตรอาหารข้น
  • ไม่สามารถเก็บกากมะเขือเทศไว้ได้นาน จะเน่าเสียและขึ้นราได้ง่าย

ข้อแนะนำในการใช้

  • ในแหล่งผลิตหรือใกล้ดรงงานที่มีกากมะเขือเทศปริมาณมาก ควรเก็บถนอมไว้ใช้ในรูปของกากมะเขือเทศแห้ง หรือหมัก สามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง