ภายใน เข้าในหรือออกนอกเขตสงสัยว่ามีโรคระบาด
เคลื่อนย้ายสัตว์ปีกมีชีวิตที่มีการเลี้ยงลักษณะฟาร์มหรือมีการเลี้ยงตั้งแต่ 200 ตัวขึ้นไป
1. ยื่นแบบคำขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดต้นทาง
2. แหล่งที่มาต้องไม่มีภาวะโรคระบาด
3. ต้องเป็นฟาร์มมาตรฐานหรือได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์
4. ต้องให้ผลการตรวจ Cloacal Swap เป็นลบ โดยต้องสุ่มเก็บตัวอย่างอุจจาระสัตว์ปีกทุกครั้งก่อนการเคลื่อนย้ายประมาณ 10 วันเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการตรวจวิเคราะห์และเตรียมการเคลื่อนย้าย
5. หากเป็นไก่ไข่นอกจากสุ่มเก็บตัวอย่างก่อนเคลื่อนย้ายตามระยะเวลาดังกล่าวแล้วฟาร์มต้องมี Cloacal Swab เป็นลบโดยสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 60 วันด้วย
6. สำหรับลูกสัตว์ปีกต้องมาจากฟาร์มพ่อแม่พันธุ์หรือฟาร์มปู่ย่าพันธุ์ที่มีผลการสุ่มตรวจ Cloacal Swab เป็นลบโดยสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 60 วัน
7. ใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ข้อ (4) มีอายุ 4 วัน นับจากวันที่เกษตรกรได้รับแจ้งผลการตรวจ
8. สัตว์ปีกที่จะเคลื่อนย้ายต้องมีสุขภาพสมบูรณ์
9. พื้นที่ปลายทางต้องไม่มีโรคระบาด หากเป็นฟาร์มต้องเป็นฟาร์มมาตรฐาน หรือผ่านหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่และมีหนังสือรับรองจากปศุสัตว์จังหวัดปลายทางว่าสามารถนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่ได้ หากเป็นโรงฆ่าสัตว์ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์
เคลื่อนย้ายไก่ชนและสัตว์ปีกอื่นที่เลี้ยงไม่เป็นลักษณะฟาร์ม
1. ผู้เลี้ยงไก่ชนหรือสัตว์ปีกอื่นที่เลี้ยงไม่เป็นลักษณะฟาร์มจะต้องขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงกับกรมปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะสุ่มตรวจ Cloacal Swab สัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่เป็นประจำทุก 60 วัน
2. ไก่ที่มีไว้เพื่อชนต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชนและต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชนต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ในระหว่างทางการเคลื่อนย้ายหรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง
3. สัตว์ปีกอื่นที่เลี้ยงไม่เป็นลักษณะฟาร์ม หากมีการเคลื่อนย้าย เจ้าของต้องขออนุญาตต่อสัตวแพทย์ประจำท้องที่และสัตวแพทย์ประจำท้องที่จะตรวจสอบสุขภาพสัตว์รวมถึงพื้นที่ต้นทางและปลายทาง
เคลื่อนย้ายซากสัตว์ปีก
1. รับแบบคำขออนุญาต
2. ซากสัตว์ไม่มีพยาธิสภาพของโรคระบาด
3. ไม่ใช่ซากสัตว์ปีกที่มาจากแหล่งที่เกิดโรคระบาด
4. ซากสัตว์ปีกนั้นต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์
5. เมื่อได้ตรวจสอบตาม 1,2,3 และ 4 สัตวแพทย์ประจำท้องที่หรือสัตวแพทย์ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาออกใบอนุญาต
เคลื่อนย้ายไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์หรือไข่ฟัก
1. รับแบบคำขออนุญาต
2. แหล่งที่มาต้องไม่มีภาวะโรคระบาด
3. พ่อแม่พันธุ์หรือปู่ย่าพันธุ์ต้องมีผลการสุ่มตรวจ Cloacal Swab เป็นลบ โดยสุ่มตรวจประจำทุก 60 วัน
เคลื่อนย้ายไข่สำหรับบริโภค
ควบคุมเคลื่อนย้ายไข่สำหรับบริโภคเฉพาะในพื้นที่รัศมี ๕ กิโลเมตร จากจุดที่ตรวจพบว่าเป็นโรคระบาด โดยให้ทำลายเชื้อโรคที่ไข่ก่อนการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง ส่วนพื้นที่ที่ไม่เกิดโรคให้เคลื่อนย้ายได้โโยมิต้องขออนุญาตแต่อย่างใด
วิธีการปฏิบัติในการออกใบอนุญาตจากต้นทาง
1. ก่อนการออกใบอนุญาตจะแจ้งการขออนุญาตนำสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกไปให้สัตวแพทย์ประจำท้องที่ปลายทางซึ่งสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกนั้นจะเคลื่อนย้ายไปโดยวิธีด่วนที่สุด โดยวิธี Fax หรือ E-mail
2. กำหนดจำนวนวันที่ให้ใช้ใบอนุญาตให้เหมาะสมกับระยะทางที่จะนำสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกนั้นไปถึงปลายทาง แต่ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงจากวันออกใบอนุญาตเป็นต้นไป และกำหนดเส้นทางในการเคลื่อนย้ายผ่านด่านกักกันสัตว์ และจะแจ้งให้ด่านกักกันสัตว์ และจะแจ้งให้ด่านกักกันสัตว์ระหว่างทางทราบโดยด่วน เพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
3. กรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะขอส่งสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกจำนวนหลายคันจะออกใบอนุญาตเป็นรายคัน
4.ผู้ออกใบอนุญาตหรือสัตวแพทย์ที่ได้รับมอบหมายจะไปทำการตรวจโรคระบาดสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกที่ได้รับอนุญาตหากไม่พบโรคระบาดให้ควบคุมการนำสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกขึ้นยานพาหนะให้เรียบร้อยพร้อมทั้งให้ดำเนินการทำลายเชื้อโรคระบาดก่อนที่จะมอบใบอนุญาตเคลื่อนย้ายให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตพร้อมแบบใบตอบรับสัตว์หรือซากสัตว์
การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ปลายทาง
เมื่อสัตวแพทย์ประจำท้องที่ปลายทางได้รับแจ้งการมาถึงของสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกแล้วจะรีบเดินทางไปตรวจสอบและบันทึกรายการในใบตอบรับสัตว์หรือซากสัตว์แล้วส่งคืนต้นทางโดยด่วน
ในกรณีไก่เนื้อเพื่อการส่งออกจะสุ่มเก็บตัวอย่างโดยวิธี Cloacal swab ด้วย โดยสัตวแพทย์ประจำโรงฆ่าสัตว์ปีกเป็นผู้ดำเนินการ
การดำเนินงานเมื่อตรวจพบโรคไข้หวัดนก
1. สัตวแพทย์จะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของทำลายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกทั้งหมดในรัศมี 1 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค
2. ภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรคให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือสารวัตรหรือสัตวแพทย์จะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของกักสัตว์ปีกให้เลี้ยงอยู่ที่เดิมอย่างน้อย 21 วัน หรือจนกว่าโรคสงบ และสัตวแพทย์เข้าตรวจสอบทุก 3 วัน หากพบการตายผิดปกติให้พิจารณาทำลาย
3. เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้าสำรวจพื้นที่อำเภอที่เกิดโรคและอำเภอใกล้เคียงเพื่อค้นหาโรคไข้หวัดนกอย่างละเอียด
4. สัตวแพทย์ประจำท้องที่ระงับการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกภายใน เข้าใน หรือออกนอกเขตรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค
5. เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ร่วมกับตำรวจ ทหาร เข้าตั้งจุดตรวจสกัดกั้นการเคลื่อนย้าย สัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรอบรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค
6. สัตวแพทย์ออกประกาศหรือสั่งเป็นหนังสือให้บรรดาเจ้าของแจ้งจำนวนสัตว์ปีกที่ตนเองครอบครองให้ทราบทั้งหมด