Leishmaniasis                 Leishmaniasis เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากเชื้อใน genus  Lieshmania  ซึ่งเป็น protozoa และมีหลาย species โดยมีตัวริ้น (Sandfly ; tabanids ; Phlebotomus spp.) เป็น reservoir  host ของโรค  มนุษย์เราก็เป็น  เป็น reservoir  host ของ Lieshmania บาง species   ริ้นตัวเมียจะกินเลือดเป็นอาหารเมื่อดูดเลือดจากพาหะซึ่งอาจเป็นคนหรือสัตว์  เมื่อเข้าสู่ตัวแมลงเชื้อจะพัฒนาไปเป็นรูปแบบที่สามารถติดจากแมลงไปสู่คนและสัตว์อื่นได้  
                




                 

                            Lieshmaniasis  มักพบแพร่กระจายอยู่แถบตอนกลางและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา  อเมริกา เอเชีย และแถบเมดิเตอเรเนียน   อาการที่พบส่วนใหญ่เป็นแบบ cutaneous lieshmaniasis (เป็นแผลหลุมที่ผิวหนัง) มีเพียง L. tropica  เท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์โดยมีแมลงเป็นพาหะ มี  Lieshmania  สัตว์ตัวที่สำคัญที่จะเป็นแหล่งแพร่โรคมายังมนุษย์คือพวกสัตว์ฟันแทะ (rodents) และพวก hyrax (Procavia capensis) ซึ่งมีแหล่งที่อยู่อาศัยแถบตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา สาเหตุที่ติดโรคเนื่องจากมีอาชีพที่ต้องเข้า ป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พวกนี้ ส่วนกรณีที่เกิด visceral lieshmaniasis (เชื้อเข้าสู่อวัยวะภายใน ;Kala azar)ก็เป็นชนิดโรคสัตว์สู่คนเช่นเดียวกันพบได้ในประเทศจีนแถบเมดิเตอเรเนียนและทวีปอเมริกา  โรคนี้มีสัตว์ประเภทสุนัขเป็นแหล่งเพาะโรค
โดยพบโรคนี้อุบัติขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว  พบครั้งแรกในปี 1756 ในผู้ป่วยชาวตุรกี  และเรียกโรคนี้ว่า Aleppo boil เพราะหลังจากหายแล้วจะเกิดแผลเป็นที่น่าเกลียดติดไปตลอดชีพ


Lieshmania
Lieshmania  spp. เป็น protozoa โดยมีหลาย species ที่ทำให้เกิดโรคในคน  เฉพาะ 
L. donovani  เท่านั้นที่ทำให้เกิด  visceral lieshmaniasis (เชื้อเข้าสู่อวัยวะภายใน ; Kala azar)
เชื้อนี้อาจมี 1 หรือหลาย flagella เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่เมื่ออยู่ในของเหลวเช่น เลือด หรือในลำไส้ เมื่อสภาพที่อาศัยอยู่เปลี่ยนไปเชื้อก็จะเปลี่ยนรูป โดยเมื่ออยู่ในเนื้อเยื่อมันจะสลัดหางทิ้ง  พวกที่มีหางแบ่งเป็น 2 ประเภท  พวกที่อยู่ในกระแสเลือดหรืออวัยวะภายในเรียกว่า hemaflagellates  พวกที่อยู่ในลำไส้มนุษย์เรียกว่า intestinal flagellates

Pathogenesis
ระยะฟักตัว 3-6 เดือน เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดมันจะเจาะเข้าสู่เซลล์ระบบไหลเวียน (reticulo endothelial system) แบ่งตัวจนได้ 50 -200 ตัว  แล้วจะแพร่กระจายออกจากเซลล์  อาการแบ่งได้เป็น 3 แบบ

  1. Inapparent infection Skin test positive  ตรวจพบภูมิคุ้มโรค แต่ไม่มีอาการ
  2. Kala azar ไข้สูงเฉียบพลัน 104F  2 ช่วงห่างกัน 24 ชั่วโมง รายที่เรื้อรังอาจไม่มีไข้  inguinal และ femoral ln. บวม  ม้ามโต  ผู้ป่วยร้อยละ 10 มีภาวะดีซ่าน
  3. Unusal form of visceral lieshmaniasis  ต่อมทอนซิลอักเสบ cervical ln. บวม  มีการเพิ่มจำนวนของเชื้ออย่างรวดเร็วทำให้เกิดเนื้อตาย ผู้ป่วยจะตายภายใน 4 -6 สัปดาห์
  4. Cutaneous lieshmaniasis  แบ่งเป็น 2 แบบ

- เกิดจากเชื้อ L. tropica  major เกิดแผลหลุมที่ผิวหนัง 1 หรือหลายแห่ง  ระยะฟักตัวสั้น แผลจะหายภายใน 1 ปี
- เกิดจากเชื้อ L. tropica  minor  เกิดแผลหลุมที่ผิวหนังเพียงแห่งเดียว  ระยะฟักตัว
ยาว  เนื้อเยื่อถูกทำลายไม่มาก
การรักษา 
ใช้ Sodium stibogluconate  ซึ่งเป็นเกลือของโลหะพวงจับกันแบบ 5 แขน (pentavalent)
การป้องกัน 
กำจัดแมลงพาหะ  ทายากันยุงที่ผิวหนัง  ใช้ตาข่ายตาถี่  การกำจัดสัตว์ฟันแทะใช้ไม่ได้ผลในบางแห่ง  ต้องแยกผู้ป่วยและกางมุ้ง  ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเพื่อจะได้ไม่ติดเชื้อซ้ำ