การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ณัฐวุฒิ ปุรินทราภิบาล, บัญชา สัจจาพันธ์, ปัญญา ธรรมศาล

บทคัดย่อ

                      การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกร ความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม บทบาทการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่ม ปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษาคือเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ที่ร่วมในกิจกรรมพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่ม จำนวน 79 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าไคสแควร์
                      ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นสมาชิกกลุ่ม เข้ากลุ่มมานานเฉลี่ย 3 ปี โดยสาเหตุมาจากการชักชวนของเพื่อนบ้าน เพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมกลุ่ม ส่วนใหญ่มีอาชีพการทำสวนยางเป็นหลัก โดยเฉลี่ยจะเลี้ยงโคเนื้อมานาน 7 ปี มีการกู้เงินมาใช้ในการเลี้ยงโคเนื้อ การเลี้ยงจะใช้วิธีปล่อยเลี้ยงในแปลงหญ้าของตนเอง โดยพันธุ์โคเนื้อที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองลูกผสมบราห์มันและลูกผสมชาโรเล่ย์ มีจำนวนโคต่อฟาร์มเฉลี่ย 6 ตัว ใช้การผสมเทียมจากหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก จะทำวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิกเซปติกซีเมียเฉพาะในช่วงเวลามีโรคระบาดเท่านั้น หากสัตว์ที่เลี้ยงเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติจะนิยมตามสัตวแพทย์มารักษา
ประเด็นที่เกษตรกรคาดหวังมากที่สุดในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มคือ การเพิ่มโอกาสในการรับข่าวสารความรู้ โดยเรื่องที่เกษตรกรมีบทบาทและส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มมากที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือกับเพื่อนเกษตรกรในเรื่องการเลี้ยงโคเนื้อ สำหรับปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่พบในการเลี้ยงโคเนื้อ ได้แก่ ปัญหาขาดแหล่งเงินทุนสินเชื่อและขาดความรู้ด้านหลักวิชาการในการเลี้ยงโคเนื้อ และต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในการจัดหาพ่อพันธุ์โคมาบริการสมาชิกมากที่สุด
                       ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าสถานภาพของเกษตรกรในกลุ่ม ความคาดหวังเกี่ยวกับการเพิ่มโอกาสในการได้รับแจกปัจจัยการผลิตและ  การสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงโคเนื้อให้เพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : ความคาดหวัง การมีส่วนร่วม เกษตรกร กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์
1. เลขทะเบียนผลงานทางวิชาการ 48 (3) - 1116 (9) - 116
2. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง
3. สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ที่ 9
4. สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี

The Participatory Action on the Cattle- Raising Activity of the Farmers in the Tambon Don Sai Farm Animal-Raising Group , Kuan Kanun District , Phatthalung Province 1
Nattawut Purintrapibal2 , Bancha Satchaphun3, Panya Thammasal4

Abstract

                   The purposes of this study were some demographics, socio-economic and information sources related to the expectation and participatory action of the farmers for joining cattle-raising and group activities. The problems and needs of the farmer in supporting their animal raising. The investigation was collected by interview schedule on 79 farmers in the cattle-raising activity of the farm animal-raising group , Tambon Don Sai , Kuan Kanun District , Pattalung Province. The data were analysis by using statistic measurement with computer program.
                   The study results showed that must farmers were make with an average age of 45 and a primary school educations. Most of them were the members of the group for 3 years long on average, and they were persuaded to join the group by the neighbors and see through the benefit of joining the group. Para-plantation were their main occupation and they were raising the cattle for 7 years which average farm size of 6 cattle per farm on average. Most of them had got loan for cattle raising. and the cattle were grazing in the farm pasture. Native breed , Brahman cross breed and Chalolais cross breed were 3 main breeds raised by most of the farmers and the farmers were using artificial insemination from the government service. The farmers vaccinated their cattle for FMD and Hemorrhagic Septicemia diseases when there was an out break of the diseases only and when the animals sick , veterinarian were called. The issue that the farmer expected in joining the group activity was in getting more chance knowing more news and knowledge.
                    The farmers participatory action aspect most of the farmers got advise and exchange their knowledge of cattle-raising with in their group. Lack of budget and loan resources and the know ledges on cattle-raising were major problems of the farmers. They wanted the bulls supporting from the government sector for servicing the groups' members.
                    The hypothesis were proved that their farmers with difference in status in the group , expect in getting production factors and more confident in cattle-raising career relate to the participatory action in cattle-raising for statistically significant.

Keyword : Expectation , Participation ,Farmer , Farm Animal-Raising Group
1. Research Project No. 48 (3) - 1116 (9) - 116
2.  Pattalung Provincial Office.
3.  Regional Bureau of Animal Health and Sanitary 9.
4. Bereau of Livestock Development and Technology Transfer , Department of Livestock Development.