paraการเมล็ดยางพารา แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดกะเทาะเปลือกและไม่กะเทาะเปลือก ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างกัน ส่วนของเมล็ดยางที่ผ่านการอัดน้ำมันหรือสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี มีกลิ่นหอมชวนกิน ชนิดกระเทาะเปลือกออกมีคุณค่าทางอาหารดีกว่า และคุณสมบัติใกล้เคียงกับกากถั่วลิสง และกากเมล็ดฝ้าย มีโปรตีน 28-30% เยื่อใย 9% และยอดโภชนะย่อยได้ 63% และชนิดไม่กะเทาะเปลือกมีโปรตีน 16% เยือใย 42% และยอดโภชนะย่อยได้ประมาณ 58% เนื่องจากกากเมล็ดยางพารามีสารพิษ คือ กรดไฮโดรไซยานิคอยู่ซึ่งสามารถทำให้ปริมาณสารพิษนี้ลดได้โดยการเก็บกากเมล็ดยางพาราทิ้งไว้เฉยๆ นาน 1 เดือน หรือนำไปอบด้วยความร้อน 100 องศาเซนติเกรด นาน 18 ชั่วโมง หรือผึ่งกลางแดดดีๆ เป็นเวลา 2 แดด จากการทดลองใช้กากเนื้อในเมล็ดยางพาราในสูตรอาหารข้นสำหรับเลี้ยงแพะ พบว่า สามารถใช้ได้ถึง 20 % แต่ถ้าใช้มากกว่านี้ส่งผลให้ปริมาณการกินได้ และการย่อยได้ของ

เนื้อเยื่อใยในอาหารโดยรวมลดลง (Chanjula et al.,2011)

  

 

 

para1

กากเมล็ดยางพารา (Para rubber seed meal)
เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดยางพาราของโรงงานผลิตน้ำมันพืช

 

คุณสมบัติ

 

กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือกมีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์
กากเมล็ดยางพาราชนิดกระเทาะเปลือก มีโปรตีน 26-29 เปอร์เซ็นต์
โปรตีนในกากเมล็ดยางพารามีคุณภาพใกล้เคียงกับกากถั่วลิสง เนื่องจากมีกรดอะมิโน
เมทไธโอนีนต่ำ แต่มีไลซีนสูง

ข้อจำกัดในการใช้

กากเมล็ดยางพารามีสารพิษกรดไฮโดรไซยานิค เช่นเดียวกับในมันสำปะหลังสดถ้าใช้มากในสูตรอาหารจะทำให้สัตว์โตช้า
กากเมล็ดยางพาราที่มีเปลือกมีเยื่อใยสูง

ข้อแนะนำในการใช้

ควรใช้กากเมล็ดยางพาราที่ผ่านขั้นตอนการลดสารพิษดังกล่าวโดยวิธีการ เช่นใช้กากเมล็ดยางพาราที่ได้จากการเก็บเมล็ดสดไว้เป็นเวลานานก่อนนำมาบีบน้ำมันหรือ การให้ความร้อนแก่เมล็ดยางพาราก่อนบีบน้ำมัน

ควรใช้กากเมล็ดยางพาราระดับต่ำในสูตรอาหาร คือ 10% ในสัตว์เล็ก และ 20-30% ในสัตว์ระยะรุ่น-ขุน และต้องเสริมไขมันหรือปรับระดับพลังงานให้พอเพียงด้วย

 

ส่วนประกอบทางเคมี

                

ส่วนประกอบ (%)

กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก

กากเมล็ดยางพาราชนิดกระเทาะเปลือก

ความชื้น

8

8

โปรตีน

16

27.0

ไขมัน

6.33

11.5

เยื่อใย

41.52

14.0

เถ้า

4.01

4.50

แคลเซียม

0.22

0.13

ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้

0.09

0.20

พลังงานใช้ประโยชน์ได้(กิโลแคลอรี่/กก.)

ในสุกร

1,800

2,400

ในสัตว์ปีก

1,800

2,550

กรดอะมิโน (%)

ไลซีน

0.32

0.65

เมทไธโอนีน

0.06

0.22

เมทไธโอนีน + ซีสตีน

0.22

-

ทริปโตเฟน

-

0.33

ทรีโอนีน

0.42

0.62

ไอโซลูซีน

0.44

0.68

อาร์จินีน

1.53

1.85

ลูซีน

0.91

1.39

เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน

0.86

0.76

อิสติดีน

0.47

0.51

เวลีน

0.84

1.36

ไกลซีน

0.77

-