ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดในงาน ของดีนราธิวาส ประจำปี 2562
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 9.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมร...

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 209 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

492950
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
182
757
3251
483292
17392
15863
492950

Your IP: 18.232.185.167
2024-03-29 06:03

 

kurt

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในมาตรา 57 บัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ…………”พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มีบทบัญญัติหลายมาตราที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับคุณภาพของอหารสัตว์แก่ผู้ที่ซื้อใช้อาหารสัตว์ ดังนี้

1. เกษตรกรผู้ซื้อใช้อาหารสัตว์จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพของอาหารสัตว์ที่ถูกต้อง เช่น สิทธิที่จะได้รับรู้การโฆษณาคุณภาพอาหารสัตว์หรือการแสดงข้อความบนฉลาก ของผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยต่อสัตว์ หรือมีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์อันอาจมีผลมาถึงมนุษย์ผู้บริโภค
2. เกษตรกรผู้ซื้อใช้อาหารสัตว์จะได้รับความคุ้มครองคุณภาพอาหารสัตว์ เช่น สิทธิที่จะได้รับอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เหมาะสมแก่การใช้เลี้ยงสัตว์ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ โดยจะมีพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบยังสถานที่ผลิต หรือสถานที่เก็บอาหารสัตว์ซึ่งนำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่เป็นประจำ
3. เกษตรกรผู้ซื้อใช้อาหารสัตว์จะได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อใช้อาหารสัตว์ เช่น สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์อันเกิดมาจากอาหารสัตว์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานเมื่อเกษตรกรผู้เสียหายนำเรื่องมาร้องเรียนต่อกรมปศุสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์จะเป็นผู้ดำเนินการทางกฎหมายเอาผิดกับผู้ประกอบการอาหารสัตว์นั้นแทนเกษตรกร

กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ให้ความคุ้มครองเกษตรกรผู้ซื้อใช้อาหารสัตว์
             เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ส่วนมากจะซื้ออาหารสัตว์ที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วมาเลี้ยงสัตว์ แต่ถ้าทำเป็นฟาร์มขนาดใหญ่แล้วจะซื้อสารผสมล่วงหน้า (ฟรีมิกซ์) มาผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ตามหลักสูตรอาหารสัตว์ที่กำหนดไว้ และส่วนมากจะซื้อใช้ตามคำแนะนำของตัวแทน ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพอาหารสัตว์ จึงไม่ทราบว่า อาหารสัตว์ที่ซื้อมาใช้นั้น มีคุณภาพตามคำแนะนำหรือที่โฆษณาตามสื่อต่างๆหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ได้รับอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ และนำเข้าซึ่งอาหารสัตว์จากกรมปศุสัตว์ประมาณ 350 รายและ 250 รายตามลำดับ ฉะนั้นพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 จึงได้ตราขึ้นมาเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาด้านคุณภาพของอาหารสัตว์เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วจะคุ้มครองผลประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้อได้อย่างไร ซึ่งพอจะให้รายละเอียดได้ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจออกประกาศกระทรวงฯ เพื่อกำหนดข้อบังคับต่างๆ ดังนี้
1.1 กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะทางอาหารสัตว์ที่จะต้องควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ เพราะฉะนั้นอาหารสัตว์ชนิดใดที่ถูกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้ควบคุมก็จะมีผลการควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ และกรมปศุสัตว์ได้เสนอการควบคุมอาหารสัตว์ต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์โดยคณะกรรมการนี้ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นรองประธานกรรมการกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสิบสองคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากเกษตรกรสี่คนเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์กรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งขณะนี้ได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดว่าอะไรเป็นอาหารสัตว์ที่ต้องควบคุมโดยแยกตามประเภทชนิด ได้ดังนี้
          1.1.1 ประเภทวัตถุที่ผสมแล้ว มี 3 ชนิด คือ
                    - หัวอาหารสัตว์
                    - อาหารสัตว์สำเร็จรูป
                    - สารผสมล่วงหน้า (ฟรีมิกซ์)
 

           สารผสมล่วงหน้า (ฟรีมิกซ์) คือวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์และสื่อ
          สื่อคือวัตถุที่ใช้ในการเจือจาง หรือใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ และให้ความหมายรวมถึงสื่อประเภทส่วนของพืช แร่ธาตุ กาก น้ำตาล ผลิตผลที่เหลือจากการหมัก น้ำมันที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ วัสดุที่เหลือจากการเกษตรที่ปลอดภัย เคลย์ (Clay) ซิลิคอนไดออกไซด์ (Silicon dioxide) เคโอลิน (Kaolin) และแป้งจากพืชที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ด้วย

            วัตถุที่ผสมแล้วทั้ง 3 ชนิดต้องใช้สำหรับเลี้ยงไก่ เป็ด สุกร โค กระบือ กระต่าย นกกระทา กุ้งทะเล กุ้งน้ำจืด ปลาดุก และปลาน้ำจืดกินพืช
            1.1.2 ประเภทอาหารสัตว์ผสมยา
                      “อาหารสัตว์ผสมยา” หมายความว่าอาหารสำเร็จรูป หัวอาหารสัตว์และสารผสมล่วงหน้าที่มีส่วนผสมของยาหรือเภสัชเคมีภัณฑ์หรือวัตถุ ที่เติมในอาหารสัตว์ในปริมาณที่จำกัดตามขนาดการใช้ของยา หรือเภสัชเคมีภัณฑ์หรือวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์แต่ละชนิดเพื่อเสริมสุขภาพในการป้องกันและกำจัดโรคสัตว์
            1.1.3 ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ มี 19 ชนิด คือ
- ปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 1
- ปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 2
- ปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 3
- ถั่วเหลืองอบ
- กากถั่วเหลือง
- กากถั่วลิสง
- รำข้าว ได้แก่ รำละเอียด รำหยาบ รำสกัดน้ำมัน
- ข้าวโพดเมล็ด เกรด 1
- ข้าวโพดเมล็ด เกรด 2
- ข้าวโพดป่น เกรด 1
- ข้าวโพดป่น เกรด 2
- ปลาและกระดูกปลาป่น
- เนื้อป่น
- เนื้อป่นสกัดไขมัน
- เนื้อและกระดูกป่น (โปรตีน 50 %)
- เนื้อและกระดูกป่น (โปรตีน 45 %)
- ขนสัตว์ปีกป่น จำพวกขนนก ขนไก่ ขนเป็ด และขนห่าน
วัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่อนุญาตให้ผสมได้ในอาหารสัตว์เพื่อใช้เลี้ยงไก่ เนื้อ สุกร โค กระบือ ยกเว้นพวก เนื้อป่น สกัดไขมัน เนื้อและกระดูกป่นห้ามใช้ผสมผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง และขนสัตว์ปีกป่นกำหนดให้ใช้เฉพาะผสมในอาหารสำหรับ เป็ด ไก่ สุกร และโค
                1.1.4 ประเภทผลิตภัณฑ์นมสำหรับสัตว์ ใช้กับสัตว์ทุกประเภทมี 6 ชนิด คือ
- นมผงสำหรับสัตว์ (Whole Milk Powder Feed Grade) ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากนมโค ระเหยน้ำออกโดยกรรมวิธีต่างๆ จนเป็นผง
- หางนมผงสำหรับสัตว์ (Skimmed Milk Power and Butter Milk Powder Feed Grade) ต้องเป็นนมผงสำหรับสัตว์ที่สกัดไขมันออกบางส่วนและระเหยน้ำออก โดยกรรมวิธีต่างๆ จนเป็นผง และเติมวัตถุดับอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้เหมาะสม
- หางเนยผงสำหรับสัตว์ (Whey Powder) ต้องเป็นผลิตภัณฑ์จากส่วนที่เหลือจากขบวนการทำเนยแข็งนำมาระเหยน้ำและทำให้แข็ง
- อาหารแทนนมสำหรับสัตว์ (Milk Replacer) ต้องเป็นผลิตภัณฑ์นมที่นำมาเติมวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อให้มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับนมธรรมชาติ
- หางนมผงดัดแปลงสำหรับสัตว์ (Dematured Whey Powder) ต้องเป็นหางเนยผงที่นำมาเติมวัตถุดิบบางตัว เพื่อเพิ่มคุณภาพให้เหมาะสม
                   1.1.5 ประเภทอาหารเสริมสำหรับสัตว์
                 อาหารเสริมสำหรับสัตว์ หมายความว่า วัตถุที่ผสมแล้ว วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการแก่สัตว์ โดยให้สัตว์กินโดยตรง และหรือทำให้เจือจางก่อนใช้เลี้ยงสัตว์ และหรือใช้ผสมอาหารสัตว์อื่นเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ ได้แก่
- อาหารเสริมโปรตีน
- อาหารเสริมแร่ธาตุ
- อาหารเสริมวิตามิน
- อาหารเสริมไขมัน

1.2)  กำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานทางอาหารสัตว์ ตลอดจนหลักเกณฑ์ และวิธี
                  ผลิตเพื่อขาย หรือขายอาหารสัตว์ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือขายอาหารสัตว์นั้น ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตต้องผลิต หรือนำเข้าซึ่งอาหารสัตว์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานนั้นต้องนำอาหารสัตว์ที่จะผลิตหรือนำมาขอขึ้นทะเบียนสูตรอาหารสัตว์ก่อน เมื่อได้รับใบสำคัญทะเบียนสูตรแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้าอาหารสัตว์เพื่อขายได้ และกรมปศุสัตว์ได้เสนอคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ขอจัดตั้งคณะอนุกรรมการต่าง ๆ จำนวนหลายคณะ เพื่อช่วยในการพิจารณาเกี่ยวกับกำหนดมาตรฐานอาหารสัตว์ วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ การพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ การพิจารณาสื่อโฆษณา และการดำเนินการตามกฎหมาย โดยคณะอนุกรรมการเหล่านี้จะมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนสำหรับคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสัตว์ ได้พิจารณากำหนดมาตรฐานวัตถุดิบอาหารสัตว์เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ เพื่อออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บังคับใช้ต่อไป และเนื่องจากมาตรฐานอาหารสัตว์ได้กำหนดให้มีคุณภาพเช่นเดียวกับที่ได้ขอขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ไว้ จึงได้วางแนวทางการพิจารณาคุณภาพมาตรฐานอาหารสัตว์สำเร็จรูปและหัวอาหารสัตว์ไว้