ปศุสัตว์เขต 9


aniroot967

นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ  เนื่องเม็ก
ปศุสัตว์เขต ๙

ช่องทางการติดต่อ

เบอร์มือถือ :: 0800623035
เบอร์สำนักงาน :: 074-324406
E-mail :: rg09_sgk@dld.go.th
page :: https://www.facebook.com/DLDRegion9/ 

กิจกรรมของสำนักงานปศุสัตว์เขต 9

🌼 ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ เขต 9 ติดตามความก้าวหน้าโครงการโคบาลชายแดนใต้ จ.สงขลา🌼
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 นายสัตวแพทย์ ดร. อนิรุธ เนื่องเม็ก ปศุสัตว์เขต 9 มอบหมายให้ส่วนส่งเส...
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดในงาน ของดีนราธิวาส ประจำปี 2562
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 9.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมร...

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ความรู้เผยแพร่ด้านปศุสัตว์

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์


person2 

person1

 

กำลังออนไลน์

มี 73 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม

504450
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
642
570
3113
497849
10080
18812
504450

Your IP: 18.191.174.168
2024-04-18 23:31

แนวทางการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก
ภายใน เข้าในหรือออกนอกเขตสงสัยว่ามีโรคระบาด

เคลื่อนย้ายสัตว์ปีกมีชีวิตที่มีการเลี้ยงลักษณะฟาร์มหรือมีการเลี้ยงตั้งแต่ 200 ตัวขึ้นไป

1.  ยื่นแบบคำขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดต้นทาง
2.  แหล่งที่มาต้องไม่มีภาวะโรคระบาด
3.  ต้องเป็นฟาร์มมาตรฐานหรือได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์
4.  ต้องให้ผลการตรวจ Cloacal Swap เป็นลบ โดยต้องสุ่มเก็บตัวอย่างอุจจาระสัตว์ปีกทุกครั้งก่อนการเคลื่อนย้ายประมาณ 10 วันเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการตรวจวิเคราะห์และเตรียมการเคลื่อนย้าย
5.  หากเป็นไก่ไข่นอกจากสุ่มเก็บตัวอย่างก่อนเคลื่อนย้ายตามระยะเวลาดังกล่าวแล้วฟาร์มต้องมี Cloacal Swab เป็นลบโดยสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 60 วันด้วย
6.  สำหรับลูกสัตว์ปีกต้องมาจากฟาร์มพ่อแม่พันธุ์หรือฟาร์มปู่ย่าพันธุ์ที่มีผลการสุ่มตรวจ Cloacal Swab เป็นลบโดยสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 60 วัน
7.  ใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ข้อ (4) มีอายุ 4 วัน นับจากวันที่เกษตรกรได้รับแจ้งผลการตรวจ
8.  สัตว์ปีกที่จะเคลื่อนย้ายต้องมีสุขภาพสมบูรณ์
9.  พื้นที่ปลายทางต้องไม่มีโรคระบาด หากเป็นฟาร์มต้องเป็นฟาร์มมาตรฐาน หรือผ่านหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่และมีหนังสือรับรองจากปศุสัตว์จังหวัดปลายทางว่าสามารถนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่ได้ หากเป็นโรงฆ่าสัตว์ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์

เคลื่อนย้ายไก่ชนและสัตว์ปีกอื่นที่เลี้ยงไม่เป็นลักษณะฟาร์ม
1.  ผู้เลี้ยงไก่ชนหรือสัตว์ปีกอื่นที่เลี้ยงไม่เป็นลักษณะฟาร์มจะต้องขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงกับกรมปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะสุ่มตรวจ Cloacal Swab สัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่เป็นประจำทุก 60 วัน
2.  ไก่ที่มีไว้เพื่อชนต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชนและต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชนต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ในระหว่างทางการเคลื่อนย้ายหรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง
3.  สัตว์ปีกอื่นที่เลี้ยงไม่เป็นลักษณะฟาร์ม หากมีการเคลื่อนย้าย เจ้าของต้องขออนุญาตต่อสัตวแพทย์ประจำท้องที่และสัตวแพทย์ประจำท้องที่จะตรวจสอบสุขภาพสัตว์รวมถึงพื้นที่ต้นทางและปลายทาง

เคลื่อนย้ายซากสัตว์ปีก
1.  รับแบบคำขออนุญาต
2.  ซากสัตว์ไม่มีพยาธิสภาพของโรคระบาด
3.  ไม่ใช่ซากสัตว์ปีกที่มาจากแหล่งที่เกิดโรคระบาด
4.  ซากสัตว์ปีกนั้นต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์
5.  เมื่อได้ตรวจสอบตาม 1,2,3 และ 4 สัตวแพทย์ประจำท้องที่หรือสัตวแพทย์ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาออกใบอนุญาต

เคลื่อนย้ายไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์หรือไข่ฟัก
1.  รับแบบคำขออนุญาต
2.  แหล่งที่มาต้องไม่มีภาวะโรคระบาด
3.  พ่อแม่พันธุ์หรือปู่ย่าพันธุ์ต้องมีผลการสุ่มตรวจ Cloacal Swab เป็นลบ โดยสุ่มตรวจประจำทุก 60 วัน

เคลื่อนย้ายไข่สำหรับบริโภค
ควบคุมเคลื่อนย้ายไข่สำหรับบริโภคเฉพาะในพื้นที่รัศมี ๕ กิโลเมตร จากจุดที่ตรวจพบว่าเป็นโรคระบาด โดยให้ทำลายเชื้อโรคที่ไข่ก่อนการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง ส่วนพื้นที่ที่ไม่เกิดโรคให้เคลื่อนย้ายได้โโยมิต้องขออนุญาตแต่อย่างใด

วิธีการปฏิบัติในการออกใบอนุญาตจากต้นทาง
1. ก่อนการออกใบอนุญาตจะแจ้งการขออนุญาตนำสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกไปให้สัตวแพทย์ประจำท้องที่ปลายทางซึ่งสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกนั้นจะเคลื่อนย้ายไปโดยวิธีด่วนที่สุด โดยวิธี Fax หรือ E-mail
2. กำหนดจำนวนวันที่ให้ใช้ใบอนุญาตให้เหมาะสมกับระยะทางที่จะนำสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกนั้นไปถึงปลายทาง แต่ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงจากวันออกใบอนุญาตเป็นต้นไป และกำหนดเส้นทางในการเคลื่อนย้ายผ่านด่านกักกันสัตว์ และจะแจ้งให้ด่านกักกันสัตว์ และจะแจ้งให้ด่านกักกันสัตว์ระหว่างทางทราบโดยด่วน เพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
3. กรณีที่ต้องใช้ยานพาหนะขอส่งสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกจำนวนหลายคันจะออกใบอนุญาตเป็นรายคัน
4.ผู้ออกใบอนุญาตหรือสัตวแพทย์ที่ได้รับมอบหมายจะไปทำการตรวจโรคระบาดสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกที่ได้รับอนุญาตหากไม่พบโรคระบาดให้ควบคุมการนำสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกขึ้นยานพาหนะให้เรียบร้อยพร้อมทั้งให้ดำเนินการทำลายเชื้อโรคระบาดก่อนที่จะมอบใบอนุญาตเคลื่อนย้ายให้กับผู้ขอรับใบอนุญาตพร้อมแบบใบตอบรับสัตว์หรือซากสัตว์

การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ปลายทาง
เมื่อสัตวแพทย์ประจำท้องที่ปลายทางได้รับแจ้งการมาถึงของสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกแล้วจะรีบเดินทางไปตรวจสอบและบันทึกรายการในใบตอบรับสัตว์หรือซากสัตว์แล้วส่งคืนต้นทางโดยด่วน
ในกรณีไก่เนื้อเพื่อการส่งออกจะสุ่มเก็บตัวอย่างโดยวิธี Cloacal swab ด้วย โดยสัตวแพทย์ประจำโรงฆ่าสัตว์ปีกเป็นผู้ดำเนินการ

การดำเนินงานเมื่อตรวจพบโรคไข้หวัดนก
1. สัตวแพทย์จะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของทำลายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกทั้งหมดในรัศมี 1 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค
2. ภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรคให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือสารวัตรหรือสัตวแพทย์จะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของกักสัตว์ปีกให้เลี้ยงอยู่ที่เดิมอย่างน้อย 21 วัน หรือจนกว่าโรคสงบ และสัตวแพทย์เข้าตรวจสอบทุก 3 วัน หากพบการตายผิดปกติให้พิจารณาทำลาย
3. เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้าสำรวจพื้นที่อำเภอที่เกิดโรคและอำเภอใกล้เคียงเพื่อค้นหาโรคไข้หวัดนกอย่างละเอียด
4. สัตวแพทย์ประจำท้องที่ระงับการอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกภายใน เข้าใน หรือออกนอกเขตรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค
5. เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ร่วมกับตำรวจ ทหาร เข้าตั้งจุดตรวจสกัดกั้นการเคลื่อนย้าย สัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรอบรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค
6. สัตวแพทย์ออกประกาศหรือสั่งเป็นหนังสือให้บรรดาเจ้าของแจ้งจำนวนสัตว์ปีกที่ตนเองครอบครองให้ทราบทั้งหมด