ในปี พ.ศ.2538 ได้มีการนำกวางพันธุ์รูซ่า (Cervus timorensis) จากประเทศนิวคาลิโดเนีย ซึ่งเป็นกวางที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าที่หายาก The Convention on International Trade in Endangered Species (CITES) หรือในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย จำนวนกว่า 1,500 ตัว ให้กับเกษตรกรสมาชิก 240 ราย ปัจจุบันคาดว่า (2538-2544) มีกวางรูซ่าเลี้ยงขยายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศประมาณ 5,000 ตัว ขณะที่สถิติจำนวนกวางในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ระหว่างปี 2541-2542 มีกวางจำนวน 2,000 ตัว
ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายอนุญาตให้เลี้ยงกวางไทยเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้ว เนื่องจากกวางไทยมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตเขา เนื้อ และหนังมากกว่ากวางรูซ่า จึงนับว่าเป็นข่าวดีของวงการเลี้ยงกวาง
อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกวางต้องใช้ต้นทุนสูง ค่ารั้ว โรงเรือน อาหาร และค่าพันธุ์กวางรูซ่า ตัวละ 15,000 -25,000 บาท ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาด และสภาพตัวสัตว์ สำหรับในการทำฟาร์มกวางมีการประมาณค่าใช้จ่ายลงทุน จะเป็นค่าที่ดิน 55% ค่าพันธุ์กวาง 23% ค่ารั้ว 11% อุปกรณ์ 4% และค่าอาหารแปลงหญ้า 7% ผลการเลี้ยงจะคืนทุนเมื่อเข้าสู่ปีที่ 5-6 ดังนั้น จึงต้องมีเงินลงทุนระยะยาว แต่อาจสามารถลดต้นทุนลงได้โดยใช้กวางที่เกิดในประเทศเป็นแม่พันธุ์ ใช้วัสดุพื้นบ้านในการกั้นคอก และจัดหาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเลี้ยงกวาง
โดยทั่วไปเกษตรกรจะจำหน่ายลูกวางรูซ่าเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อตัวละ 15,000-25,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความสมบูรณ์พันธุ์ การจำหน่ายเขากวางอ่อนอบแห้ง ราคาส่ง กก.ละ 8,000-10,000 บาท
ราคาการจำหน่ายเขาให้กับผู้บริโภคแบ่งตามสรรพคุณเป็น 3 ส่วน
- ส่วนปลายยอดของเขาอ่อนมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนะมากกว่าส่วนอื่น
- ส่วนกลางใช้รักษาโรคไข้ข้อ
- ส่วนโคนเขาใช้รักษาในผู้ชราที่ขาดแร่ธาตุแคลเซี่ยม
ผลผลิตน้ำหนักของเขากวางและคุณภาพแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และอายุกวาง คุณภาพของเขากวางสามารถแบ่งได้เป็นเกรด โดยเขากวางคุณภาพดีจะมีความยาวของลำเขา (beam) ไม่น้อยกว่า 40 ซ.ม. ขนาดเส้นรอบวงของลำเขาไม่น้อยกว่า 18 ซ.ม. หรือสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์เขากวางอ่อนในรูปแคปซูลจำหน่าย เม็ดละ 12-25 บาท (ขณะที่ต่างประเทศขายในราคา 50 บาท) สำหรับราคาจำหน่ายเนื้อกวางชำแหละ กก.ละ 300-600 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพและชิ้นเนื้อส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถจำหน่ายหนังกวางส่งโรงฟอกเพื่อทำเครื่องหนังเป็นสินค้าส่งออกราคาแพง
ในปี 2541-2542 มีการนำเข้าเนื้อกวางปีละจำนวนกว่า 2,000 กก. เป็นเงินประมาณ 500,000 บาท รวมทั้งในปี 2542 มีการนำเข้าเขากวางอ่อน 1 ตัน เป็นเงินกว่า 440,000 บาท เนื่องจากธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกวางในประเทศยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายพันธุ์กวางระหว่างเกษตรกรด้วยกันเพื่อนำไปใช้ขยายพันธุ์ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด ผู้บริโภคมากขึ้น อาจทำให้ต้องหาตลาดต่างประเทศรองรับ
โอกาสการส่งออก
|
การเลี้ยงกวางรูซ่าในประเทศออสเตรเลียมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเนื้อเขากวางอ่อนเป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ได้จากการจำหน่ายเนื้อกวางสูงถึง 90% เขากวาง 6% และกวางมีชีวิต 4% ตลาดการส่งออกของเนื้อกวางส่วนใหญ่อยู่ในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาซึ่งนิยมบริโภคเนื้อกวางเพื่อสขภาพกันมาก เนื่องจากเนื้อกวางมีไขมันปริมาณค่อนข้างค่ำและมีไขมันประเภทอิ่มตัว (คลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือดน้อยมาก ขณะเดียวกันกรดไขมันในเนื้อกวางเป็น essential fatty acid ที่จำเป็นต่อร่างกายมีอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง)
กวางเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กีบคู่ เคี้ยวเอื้อง จัดอยู่ใน
ลำดับ Order : Artioduatgla | ||||
วงศ์ Family : Cervidae | ||||
วงศ์ย่อย sub-family : 4 วงศ์ย่อย | ||||
สกุล Genus : 16 สกุล | ||||
ชนิด Species : 37 ชนิด |
กวางสามารถอาศัยอยู่ในทุกสภาพภูมิอากาศ มีการกรจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกา เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา สำหรับกวางในสกุล Cervus ที่พบในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ สมัน (Schomburk's deer, Cervus schomburhki ) ละองละมั่ง (Brow-antlered deer, Cervus eldi ) เนื้อทรายและกวางป่า กวางป่าเป็นชนิดย่อย (sub-species) Cervus uniculor equinus (สวัสดิ์,2527)
ลักษณะทางกายภาพของกวาง
|
ฟัน
|
โตเต็มที่มีฟันแท้ 32-34 ซี่ - ฟันบนประกอบด้วย ฟันเขี้ยว 0-2 ซี่ ฟันเคี้ยว 6 ซี่ ฟันบด 6 ซี่ - ฟันล่างประกอบด้วย ฟันตัด 6 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ ฟันเคี้ยว 6 ซี่ ฟันบด 6 ซี่ |
ต่อมน้ำตา
(facial gland) |
อยู่ใต้หัวตาทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเป็นร่อง ทำหน้าที่คัดหลั่งสิ่งขับที่มีกลิ่นฉุน ไหลตามร่องน้ำตา เพื่อปล่อยกลิ่น โดยกวางจะเอาหน้าถูกตามต้นไม้เป็นการแสดงอาณาเขต |
เขา (antler)
|
กวางมีเขาเฉพาะตัวผู้ ยกเว้นกวางเรนเดียร์ ตัวเมียจะมีเขาด้วย และกวางมัสค์ จะไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย |
กระเพาะอาหาร
|
มี 4 กระเพาะ กวางไม่มีถุงน้ำดี ยกเว้นกวางมัสค์ที่มีถุงน้ำดี |
เต้านม
|
มี 4 เต้า |
พันธุ์กวางที่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
|
การทำฟาร์มกวางในประเทศไทย มีข้อจำกัดในการห้ามเลี้ยงกวางป่า เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าได้ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อป้องกันควบคุมการลักลอบจับสัตว์ป่าเพื่อการซื้อขาย พันธุ์กวางที่เลี้ยงทั่วไป ได้แก่
กวางป่า หรือกวางม้า
|
มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตรา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และไทย เป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม |
เนื้อทราย
|
มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ใน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย มีขนาดเล็ก-กลาง |
กลางดาว
|
เป็นกวางที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี อุปนิสัยค่อนข้างเชื่องกว่าพันธุ์อื่นๆ |
กวางรูซ่า
|
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ขนาดกลาง สีขนเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง |
กวางซีก้า
|
มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น จีน เวียดนาม เป็นกวางที่มีขนาดกลาง ขนสีเหลืองอมน้ำตาล นิยมเลี้ยงเพื่อตัดเขากวางอ่อน |
กวางฟอลโล
|
มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ลำตัวสีเทา-น้ำตาล มีจุดสีขาวหางยาว |
กวางแดง
|
มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ขนสีน้ำตาลแดง มีขนาดใหญ่ |
ตารางที่ 3 ชนิดพันธุ์กวางที่สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย
พันธุ์กวาง
|
ชื่อสามัญ
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
ประเภทสัตว์
|
กวางป่า, กวางม้า
|
Sambar deer
|
Cervus uniculor
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
เนื้อทราย
|
Hog deer
|
Cervus porcinus
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางดาว
|
Chital deer
|
Axis axis
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางรูซ่า
|
Rusa deer
|
Cervus timorensis
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางซีก้า
|
Sika deer
|
Cervus nippon
|
สัตว์เศรษฐกิจ
|
กวางแดง
|
Red deer
|
Cervus elaphus
|
บัญชีไซเตรส
|
กวางฟอลโล
|
Fallow deer
|
Dama dama
|
บัญชีไซเตรส
|
ที่มา : Grzimek (1984)
ตารางที่ 4 ข้อมูลจำเพาะของกวางพันธุ์ต่างๆ
พันธุ์กวาง
|
น้ำหนัก (กก.)
|
ส่วนสูง (ซ.ม.)
|
ความยาว (ซ.ม.)
|
ระยะอุ้มท้อง (วัน)
|
กวางป่า (อินเดีย)
|
150-315
|
120-150
|
170-270
|
240
|
เนื้อทราย
|
70-110
|
60-75
|
105-115
|
220-235
|
กวางดาว
|
75-100
|
75-97
|
110-140
|
210-225
|
กวางรูซ่า
|
102
|
110
|
-
|
252
|
กวางซีก้า
|
45-80
|
63-109
|
110-170
|
222-240
|
กวางแดง
|
75-340
|
75-150
|
165-265
|
225-262
|
กวางฟอลโล
|
35-200
|
80-105
|
130-235
|
232-237
|
ที่มา : Grzimek (1984)
กวางป่า หรือ กวางม้า "กวางไทย"
|
ลักษณะทั่วไป
- ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ภูฎาน ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางส่วนของจีน
- มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
- สีขาวแกมน้ำตาลเข้ม หางค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ หางยาวประมาณ 26-30 ซ.ม. ขนหางด้านล่างมีสีขาว เพศเมียมีสีอ่อนกว่า
- บริเวณหัวตาแต่ละข้างจะมีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ เรียกว่า ต่อมใต้กระบอกตา ใช้ในการผลิตสารที่มีกลิ่นฉุนสำหรับสื่อสารและบอกอาณาเขต จะขยายใหญ่ช่วงฤดูผสมพันธุ์
- เพศผู้อาจมีน้ำหนักถึง 320 กก. แต่ทั่วไปน้ำหนักเฉลี่ย 250 กก. วัดความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหาง 180-200 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงไหล่ 140-160 ซ.ม.
- เพศเมียอาจมีน้ำหนักถึง 250 กก. เฉลี่ย 155 กก. สูง 120 ซ.ม.
อุปนิสัย
ชอบอยู่สันโดษ โดยเฉพาะตัวผู้ ได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีการรวมฝูงน้อยที่สุด รวมฝูงประมาณ 2-4 ตัว และส่วนใหญ่จะไม่ต่อสู้เพื่อคุมฝูงตัวเมีย อาศัยในป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางคืนและช่วงเช้า เมื่ออากาศร้อนจะหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า และบางครั้งขอบนอนแช่ในปลักเช่นเดียวกับควาย สายพันธุ์ที่พบในไทยเป็นสายพันธุ์ย่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervus unicolor equinus (สวัสดิ์, 2527)
กินใบไม้ ประมาณ 66.6% กินหญ้าประมาณ 20.4% และเป็นพืชตามพื้นดินและลูกไม้ประมาณ 13% (Jac Saxton, 1983) และได้ชื่อว่า สามารถปรับพฤติกรรมการกินได้สูงสุด ทั้งนี้ ขึ้นกับแหล่งอาหารและอาหารที่มี
ขอบคุณที่มาโดยกองปศุสัตว์สัมพันธ์ :: รายละเอียดเพื่มเติมการเลี้ยงกวาง